วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เรื่อง การพัฒนาแนวทางการวัดและประเมินผลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (RT, NT, O-NET) ปีการศึกษา 2566 โดยใช้รูปแบบ B-SUK-D Model โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาแนวทางการวัดและประเมินผล เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (RT, NT, O-NET) ปีการศึกษา 2566 โดยใช้รูปแบบ B-SUK-D Model 2. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (RT, NT, O-NET) ปีการศึกษา 2566 ให้มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติ โดยใช้รูปแบบ B-SUK-D Model
B = Brainstorm การระดมความคิด ประชุมเพื่อวางแผน วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (RT, NT, O-NET) ในปีการศึกษาที่ผ่านมา สภาพปัจจุบัน ปัญหา เพื่อหาแนวทางการพัฒนาร่วมกัน
S = Study กิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Learning) และกิจกรรม Active Learning เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ
U = Understanding การประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้ การวัดและประเมินความรู้เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนประเมินความรู้และความสามารถของตนเอง ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนและประเมินการบรรลุจุดหมายการศึกษา
K = Knowledge ความรู้ที่ยั่งยืน นักเรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดของสาระการเรียนรู้ มีสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
D = Development พัฒนาที่ยั่งยืน วิเคราะห์ความสำเร็จของการดำเนินงาน และพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ผลจากการดำเนินการวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศส่งผล ดังนี้
1. นักเรียนมีคุณภาพตามศักยภาพ ทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ,ผลการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) และผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (RT) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ
1.1 ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ในภาพรวมทั้ง 2 ด้าน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 83.36 ซึ่งสูงกว่าระดับประเทศ 79.00
1.2 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (NT) ปีการศึกษา 2566 ในภาพรวมทั้ง 2 ด้าน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 77.65 ซึ่งสูงกว่าระดับประเทศ 57.78
1.3 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 ในภาพรวมทั้ง 4 วิชา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 41.91 ซึ่งสูงกว่าระดับประเทศ 41.33
2. ครูได้พัฒนาศักยภาพด้านทักษะและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างดีเยี่ยม
3. ผู้บริหารโรงเรียนได้รับคำยกย่องชมเชยเป็นแบบอย่างที่ดีต่อครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหาร หรือหน่วยงานอื่นๆ
4. สถานศึกษาเป็นสถานศึกษาต้นแบบต่อสถานศึกษาอื่นๆ และหน่วยงานต้นสังกัด
ปัจจัยความสำเร็จ
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมได้ถูกออกแบบให้ขับเคลื่อน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนภายใต้วงจรการบริหารคุณภาพ PDCA จนประสพผลสำเร็จได้ ดังนี้
1. หน่วยงานต้นสังกัด
เป็นหน่วยงานหลักที่อำนวยความสะดวกด้านการจัดสรรงบประมาณในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ตามโครงการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านบรมสุข
2. ผู้บริหารและคณะครู
เป็นทีมขับเคลื่อนที่เป็นกลไกสำคัญในทุกๆกระบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างทีมงานที่เข้มแข็งเพื่อดำเนินการตามภาระหน้าที่ ตามที่ออกแบบไว้ให้บรรลุวัตถุประสงค์สำคัญ อาจกล่าวได้ว่าทีมนี้เป็นทีมนำ และทีมทำที่ต้องมีทักษะในการปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบที่สูงยิ่งขึ้น
3. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป็นตัวแทนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ที่ได้รับการขอความร่วมมือ ให้ร่วมปฏิบัติภาระหน้าที่ในทีมดำเนินงานด้านสร้างสรรค์/ภาคปฏิบัติเพื่อเสนอแนะความคิดเห็นในการพัฒนาการจัดการศึกษานวัตกรรมตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการนิเทศ กำกับ ติดตาม กระบวนการขับเคลื่อนนวัตกรรมดังกล่าว
4. ผู้ปกครองนักเรียน
เป็นผู้ที่ต้องทราบรายงานผลพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในปกครอง และสามารถสะท้อนความพึงพอใจในกระบวนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนได้
5. นักเรียน
เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินการพัฒนาแนวทางการวัดและประเมินผลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (RT, NT, O-NET) ปีการศึกษา 2566 โดยใช้รูปแบบ B-SUK-D Model ดังนั้นจึงต้องดำเนินการด้วยความยืดหยุ่นคำนึงถึงความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานแนวคิดการจัดการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
6. ชุมชนและท้องถิ่น
เป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าที่สำคัญยิ่งในแง่มุมของการเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่มาของภูมิปัญญาชาวบ้าน วิทยากรท้องถิ่น ที่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อประสบการณ์ตรง และองค์ความรู้ที่ยั่งยืนได้เป็นอย่างดี
7. บุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
เป็นผู้ซึ่งมีความสามารถ และประสบการณ์ในการเป็นผู้ร่วมออกแบบเครื่องมือนวัตกรรมรวมถึงการตรวจสอบ ประเมินนวัตกรรม เพื่อสามารถนำไปใช้ในการขับเคลื่อน ให้เหมาะสมกับบริบทที่สามารถใช้ได้จริง เกิดเป็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม