เนื่องจาก ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนนักเรียนในระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของทักษะการทำงานทางสมองด้านความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 จากการจัดประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้ การฉีก ตัด ปะ ด้วยวัสดุที่หลากหลาย ในรูปแบบ Active Learning เน้นให้นักเรียนเรียนรู้โดยการปฏิบัติ กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กเพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้ความงาม ให้เด็กแสดงออกทางอารมณ์หรือความรู้สึก ความคิด ริ่เริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็ก โดยใช้ การฉีก ตัด ปะ ด้วยกระดาษ วัสดุเศษสิ่งเหลือใช้และวัสดุจากธรรมชาติ ที่เด็กจะสามารถคิดสร้างสรรค์ได้ และมีความเหมาะสมตามวัยของเด็กส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน 4 ด้านของเด็กปฐมวัย คือ ด้านการเรียนรู้ ภาษา สังคม และการเคลื่อนไหว และพัฒนาการเด็กปฐมวัย 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญาได้มากยิ่งขึ้น
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนนักเรียนในระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 มีความต้องการพัฒนาและส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็ก ด้วยการฉีก ตัด ปะ ด้วยวัสดุ ที่หลากหลาย ส่งผลต่อการพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญาด้วย
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 เพื่อออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ตามมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
3. ใช้กระบวนการ PLC เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา พัฒนาสื่อและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ
4. ออกแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน
ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3
5. จัดหา เตรียม สื่อ อุปกรณ์ ที่หลากหลายและเพียงพอ
6. นำสื่อ อุปกรณ์ที่เตรียมไว้ให้นักเรียนได้ลงมือสร้างผลงานตามควารคิดสร้างสรรค์ของตนเองตามจินตนาการ
7. นักเรียนบอกชื่อผลงานพร้อมอธิบายผลงานของตนเอง
8. นำข้อมูลที่ได้พัฒนาการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
นักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลำช้าง ปีการศึกษา 2566 จำนวน 21 คน ร้อยละ 80 ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้ การฉีก ตัด ปะ ด้วยวัสดุที่หลากหลาย
3.2 เชิงคุณภาพ
นักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลำช้าง ปีการศึกษา 2566 มีพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ มีพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ - จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา อยู่ในระดับดี