เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย โสรยา ชุมประเวศ
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีวัตุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน ระหว่างและหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาผลการนํารูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาล ปีที่ 3 ที่ได้ผ่านการหาประสิทธิภาพแล้วไปใช้ในสภาพจริง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในระยะการสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประกอบด้วย 1) นักวิชาการด้านการศึกษาปฐมวัยซึ่งมีประสบการณ์ในการสอนระดับการศึกษาปฐมวัยหรือสาขาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 10 ปี และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป ในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน 2) นักเรียนชาย-หญิงอายุ 5-6 ปี ที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 23 คน โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 3) นักเรียนชาย-หญิงอายุ 5-6 ปี ที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 23 คน โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 4) ชาย-หญิงอายุ 5-6 ปี ที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 23 คน โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในระยะการศึกษาประสิทธิภาพและปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประกอบด้วย 1) นักเรียนชาย-หญิงอายุ 5-6 ปี ที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 23 คน โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) 2) ครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนประจำชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา2566 จำนวน 1 คน โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในระยะการศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 คือ ครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 4 คน และโรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้ 8 หน่วย ๆ ละ 3 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 24 กิจกรรมๆ ละ 45 นาที ดังนี้ หน่วยที่ 1 หนูทำได้ หน่วยที่ 2 กินดีอยู่ดีมีสุข หน่วยที่ 3 ของเล่นของใช้ หน่วยที่ 4 บ้านแสนสุข หน่วยที่ 5 สัตว์โลกน่ารัก หน่วยที่ 6 ต้นไม้ที่รัก หน่วยที่ 7 ปลอดภัยในยานพาหนะ หน่วยที่ 8 ดอกไม้แสนสวย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) รูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยผู้เชี่ยวชาญ 3) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 4) แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 5) แบบประเมินรูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยครูชั้นอนุบาลปีที่ 3 6) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 สำหรับครูชั้นอนุบาลปีที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test (Dependent Samples)
สรุปผลการวิจัย
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนดำเนินตามลำดับขั้นตอน 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Motivation : M) ขั้นที่ 2 ขั้นตัดสินใจ (Decide : D) ขั้นที่ 3 ขั้นเล่นและเรียนรู้ (Play and Learn : P) ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอผลงาน (Presentation : P) และรูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.80,S.D.=0.38)
2. เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์หลังการจัดประสบการณ์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. รูปแบบการจัดประสบการณ์ MD2P Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามความคิดเห็นของครูชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.43)