เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ 5join Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย ณัฐรินีย์ ทุ่ยอ้น
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ 5join Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ 5join Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ จิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและ หลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์ 5join Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย) เพื่อศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์ 5join Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กชาย – หญิงที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จำนวน 23 คน จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง เป็นเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ 5 หน่วย ดังนี้ หน่วยกลางวัน กลางคืน หน่วยน้ำ หน่วยหิน ดิน ทราย หน่วยต้นไม้ หน่วยสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต และหน่วยประสาทสัมผัส ขอบเขตด้านระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566 ระยะเวลา 6 สัปดาห์ ๆ ละ 5 วัน ๆ ละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดประสบการณ์ 5join Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ 5join Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 3) แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์ 5join Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 4) แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย 5) แบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ( t – test )
สรุปผลการวิจัย
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ 5join Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สรุปผลได้ดังนี้
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์ 5join Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.76, S.D.= 0.35) โดยมีรูปแบบการจัดประสบการณ์ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ร่วมเตรียมความพร้อม (join in preparation) ขั้นที่ 2 ร่วมคิด (join in thinking) ขั้นที่ 3 ร่วมเรียนรู้ (join in learning) ขั้นที่ 4 ร่วมแลกเปลี่ยน (join in exchange) ขั้นที่ 5 ร่วมชื่นชม (join in admiration)
2. ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์ 5join Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย พบว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์ 5join Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า จิตวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับดี โดยความซื่อสัตย์ ด้านความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และ ด้านความสนใจใฝ่รู้ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด