ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบเสริมพลังสร้างการเรียนรู้ (ESEAE MODEL) โดยใช้สื่อประสม เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย ธัญญาภัสร์ อบอุ่น ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนวัดศรีวิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
ปีที่ศึกษา 2565
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบเสริมพลังสร้างการเรียนรู้ (ESEAE MODEL) โดยใช้สื่อประสม เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบเสริมพลังสร้างการเรียนรู้ (ESEAE MODEL) โดยใช้สื่อประสม เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบเสริมพลังสร้างการเรียนรู้ (ESEAE MODEL) โดยใช้สื่อประสม เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) ขั้นตอนการวิจัยมี 4 ระยะ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบ 3) การนำไปทดลองใช้และ 4) การประเมินผลโดยประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดศรีวิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองเป็นการทดลองใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ใช้เวลาในการทดลอง 22 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) สื่อประสม เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช 2) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบเสริมพลังสร้างการเรียนรู้ (ESEAE MODEL) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การคำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย (x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (Dependent Samples t-test)
ผลการศึกษาสรุปได้ว่า
1. รูปแบบการเรียนรูปแบบเสริมพลังสร้างการเรียนรู้ (ESEAE MODEL) โดยใช้สื่อประสม
ชุด การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีองค์ประกอบดังนี้ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. กระบวนการสอน และ
4. การปะเมินผล โดยกระบวนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1. เสริมพลังความคิด (Empower thoughts : E) ขั้นตอนที่ 2. ค้นคว้าหาความรู้ (Search for knowledge: S) ขั้นตอนที่ 3. อธิบายความรู้ (Explain knowledge : E) ขั้นตอนที่ 4. ประยุกต์ใช้ (Application : A) ขั้นตอนที่ 5. ประเมินผลลัพธ์ (Evaluate results : E) และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรูปแบบเสริมพลังสร้างการเรียนรู้ (ESEAE MODEL) โดยใช้สื่อประสม เรื่อง
การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 80.76/83.23 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบเสริมพลังสร้างการเรียนรู้ (ESEAE MODEL) โดยใช้สื่อประสม เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการเรียน
รูปแบบเสริมพลังสร้างการเรียนรู้ (ESEAE MODEL) โดยใช้สื่อประสม เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.13