ชื่อผู้นำเสนอผลงาน : นางสาวกัญญาภรณ์ จิตรอักษร ตำแหน่ง : ครู โรงเรียนบ้านลำช้าง สพป.ตรัง เขต 2
๑. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม
๑.๑ เหตุผลแรงบันดาลใจและปัญหาหรือความต้องการที่จัดทำผลงาน/นวัตกรรม
การศึกษาปฐมวัย เป็นการจัดการศึกษาเพื่อวางรากฐานชีวิตของเด็กไทย ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ สำคัญที่สุดในชีวิตของเด็ก เริ่มต้นตั้งแต่แรกเกิด ถึง 5 ปีบริบูรณ์ซึ่งเป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการ พัฒนามากที่สุด การให้การศึกษาที่เหมาะสมในช่วงนี้จะช่วยเสริมสร้างทักษะพื้นฐานต่าง ๆ เช่น การ เรียนรู้ภาษาพื้นฐาน การคิดวิเคราะห์ และการพัฒนาทักษะทางสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการ เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น เพราะเป็นช่วงที่เด็กมีการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่รวดเร็วที่สุด การให้ความสำคัญกับการศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการ ลงทุนที่คุ้มค่าในการสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงสำหรับอนาคตของเด็ก ๆ และมีผลกระทบที่ยั่งยืนต่อการ เติบโตและพัฒนาการของเด็กไทย โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เป็นกรอบ และแนวทางในการศึกษาปฐมวัย ตามปรัชญาการศึกษาปฐมวัยที่กล่าว ว่า “การศึกษาปฐมวัย เป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิด ถึง 5 ปีบริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวม บน พื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการตามวัย ของเด็กแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพภายใต้บริบทสังคม และวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ”
๒.วัตถุประสงค์และเป้าหมายของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practive)
๒.๑ วัตถุประสงค์ของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practive)
๑.เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทางสมอง EF ผ่านการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาชุด ลูกเต๋าอาชีพหรรษา (K) (P)
๒.เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะทางสมอง EF ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาชุด ลูกเต๋าอาชีพหรรษา (K) (P)
๓.เพื่อให้เด็กปฐมวัยใช้เวลาว่างทำกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติด (A)
๒.๒ เป้าหมายของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practive)
เป้าหมายเชิงปริมาณ
๑.เด็กปฐมวัย ร้อยละ ๘๐ ได้รับการพัฒนาทักษะทางสมอง EF ผ่านการกิจกรรมเกมการศึกษาชุด ลูกเต๋าอาชีพหรรษา
๒.เด็กปฐมวัย ร้อยละ ๘๐ มีพัฒนาการทักษะทางสมอง EF ของเด็กปฐมวัย สูงขึ้นหลังได้รับการกิจกรรมเกมการศึกษาชุด ลูกเต๋าอาชีพหรรษา
๓.เด็กปฐมวัย ร้อยละ ๑๐๐ ใช้เวลาว่างทำกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติด
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
๑.เด็กปฐมวัยมีผลการประเมินแบบสังเกตพฤติกรรมพัฒนาทักษะทางสมอง EF ของเด็กปฐมวัย สูงขึ้นหลังได้รับการกิจกรรมเกมการศึกษาชุด ลูกเต๋าอาชีพหรรษา
๒.เด็กปฐมวัยใช้เวลาว่างทำกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติด
๓.กระบวนการผลิตนวัตกรรม หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
๓.๑ การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม
๓.๑.๑ ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ฉบับพุทธศักราช ๒๕๖๐
