ชื่อผลงาน : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้
ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน
จับใจความสำคัญและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย : นายนิกรณ์ กองทุ่งมน ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนประทาย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา : 2566
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการแก้ปัญหาและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนประทาย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test) (Dependent sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนขาดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญจากการอ่านและการแก้ปัญหา ไม่มีความมุ่งมั่นในการเรียน ขาดความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนรู้ ขาดการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในชั้นเรียน ความต้องการในการจัดการเรียนรู้ มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการอ่านจับใจความสำคัญและการแก้ปัญหา เน้นอ่าน คิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหาของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ สามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญจากการเรียนรู้ร่วมกัน เพิ่มมากขึ้น
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สาระหลัก สิ่งสนับสนุน และการนำไปใช้ โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1. เตรียมเรื่องเตรียมอ่าน (Prepare a story to read) 2. ทบทวนความรู้เดิมเพิ่มเติมความรู้ใหม่ (Activate Prior Knowledge) 3. เชื่อมโยงความรู้ (connect knowledge) 4. สร้างชิ้นงานแผนภาพความคิด (Create a mind map) 5. สรุปความคิดพิชิตปัญหา (Summarizes the idea of conquering the problem) 6. นำเสนอและประเมินผล (Evaluate) ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.62/84.75
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด