วัตถุประสงค์ของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
1. เพื่อใช้นวัตกรรม MCR-CHILD MODEL ในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ - ๓ ของโรงเรียนแม่เชียงรายวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 2 ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษา
2. เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ - ๓ ของโรงเรียนแม่เชียงรายวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 2 มีการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ที่มี ต่อการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดโดยใช้นวัตกรรม MCR-CHILD MODEL
3. ครูผู้สอนระดับปฐมวัยเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ที่มีต่อการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้กับเด็กปฐมวัยเกิดการนำความรู้ไปใช้ ได้อย่างเป็นรูปธรรมอันเป็นส่วนสำคัญในการร่วมสร้างพลเมืองรุ่นใหม่ที่มีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต
เป้าหมายของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
1. เป้าหมายเชิงปริมาณ
1) เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ - ๓ ร้อยละ ๑๐๐ มีการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ที่มีต่อการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดโดยใช้นวัตกรรม MCR-CHILD MODEL
2) ครูผู้สอนระดับปฐมวัยร้อยละ 100 เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ที่มีต่อการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้กับเด็กปฐมวัยเกิดการนำความรู้ไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมอันเป็นส่วนสำคัญในการร่วมสร้างพลเมืองรุ่นใหม่ที่มีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต
2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ
การใช้นวัตกรรม MCR-CHILD MODEL สามารถพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ของเด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ - ๓ ในโรงเรียนแม่เชียงรายวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 2 ในการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาได้
3.ปัจจัยนำเข้า (INPUT) การพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ระดับปฐมวัยในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของโรงเรียนแม่เชียงรายวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 2 เป็นการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ในการดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่สถานศึกษา หรือที่เรียกว่า ๔ Ms ประกอบด้วย ๑) คน (Man) ๒) งบประมาณ (Money) ๓) วัสดุอุปกรณ์ (Materials) ๔) การบริหารจัดการ (Management)
4. กระบวนการ (PROCESS)
นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) MCR-CHILD MODEL การพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ระดับปฐมวัยในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ของโรงเรียนแม่เชียงรายวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 2 มีกระบวนการดังนี้
1) Management (M) การบริหารจัดการที่มีคุณภาพ
มีการบริหารจัดการที่มีคุณภาพในการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ระดับปฐมวัยในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของโรงเรียนแม่เชียงรายวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 2 โดยมีการดำเนินงานตามกิจกรรม (ตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง PDCA) ดังนี้
- การวางแผน (Plan) ผู้บริหารมีการประชุมวางแผนร่วมกับคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อกำหนดทิศทางและวางแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ระดับปฐมวัยในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
- การปฏิบัติ (DO) ดำเนินการปฏิบัติกิจกรรมตามแผนที่วางไว้
- ตรวจสอบประเมินผล (Check) โดยการนำผลประเมินดำเนินกิจกรรมไป แก้ไข ปรับปรุง พัฒนา และต่อยอดเป็นกิจกรรมเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
- ปรับปรุงผลงานให้ดีขึ้น (Act) ศึกษาความสามารถที่ส่งเสริมทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ของเด็กปฐมวัยจากกิจกรรมอื่น
2) Coordination (C) การประสานความร่วมมือ
มีการประสานความร่วมมือ โดยมีผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ระดับปฐมวัยในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
3) Realize to Antidrug (R) สร้างความเข้าใจและตระหนักถึงปัญหา
สร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการตระหนักถึงปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะกลุ่มเด็กปฐมวัย หรือ เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 ถึง 3 โดยใช้วิธีการเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองในการบริหารจัดการชีวิตในวัยเด็กเล็ก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดที่เข้มแข็ง เนื่องจากสมองจะเปิดรับการเรียนรู้ในการจัดการตนเอง และจดจำไปตลอดชีวิตซึ่งเด็กอายุระหว่าง 2 ถึง 6 ปี มีพัฒนาการที่สามารถเรียนรู้วิธีการนี้ได้ดีที่สุด
4) Communication (C) การติดต่อสื่อสาร
มีการติดต่อสื่อสารหรือการประสานงาน ความร่วมมือการปฏิบัติงานของภาคีเครือข่ายในการขอรับงบประมาณ บุคลากร วัสดุหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ระดับปฐมวัยในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
