การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครั้งนี้ มีความมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของครูผู้สอน และสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้ โดยออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาผลการใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3.1) ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้นตามการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3.2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภายหลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการ สุ่มแบบกลุ่ม (cluster Random Sampling ) ในภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2567 ที่กำลังเรียนวิชาเพิ่มเติม รายวิชาภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบวัดความพึงพอใจสำหรับนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ฯ 5) แบบประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาตามขั้นตอน 6) แบบรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ฯ ของผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือ โดยหาการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Needs Assessment) โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้ มาหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index) เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็นค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยใช้วิธีของโรวิเนลลี (Rovinelli) และแฮมเบิลตัน (R.H.Hambleton) หาค่าความยาก (P) และค่าอำนาจจำแนก (B) โดยหาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของโลเวทท์ (Lovett) หาคุณภาพของแบบสอบถาม หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (-Coefficient) โดยหาค่าความเชื่อมั่นตามวิธีของครอนบาค Cronbach) วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80 สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้บนเว็บ โดยใช้วิธีของกูดแมน,เพลคเทอร์ และ ชไนเดอร์
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของครูผู้สอน และสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของครูผู้สอน โดยทำการสอบถามจากครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ที่จัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 5 คน พบว่า
ผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 2.53 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.22
ผู้สอนมีความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.63 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.31
มีค่า PNI modified อยู่ระหว่าง 0.333-0.542 ซึ่งครูมีความต้องการจำเป็น ในเรื่อง มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดในข้อ 17 คือ มีการวัดและการประเมินผลที่ดี (PNI modified = 0.542) รองลงมา อันดับที่ 2 คือ ข้อ 6. เนื้อหามีความทันสมัยเหมาะกับการนำไปใช้ และ ข้อ 27 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลมีความเหมาะสม (PNI modified= 0.522) และ รองลงมา อันดับที่ 3 คือ ข้อ 11.มีกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ครบถ้วน ในรายวิชาภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ข้อ 18 ผู้สอนมีการสร้างแรงจูงใจต่อผู้เรียนในการเรียน รายวิชาภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ข้อ 20. ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ข้อ 21. กิจกรรมการเรียนการสอนจัดให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และข้อ 23. บทบาทของผู้สอนในการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ (PNI modified= 0.500)
1.2 ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีดังนี้
1.2.1 องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดจาก หน่วยงาน องค์การ นักวิชาการ ดังนี้ ทิศนา แขมมณี (2560 : 222), Vishwanath (2006 : 115 - 116), Joyce, B. and M. Weil (2011 : 159-388), Kemp (1985 : 18), June (1982 : 1-2), Arends 1(997 : 213), Anderson (1997 : 18), Joyce and Calhoun (2004 : 42) ซึ่งสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 5 องค์ประกอบ ซึ่งประกอบด้วย 1) หลักการแนวคิด ทฤษฎี 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) หลักการตอบสนอง และ 5) ระบบสนับสนุน
1.2.2 องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ฯ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นเตรียมการ ครูชี้แจงกระบวนการเรียนรู้และแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มละ 4 คน โดยคละความสามารถและเพศ
2. ขั้นเสนอบทเรียน ครูสอนความรู้ใหม่ด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย พร้อมทั้ง แนะนำแหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษาค้นคว้า และมอบหมายงานให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม
3. ขั้นศึกษากลุ่มย่อย นักเรียนแต่ละกลุ่มเรียนรู้ร่วมกันตามบทบาทและหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมาย มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเสริมแรงและสนับสุนนกันในการเรียนรู้
4. ขั้นพัฒนาทักษะ เป็นการตรวจสอบนักเรียนว่าในการทำกิจกรรมกลุ่มนั้น มีผลการปฏิบัติเป็นอย่างไร อาจตรวจสอบในลักษณะการทดสอบ การแข่งขันทางวิชาการ การนำเสนอผลงานของกลุ่ม เป็นต้น
5. ขั้นสรุปบทเรียนและตัดสินผลงานกลุ่ม ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน และอภิปรายในประเด็นที่เป็นปัญหา และแจ้งผลการทำงานของกลุ่ม
1.2.3 องค์ประกอบของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดจาก หน่วยงาน องค์การ นักวิชาการ ดังนี้ เพรสคอตต์ (Prescott. 1961 : 14-16), แครอล (Carroll. 1963 : 723-733), แมดดอกซ์(Maddox. 1963 : 9), ณัฎฐาภรณ์ ศรีชนะ (2566 : 15) ซึ่งสังเคราะห์องค์ประกอบของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย ได้แก่ 1) ความรู้ ความสามารถ ทักษะ 2) ความสนใจ และ 3) พื้นฐานของผู้เรียนที่มีมาก่อนการเรียนการสอน 4) ประสิทธิผลที่ผู้เรียนจะได้รับ 5) ผลสำเร็จในการเรียน ในการจัดการเรียนรู้จึงควรคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ด้วยเพื่อให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงสุด
2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3.1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 81.80/81.67 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3.2 ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6950 ซึ่งแสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.50
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภายหลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.17 อยู่ในระดับมากที่สุด