ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อระดมทุนบริหารจัดการ
โรงเรียนบ้านบ่อโนนมะค้ำวิทยาคาร
ผู้วิจัย นางยุพา เวียงกมล อัดโดดดร
ปีการศึกษา 2567
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการระดมทุนเพื่อบริหารจัดการโรงเรียนบ้านบ่อโนนมะค้ำวิทยาคาร 2) พัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อระดมทุนบริหารจัดการโรงเรียนบ้านบ่อโนนมะค้ำวิทยาคาร และ 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อระดมทุนบริหารจัดการโรงเรียนบ้านบ่อโนนมะค้ำวิทยาคาร เป็นการวิจัยและการพัฒนา (Research and Development) มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อระดมทุนบริหารจัดการโรงเรียนบ้านบ่อโนนมะค้ำวิทยาคาร ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อระดมทุนบริหารจัดการโรงเรียนบ้านบ่อโนนมะค้ำวิทยาคาร ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อระดมทุนบริหารจัดการโรงเรียนบ้านบ่อโนนมะค้ำวิทยาคาร และขั้นตอนที่ 5 ตรวจสอบความเป็นไปได้และความเหมาะสมของการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อระดมทุนบริหารจัดการโรงเรียนบ้านบ่อโนนมะค้ำวิทยาคาร
กลุ่มเป้าหมายมี 3 กลุ่ม คือ 1) ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 5 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพที่พึงประสงค์ของการระดมทุนบริหารจัดการโรงเรียนบ้านบ่อโนนมะค้ำวิทยาคารในภาพรวม สูงกว่าสภาพปัจจุบัน
2) รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อระดมทุนบริหารจัดการโรงเรียนบ้านบ่อโนนมะค้ำ
วิทยาคาร ประกอบด้วยกลยุทธ์หลัก 7 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) การสำรวจแนวโน้มและนวัตกรรม
2) วิเคราะห์แนวทางการระดมทุน 3) การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริจาค 4) กรณีศึกษาและบทเรียนจากประสบการณ์ 5) การประเมินผลกระทบของการระดมทุน 6) การวิเคราะห์ปัจจัยสำเร็จและความล้มเหลว และ 7) การจัดการกระดมทุน
3) การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อระดมทุนบริหารจัดการโรงเรียน
บ้านบ่อโนนมะค้ำวิทยาคาร มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของมาตรฐานด้านความเป็นไปได้ (Feasibility Standards) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือมาตรฐานด้านความเหมาะสม (Propriety Standards) มาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ (Utility Standard) และมาตรฐานด้านความถูกต้อง (Accuracy Standards ตามลำดับ