หลักการบริหาร PBMC Model ขับเคลื่อนโดยกระบวนการบริหารงานคุณภาพ PDCA ของวงจรเดมมิ่ง เพื่อดำเนินการนิเทศภายในแบบสังเกตการสอนและเยี่ยมชั้นเรียน
P - policy implementation : การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ หมายถึง การแปลงนโยบายออกเป็นแผนงาน โครงการและมีการบริหารจัดการไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาให้บรรลุความสำเร็จ ประกอบด้วย การสร้างการยอมรับในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ การจัดทำแผนปฏิบัติการ/โครงการ/กิจกรรมที่ตอบสนองต่อนโยบาย การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน การกำหนดโครงสร้างองค์กร/ผู้รับผิดชอบ การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรให้เพียงพอ การกำกับติดตามและประเมินผล และการสร้างเครือข่ายสนับสนุนการปฏิบัติงาน
B - ฺBuid trust and collaborative : การสร้างความเชื่อมั่นและวัฒนธรรมแห่งการร่วมมือ หมายถึง การแสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะในการบริหารสถานศึกษาและการสร้างวัฒนธรรมแห่งการร่วมมือ เช่น มีความรู้ในหลักการบริหาร มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ความสามารถในการอธิบายตอบข้อซักถาม มีทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร มีกริยามารยาทที่ดี สามารถให้การบริการและตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและมีรูปแบบวัฒนธรรมแห่งการร่วมมือในองค์กรจนนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
M - Monitoring : การกำกับติดตาม หมายถึง กระบวนการเก็บข้อมูลในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นเครื่องบ่งชี้ความคืบหน้าและระดับความสำเร็จของการดำเนินงาน เพื่อรายงานให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ ประกอบด้วย การวางแผนการกำกับติดตาม การปฏิบัติตามแผนการกำกับติดตาม การประเมินและรายงานผลการกำกับติดตามและการเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่ผู้มีส่วนร่วม
C - Coordination : การประสานงาน หมายถึง การทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับแผนงานหรือกิจกรรมหนึ่งๆ ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบระเบียบนำไปสู่การบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม เกิดประสิทธิภาพต่อองค์กรและบรรลุเป้าหมายขององค์กรที่วางไว้ โดยมีหลักการสำคัญในการประสานงาน คือ การจัดระบบและการแบ่งงาน คำนึงถึงเรื่องของจิตใจ รู้จังหวะและเวลาในการประสานงาน มีการสื่อสารวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ไวต่อปัญหาและการเปลี่ยนแปลง มีบทบาทในการควบคุม และประสานความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่ายให้สอดคล้องกัน
P ขั้นวางแผน (Plan) ใช้ P - policy implementation : การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ เพื่อร่วมกันกําหนดจุดประสงค์ของการสังเกตการเรียนการสอน สิ่งที่ต้องการสังเกต เทคนิคหรือวิธีการสอนของผู้รับการสังเกต ธรรมชาติของวิชา นักเรียน ห้องเรียน วิธีการวัดและประเมินผลการสังเกต รวมถึงการทําความเข้าใจหรือคลี่คลายข้อสงสัยในเรื่องต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในขั้นการสังเกต โดยวางเป้าหมายแห่งความสำเร็จ ไว้ดังนี้
๑.1 เชิงปริมาณ
๑.๑.๑ ครูร้อยละ ๙๐ ได้รับการนิเทศภายในโดยใช้กิจกรรมการสังเกตการสอนและเยี่ยมชั้นเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อย่างน้อยภาคเรียนละ ๒ ครั้ง
๑.๑.๒ ร้อยละ ๙๐ ของครูผู้สอนที่รับได้การนิเทศภายในโดยใช้กิจกรรมการสังเกตการสอนและเยี่ยมชั้นเรียน มีระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับ ดี ขึ้นไป
๑.๒ เชิงคุณภาพ
ครูโรงเรียนบ้านป่าบงแม่จัน สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข
D ขั้นลงมือปฏิบัติ (D0) ใช้ B - ฺBuid trust and collaborative : การสร้างความเชื่อมั่นและวัฒนธรรมแห่งการร่วมมือ และ C - Coordination : การประสานงาน เพื่อดำเนินการโดยผู้รับการสังเกตปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนตามปกติ ผู้สังเกตปฏิบัติการสังเกตโดยบันทึกและเก็บรวบรวมข้อมูลลงในเครื่องมือตามที่ได้ประชุมหารือกันไว้ ซึ่งผู้สังเกตต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในที่ประชุมกันอย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังแสดงถึงความเคารพและซื่อสัตย์ต่อสิ่งที่ได้ตกลงไว้ในที่ประชุมอย่าง กัลยาณมิตรนิเทศอย่างแท้จริง และ M - Monitoring : การกำกับติดตาม ผู้สังเกตและผู้ถูกสังเกตร่วมกันสรุปผล โดยใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้ในเครื่องมือมาประกอบ โดยตระหนักถึงจุดประสงค์ของการสังเกตที่วางแผนไว้ ระบุจุดเด่น จุดด้อยของการปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนแล้วนําจุดด้อยที่ยังเป็นปัญหามาคิดหาวิธีปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม เพื่อนําวิธีการหรือการเปลี่ยนแปลงที่ได้มาใช้พัฒนาเรียนการสอนครั้งต่อไป
C ขั้นวัดประเมินผล (Check) ใช้ M - Monitoring : การกำกับติดตาม ประเมินผลก่อนการสังเกตและหลังการสังเกต
A ขั้นปรับปรุงพัฒนา (Action) ใช้ B - ฺBuid trust and collaborative : การสร้างความเชื่อมั่นและวัฒนธรรมแห่งการร่วมมือ เพื่อนำผลการประเมิน ปัญหาอุปสรรค มาร่วม PLC เพื่อปรับปรุงและพัฒนา
๓. ผลลัพธ์การพัฒนาที่เกิดขึ้น
๓.๑ เชิงปริมาณ
๓.๑.๑ ครูร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการนิเทศภายในโดยใช้กิจกรรมการสังเกตการสอนและเยี่ยมชั้นเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อย่างน้อยภาคเรียนละ ๒ ครั้ง
๓.๑.๒ ร้อยละ ๑๐๐ ของครูผู้สอนที่รับได้การนิเทศภายในโดยใช้กิจกรรมการสังเกตการสอนและเยี่ยมชั้นเรียน มีระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับ ดี ขึ้นไป
3.2 เชิงคุณภาพ
ครูโรงเรียนบ้านป่าบงแม่จัน สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข