บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เรื่อง เซต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เรื่อง เซต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในประเด็นคำถามย่อย ดังนี้ (2.1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบ
การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ (2.2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน
ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 (2.3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 (2.4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนท่าแร่ศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เรื่อง เซต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Sample)
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1) รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีองค์ประกอบ
6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) หลักการ 3) วัตถุประสงค์ 4) เนื้อหา
5) กิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นสังเกต รวบรวมข้อมูล (Gathering)
ขั้นคิดวิเคราะห์และสรุปความรู้ (Processing) ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ (Applying and Constructing the Knowledge) ขั้นสื่อสารและนำเสนอ (Applying the Communication Skill)
ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่าบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Self-Regulating) 6) การวัดและประเมินผล การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ผลปรากฎว่าการประเมินคุณภาพและความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด
2) ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS
5 Steps ร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เรื่อง เซต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏผลดังต่อไปนี้
2.1 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
2.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI
เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps
การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ทักษะการคิดวิเคราะห์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ควรมพึงพอใจ