๓.๑.๒ ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการ แนวคิด และความสำคัญการพัฒนาทักษะ EF มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ และอบรมเพิ่มศักยภาพตนเอง
๓.๑.๓ ศึกษาสภาพปัญหาและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของ EF (Executive Functions) โดยทักษะ EF ได้แบ่งออกเป็น ๙ ด้าน และสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๓ ทักษะ
๓.๒ การดำเนินงานตามกิจกรรม
๓.๒.๑ ศึกษาแนวทางการจัดทำสื่อเกมการศึกษา ยึดความเหมาะสมตามวัย สอดคล้องกับพัฒนาการ และความสนใจของเด็กเป็นหลัก ซึ่งเกมการศึกษาเป็นเกมที่มีกฎกติกาและวิธีการเล่นที่เด็กสามารถเล่นคน เดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้ สำหรับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาครั้งนี้ เน้นการเล่นร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อให้เด็กได้ พัฒนาทักษะ EF
ทั้ง ๙ ด้าน ให้ผู้เล่นได้คิด สังเกต ตอบคำถาม กล้าแสดงออก และมีความสุข สนุกสนาน กับการทำกิจกรรม และนำไปสู่การพัฒนาทักษะทางสมอง EF ให้มีความสามารถในการคิดเพื่อให้ชีวิตสำเร็จ ของเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ห่างไกลจากยาเสพติด
๓.๒.๒ สร้าง ออกแบบเกมการศึกษาชุด ลูกเต๋าอาชีพหรรษา เกมการศึกษาชุดนี้จะประกอบด้วยลูกเต๋าจำนวน ๖ ลูก ซึ่งแต่ละลูกจะมีหน้าทั้งหมด ๖ หน้า ในแต่ละหน้ามีรูปภาพตัดต่อเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ได้แก่ ชาวนา คุณครู นักดับเพลิง หมอ ตำรวจ พระ เกมการศึกษาชุดนี้เน้นการเล่นเป็นกระบวนการกลุ่ม ให้สมาชิกแต่ละคนสลับหมุนเวียนเล่นเกมตามลำดับ เมื่อหมดเวลา ให้เด็กๆ ช่วยกันเช็คความถูกต้องของการวางลูกเต๋า โดยเกมการศึกษาที่ผลิตนั้นทำจากวัสดุที่หาได้ง่ายจากห้องเรียน
๔.๑ ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์
ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาชุด ลูกเต๋าอาชีพหรรษา เพื่อพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ของเด็กปฐมวัย ส่งผลให้เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านลำช้าง มีคะแนนเฉลี่ยการใช้ทักษะทางสมอง EF ด้านต่าง ๆ ทั้ง ๙ ด้าน ก่อนใช้กิจกรรมเกมการศึกษาชุด ลูกเต๋าอาชีพหรรษา ร้อยละ ๕๘ และคะแนนเฉลี่ยหลังการได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาชุด ลูกเต๋าอาชีพหรรษา ร้อยละ ๙๒ ซึ่งหลังใช้กิจกรรมเกมการศึกษาชุด ลูกเต๋าอาชีพหรรษา มีคะแนนร้อยละสูงกว่าก่อนการใช้เกมการศึกษา บรรลุตามจุดประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจาก กิจกรรมเกมการศึกษาชุด ลูกเต๋าอาชีพหรรษา เป็นเกมที่มีกฎกติกา และวิธีการเล่นให้ผู้เล่นได้ปฏิบัติเล่นเน้นการเล่นร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อให้เด็กได้พัฒนาทักษะ EF ทั้ง ๙ ด้าน ให้ผู้เล่นได้คิด สังเกต ตอบคำถาม กล้าแสดงออก และมีความสุข สนุกสนาน กับการทำกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ห่างไกลยาเสพติด และนำไปสู่การพัฒนาทักษะทางสมอง EF ทั้ง ๓ ทักษะ
๔.๒ ผลสัมฤทธิ์ของงาน
ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาชุด ลูกเต๋าอาชีพหรรษา เพื่อพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ส่งผลให้เด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านลำช้าง มีทักษะทางสมอง EF สูงขึ้น หลังได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาชุด ลูกเต๋าอาชีพหรรษา
๔.๓ ประโยชน์ที่ได้รับ
ผลงานส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน ดังนี้
๔.๓.๑ เด็กได้รับการพัฒนาทักษะทางสมอง EF ทั้ง ๓ ทักษะ ๔ ด้าน อย่างครบถ้วน และมีการ พัฒนาทักษะ EF ที่สูงขึ้น