ผลงานทางวิชาการ : รายงานผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ
โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม
ผู้รายงาน : นายณัฏฐยศ ป่าหลวง
ตาแหน่ง : ผู้อานวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อานวยการชานาญการพิเศษ
โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม อาเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
สังกัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่
ปีการศึกษา : 2566
บทคัดย่อ
การรายงานผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลังการใช้การบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จานวน 3 คน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 56 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จานวน 13 คน รวมทั้งสิ้นจานวน 72 คน และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจานวน 285 คน เครื่องมือใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามเกี่ยวกับผลการดาเนินงานโครงการและแบบประเมินความพึงพอใจ ดาเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนาเสนอในรูปตารางประกอบคาบรรยาย วิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปโดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณาแปลความหมายของค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษา พบว่า
1. การสภาพปัจจุบันในการบริหารโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ พบว่า โรงเรียนเชียงดาววิทยาคมยังมีปัญหา อุปสรรคในการดาเนินการงานสภาพแวดล้อมของโรงเรียนยังไม่เอื้ออานวย จึงส่งผลให้คุณภาพผู้เรียนและสภาพแวดล้อมโดยรวมของโรงเรียนยังไม่เป็นที่น่าพอใจการดาเนินงานบริหารบางประการยังไม่มีความชัดเจน อาจทาให้เกิดความสับสนแก่ผู้ปฏิบัติ และในขณะเดียวกันหน่วยงานต้นสังกัด ยังมีการกาหนดแนวทางปฏิบัติให้แก่โรงเรียนอยู่หลายประการที่โรงเรียนต้องหาแนวทางปฏิบัติให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน กล่าวโดยภาพรวมปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาไทยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โรงเรียนต้องปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนานักเรียนให้เกิดทักษะในการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถนาองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับในเชิงวิชาการและในการดาเนินชีวิตประจาวัน ครูต้องออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นแบบ Active Learning มากขึ้น ต้องพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน พัฒนาครูส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูให้เป็นครูมืออาชีพ พัฒนาตนเอง พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตลอดจนพัฒนาสื่อต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับผู้เรียน และจากการ
ระดมความคิดร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงงาน ตามการบริหารโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2565และ2566 ต่อไป
2. การศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ โดยการดาเนินการเป็น 4 ระยะประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม ระยะที่ 2 การนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม ไปใช้ตามวงจรปฏิบัติการ ระยะที่ 3 การประเมินผลการดาเนินการตามรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม และระยะที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลังการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม โดยการบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะและการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดเป็นโรงเรียนสุขภาวะที่สมบูรณ์ โดยผลการการประเมินตามกลยุทธ์ พบว่า ทุกข้อมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ กลยุทธ์ข้อที่ 2 โรงเรียนสะอาดสวยงาม รองลงมาได้แก่ กลยุทธ์ข้อที่ 3 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ กลยุทธ์ข้อที่ 4 กลยุทธ์เครือข่ายพัฒนาการศึกษา ตามลาดับ และผลการประเมินสุขภาวะตามเกณฑ์ โรงเรียนสุขภาวะรวมเฉลี่ยพบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี สูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนดคือระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า หลังใช้นวัตกรรมผู้เรียนมีสุขภาวะจากระดับมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ คือ ด้านที่ 3 สภาพแวดล้อมเป็นสุข ด้านที่ 2 โรงเรียนเป็นสุข ด้านที่ 1 ผู้เรียนเป็น ด้านที่ 4 ครอบครัวเป็นสุข และ ด้านที่ 5 ชุมชนเป็นสุข ตามลาดับ
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลังการใช้การบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ อยู่ในระดับมากที่สุด