ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพ ABEASS Model
เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ โดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา
ในหลวงรัชกาลที่ 10 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางนวลจิตร หนูไชยา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านดวด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ โดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์โดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิชาการงานอาชีพ 4) พัฒนาทักษะการทำงานประดิษฐ์ วิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 5) ประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพ ABEASS Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ โดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดวด ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดย
การเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) และครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพระดับประถมศึกษาในตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ครูและนักเรียน 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดทักษะการทำงานประดิษฐ์ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t test) และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพ ABEASS Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ โดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (A: Arouse Interest) ขั้นที่ 2 พากเพียรจัดกลุ่มเรียนรู้ (B: Be diligent in organizing learning groups) ขั้นที่ 3 เบิกบานสร้างสรรค์งาน (E: Excited to create work) ขั้นที่ 4 มุ่งสู่การนำเสนอผลงาน (Aiming at presenting work) ขั้นที่ 5 สรุปองค์ความรู้ (Summary of knowledge) ขั้นที่ 6 มุ่งสู่
การนำไปใช้และเผยแพร่สู่ชุมชน (Steps towards use and dissemination to the Community)
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 86.94/85.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพหลังเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอน ABEASS Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ทักษะการทำงานประดิษฐ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 88.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
5. ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพ ABEASS Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์อยู่ในระดับมาก
นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงานโดยใช้ทักษะการทำงานประดิษฐ์บนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจด้วยตนเอง ส่งผลให้ชิ้นงานมีคุณภาพ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและร่วมสร้างสรรค์สังคมได้