เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ SEE-SA Model เพื่อเพิ่ม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุด ความมหัศจรรย์แห่งสสาร โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลมะนัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ผู้วิจัย นางศิริรัตน์ เสกสรรค์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนอนุบาลมะนัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ปีที่ทำการวิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัด
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุด ความมหัศจรรย์แห่งสสาร โดยใช้การจัด
การเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุด ความมหัศจรรย์แห่งสสาร
ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้ชุด กิจกรรมการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุด ความมหัศจรรย์แห่งสสาร ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบกระบวน
การสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนอนุบาลมะนัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2565 จำนวน 21 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชุด ความมหัศจรรย์แห่งสสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 2) นวัตกรรมที่เลือกใช้ จำนวน 1 ชุด ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
3) แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชุด ความมหัศจรรย์แห่งสสาร การวิเคราะห์ข้อมูลทำได้โดยการวิเคราะห์หาค่าโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) หรืออาจจะเลือกใช้ค่า t-test แบบ Dependent Sample Test
ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ SEE-SA Model เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน ชุด ความมหัศจรรย์แห่งสสาร โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีชื่อเรียกว่า SEE-SA Model (S = Stimulate Interest; E = Exploration ; E = Expand search results; Summary of expanding knowledge; A = Apply knowledge)
1. ขั้นกระตุ้นความสนใจ (S: Stimulate Interest) ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจค้นหา (E = Exploration) ขั้นที่ 3 ขั้นขยายผลการค้นหา (E: Expand search results) ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปขยายความรู้ (S = Summary of expanding knowledge) ขั้นที่ 5 ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ (A = Apply knowledge) และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ SEE-SA Model เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุด ความมหัศจรรย์แห่งสสาร โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 มีค่าเท่ากับ 86.29/88.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ
การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าร้อยละ 78.95 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 2.88 เมื่อพิจารณาคะแนนเป็นรายบุคคล พบว่า นักเรียนมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 16 คน และนักเรียนมีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 5 คน
3. ก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนทำคะแนนสูงสุดได้ 19 คะแนน คะแนนต่ำสุด 4 คะแนนคะแนนเฉลี่ย 11.33 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 3.45 และหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนทำคะแนนสูงสุด ได้ 20 คะแนน คะแนนต่ำสุด 10 คะแนน คะแนน (¯x = 15.79 คะแนน และส่วนเบนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D) 2.88 พบว่าผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเท่ากับ 20.87 นำไปเปรียบเทียบกับค่า t ที่ df (42-1) = 41 มีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 หลังจากที่ได้เรียนจากรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ SEE-SA Model เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุด ความมหัศจรรย์แห่งสสาร โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ( =4.78, S.D. = 0.75)