5) Happiness (H) สร้างความสุขด้วยการจัดประสบการณ์อย่างสร้างสรรค์
เด็กปฐมวัย จัดเป็นวัยที่อยู่ในช่วง 5 ปีแรกของชีวิต ถือเป็นช่วงที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วจากประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เด็กได้รับ และเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุด เนื่องจากสมองของเด็กในช่วงอายุนี้จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ครูผู้มีหน้าที่หลักในการดูแลและให้ความรู้กับเด็กปฐมวัย จึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของพัฒนาการ หรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และด้านสติปัญญา รวมไปถึงลักษณะนิสัยอีกด้วย โดยประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เด็กได้รับเมื่ออยู่ในช่วงปฐมวัย จะอยู่ในโครงสร้างพื้นฐานของสมองของเด็กซึ่งมีกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จัดประสบการณ์ สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ในด้านต่างๆตามช่วงวัย โดยผ่านประสาทสัมผัส ทั้งห้า เช่น การอ่านหนังสือ เล่านิทาน ทำกิจกรรมศิลปะ เล่นดนตรี เล่นกลางแจ้งหรือเล่นกีฬาเพื่อให้เด็กได้ออกกำลัง เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น
6) Intelligence for Executive Functions : EF (I) การพัฒนาทักษะทางสมองอย่างชาญฉลาดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการต่อต้านยาเสพติด
ครูผู้สอนระดับปฐมวัยมีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการต่างๆ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ส่งผลให้เด็กเก่ง ดี มีสุข โดยส่งเสริมกิจกรรมเพื่อช่วยพัฒนาการทางด้านต่างๆ ที่เป็นการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) และเป็นภูมิคุ้มกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดดังนี้
-ด้านร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพทางกายความสามารถในการเคลื่อนไหว การทรงตัว ความทนทานของกล้ามเนื้อ ไม่เหนื่อยล้าง่าย สร้างพฤติกรรมสุขภาวะ ลดความเสี่ยงโรคต่างๆเมื่อเป็นผู้ใหญ่
- ด้านจิตใจ ส่งเสริมให้เด็กมีจิตใจร่าเริงแจ่มใส รับรู้และแสดงศักยภาพตัวตน มั่นใจในตนเอง มีแนวโน้มคิดบวก อดทน
- ด้านสังคม ส่งเสริมให้เด็กรู้จักเข้าสังคม ควบคุมอารมณ์ ทำตามกฎกติกา สื่อสารได้ สร้างนิสัยน้ำใจนักกีฬา
- ด้านสติปัญญา เสริมสร้างประสาทสัมผัส เพิ่มทักษารู้คิดและการแก้ปัญหา มีสมาธิ มีทักษะวิชาการ
7) Love and Take care (L) การให้ความรักและการดูแลเอาใจใส่เด็กปฐมวัย
การเห็นคุณค่าในตนเองเป็นรากฐานแรกที่เด็กเรียนรู้ได้จากการได้รับความรัก การเอาใจใส่จากครู เมื่อเด็กรับรู้ได้ว่าตนเป็นที่รัก ไม่ถูกละเลย ถูกเอาใจใส่อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ความรู้สึกไว้วางใจในสิ่งต่าง ๆ จะเกิดขึ้นกับตัวเด็ก ดังนั้น การได้รับความรัก การให้เวลา และการเอาใจใส่ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เด็กรู้จักการเห็นคุณค่าในตนเอง นอกจากนั้นการเปิดโอกาสให้เด็กได้พึ่งพาตนเองตามพัฒนาการและสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้สำเร็จด้วยตัวเอง เช่น เล่นของเล่นแล้วเก็บของเล่นเข้าที่ ช่วยงานในห้องเรียน แล้วมีคนชื่นชมในความพยายาม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประสบการณ์สำคัญที่สร้างให้เด็กเรียนรู้ถึงคุณค่าของตนเองทั้งสิ้น
8) Drug Anti to successful (D) การต่อต้านยาเสพติดในสถานศึกษาอย่างประสบผลสำเร็จ
เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ - ๓ มีการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ที่มีต่อการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด
ครูผู้สอนระดับปฐมวัย เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ที่มีต่อการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้กับเด็กปฐมวัยเกิดการนำความรู้ไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมอันเป็นส่วนสำคัญในการร่วมสร้างพลเมืองรุ่นใหม่ที่มีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต
5. ผลลัพธ์ (OUTPUT)
1)เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ - ๓ มีการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ที่มีต่อการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด
2) ครูผู้สอนระดับปฐมวัย เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) ที่มีต่อการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้กับเด็กปฐมวัยเกิดการนำความรู้ไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมอันเป็นส่วนสำคัญในการร่วมสร้างพลเมืองรุ่นใหม่ที่มีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต
3) ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน องค์กร หน่วยงานราชการและผู้ที่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมและมีความความตระหนักต่อการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้กับเด็ก
6.ผลผลิต (OUTCOME)
นวัตกรรม MCR-CHILD MODEL สามารถพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF) เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ - ๓ ของโรงเรียนแม่เชียงรายวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 2 ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาได้