ชื่อผู้วิจัย นางสาวพัชร์ธีรัตน์ กันธิวงศ์
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ การแก้โจทย์ปัญหา เรื่องการแทรกสอดและการเลี้ยวเบนของคลื่นแสงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน ที่เรียนโดยการลงมือปฏิบัติจรงควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม จำนวน 30 คน
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 หลังเรียน เรื่องการแทรกสอดและการเลี้ยวเบนของคลื่นแสงของนักเรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations สูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบหลังเรียน (x ̅=7.68) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบก่อนเรียน (x ̅=4.07) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการเรียนหลังเรียน เรื่องการแทรกสอดและการเลี้ยวเบนของคลื่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 โดยอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ การแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอดและการเลี้ยวเบนของคลื่นแสงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง
สมมติฐานของการวิจัย
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม หลังเรียนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอดและการเลี้ยวเบนของแสง สูงกว่าก่อนการเรียนด้วย PHET Interactive Simulations
2. ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การแทรกสอดและการเลี้ยวเบนของแสง อยู่ในระดับมาก
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ใช้ประชากรทั้งหมด ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้อง นักเรียน 30 คน
2. ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง
ตัวแปรตาม ได้แก่
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม
2. . ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนการสอนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง
2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ และ แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนหลังเรียนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง จำนวน 6 ข้อ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นกการจัดการเรียนการสอนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulationsเกี่ยวกับการคิด วิเคราะห์ โดยใช้กิจกรรมการทดลอง,การเขียน,การฟัง,การคิด เพื่อพัฒนาทักษะ การะบวนการคิด วิเคราะห์ การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลได้อย่างถูกต้องในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบ 5E ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งประกอบด้วยคะแนนสอบย่อยระหว่างเรียนคะแนนสอบหลังเรียนกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม จำนวน 30 คน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลมีขั้นตอนดังนี้
1. ใช้แบบทดสอบก่อนเรียน แล้วบันทึกคะแนน
2. จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5E เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง
3. จากนั้นให้นักเรียนเริ่มทำการทดลองจากการลงมือปฏิบัติจริง ร่วมกับทำการทดลองควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เพื่อเปรียบเทียบผลการทดลอง
4. ใช้แบบทดสอบหลังเรียน แล้วบันทึกผล
5. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เมื่อเรียนผ่านการจัดการเรียนการสอนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคมจำนวน 30 คน
6. ให้นักเรียนทำแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยเรียรควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอดและการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน ที่เรียนโดยควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคมโดยใช้สถิติแบบ test แบบ Dependent
2. ตรวจแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง ว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับใด
สรุปผลการวิจัย
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 หลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนนของคลื่นแสง สูงกว่าก่อนเรียน จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนนของคลื่นแสง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบหลังเรียน (x ̅=7.68) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบก่อนเรียน (x ̅=4.07) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
2. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการเรียนหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนนของคลื่นแสง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 โดยอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
อภิปรายผลการวิจัย
ผลจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นการจัดการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนนของคลื่นแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
1. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนนของคลื่นแสง พบว่าหลังการใช้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนนของคลื่นแสง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องการแทรกสอด และกาเลี้ยวเบนของคลื่นที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนั้น ได้รับการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนอย่างมีระบบ มีการทดลองหาข้อบกพร่องและได้ปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และจากการสังเกตพบว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนนของคลื่นแสง มีความตั้งใจในการเรียนและให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี นอกจากนี้ข้อดีที่พบอีกประการหนึ่งคือผู้เรียนสามารถที่จะกลับมาทบทวนซ้ำในกรณีพบข้อผิดพลาดได้อีกจนเกิดความเข้าใจ ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนนของคลื่นแสง จึงเป็นวิธีที่ช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาการเรียนได้ดียิ่งขึ้นและส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนนของคลื่นแสง
2. ความพึ่งพอใจพึงพอใจต่อการเรียนหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนนของคลื่นแสง ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการเรียนหลังเรียน อยู่ในระดับความพึงพอใจมากเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุ ดังนี้ การจัดการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควบคู่กับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้แบบ simulation ด้วย PHET Interactive Simulations เรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนนของคลื่นแสง มีการทำการทดลองที่แม่นยำ เชื่อถือได้ ผ่านการวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่ชัดเจน เข้าใจง่าย มีความเป็นระบบ ตามลำดับเรียงลำดับ เนื้อหาจากง่ายไปหายากและต่อเนื่องกันตามลำดับ ให้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะ มีสีสัน และภาพประกอบ ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจและเข้าใจมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง เป็นขั้นตอนทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ หลังการเรียนรู้นักเรียนสามารถตรวจผลการเรียนรู้ของตนเองได้ทำให้เกิดแรงจูงใจ สนใจ และเกิดความพึงพอใจในการเรียนรู้และสอดคล้องกับ กุนต์ลาซ และรีด (Gundlach& Reid. 1992 : 37 - 38) ได้ให้ความหมายความพึงพอใจ หมายถึง ความพึงพอใจของบุคคลจากได้พบปะกับพฤติกรรมการให้มีสิ่งต่างๆ เป็นระดับความพึงพอใจของบุคคลที่เกิดจากการได้รับสิ่งต่างๆ ว่าหลังจากได้รับสิ่งนั้นแล้วสามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหารวมทั้งลดปัญหาและทำให้บุคคลเกิดความภูมิใจมากน้อยเพียงใดและสอดคล้องกับงานวิจัยของ พิชยา แทนพลกรัง (2557 : 115 - 116 ) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสารในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดกิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ผลการวิจัยพบว่า มีระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมของนักเรียนในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะในการทาวิจัย
1. ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้
1.1 ก่อนทำแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง ไปใช้ควรมีการแนะนำ ใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง เพื่อให้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายและวิธีการใช้ให้ถูกต้องชัดเจนจนเกิดความเข้าใจ ความชำนาญของครูหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียน
1.2 ครูผู้สอนควรพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ และการทดลอง เรื่องการแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง โดยเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทดลองและแบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง ซึ่งมีเนื้อหาค่อนข้างยาก ซับซ้อน ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฝนในเนื้อหานี้ให้มากยิ่งขึ้น
2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
1. ควรมีการพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ผลการทดลอง และการทำแบบฝึกเสริมทักษะในรายวิชาฟิสิกส์ ในเนื้อหาอื่นๆ
2. ควรมีการทดลองเปรียบเทียบวิธีการเรียนรู้ วิชาฟิสิกส์ เรื่องการแทรกสอด และการเลี้ยวเบนของคลื่นแสง แบบฝึกเสริมทักษะกับวิธีการเรียนรู้ในรูปแบบอื่นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ เลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและความพร้อมของนักเรียน