1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) เป็นโครงการประเมินผู้เรียนระดับนานาชาติ ถือเอาคุณภาพผู้เรียนซึ่งเป็นผลผลิตของโรงเรียนและครูผู้สอนสะท้อนกลับไปถึงคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน คุณภาพของครูผู้สอนและโรงเรียนสะท้อนถึงคุณภาพของระบบการจัดการศึกษาของประเทศ ซึ่งส่งผลต่อถึงความสามารถด้านการแข่งขันของเวทีโลก ทั้งนี้ IMD ใช้ผลการประเมินของ PISA ในการพิจารณาจัดลำดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดังนั้นผลการประเมินตามโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ จึงเป็นผลการประเมินหนึ่งที่สะท้อนภาพความสำเร็จของการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยในวัยเรียน โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ PISA (Program for International Student Assessment) ริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการศึกษาในการเตรียมความพร้อมให้เยาวชนมีศักยภาพหรือความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง PISA ประเมินนักเรียนอายุ 15 ปี ซึ่งถือว่าเป็นวัยที่สำเร็จการศึกษาภาคบังคับ โดยได้ทำการประเมินทุก 3 ปี อย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษาและมุ่งให้ข้อมูลแก่ระดับนโยบาย PISA เน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน หรือเรียกว่า ความฉลาดรู้ (Literacy) ใน 3 ด้าน ได้แก่ การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ การประเมินนักเรียนจะวัดทั้ง 3 ด้านดังกล่าวไปพร้อมกัน แต่จะเน้นหนักที่ด้านใดด้านหนึ่ง ในแต่ละรอบการประเมิน ซึ่งความฉลาดรู้ทั้งสามด้านนี้ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเป็นสิ่งที่ประชากรจำเป็นต้องมีเพื่อการพัฒนาและการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ การประเมิน PISA 2022 ของประเทศไทย มีผลการประเมินในรูปของคะแนนเฉลี่ย พบว่า นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยด้านการอ่าน 379 คะแนน ด้านวิทยาศาสตร์ 409 คะแนน และด้านคณิตศาสตร์ 394 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD ในทุกด้าน คือ คะแนนเฉลี่ยด้านการอ่าน 476 คะแนน ด้านวิทยาศาสตร์ 485 คะแนน และด้านคณิตศาสตร์ 492 คะแนน ซึ่งผลการประเมินดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และมุมมองต่อคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของประเทศไทย ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการจัดลำดับ ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และส่งผลกระทบในมิติเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะความน่าเชื่อถือ และการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ออนไลน์) การเตรียมความพร้อมรับการดำเนินการจัดสอบรอบทดลองใช้เครื่องมือ (Field Trial) ในปี ค.ศ. 2024 และรอบ Main Survey ในปี ค.ศ. 2025 จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินงานอย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งโรงเรียนและครูผู้สอน ซึ่งโรงเรียนวัดหนองหอยต้องยังต้องขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมิน PISA 2025 เพื่อแก้ปัญหาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น จึงมีแนวทางและมาตรการในการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน โดยการพัฒนาครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นในการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากรและสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างเหมาะสมเพื่อการเตรียมความพร้อมรับการประเมินสมรรถนะ PISA 2025 อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้นวัตกรรม SMART Model
2. จุดประสงค์และเป้าหมาย ของการดำเนินงาน
2.1 จุดประสงค์ของการดำเนินงาน
2.1.1 เพื่อขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมรับการประเมิน PISA 2025 ให้นักเรียนมีศักยภาพและความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง
2.1.2 เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ กระบวนการคิด ในการทำแบบทดสอบตามแนวทางการประเมิน PISA 2025 ที่หลากหลาย
2.1.3 เพื่อให้นักเรียนมีทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ด้วยระบบ PISA Style Online Testing และแบบฝึกทักษะความฉลาดรู้ตามแนวทางการประเมิน PISA 2025
2.1.4 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ให้สูงขึ้น
2.2 เป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 28 คน
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1.นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 100 เข้ารับการพัฒนาและเข้าใช้ระบบ PISA Style Online Testing
2.นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 100 เข้ารับการพัฒนาและใช้แบบทบสอบชุดความฉลาดรู้ ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
3.นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ที่สูงขึ้นผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
เป้าหมายเชิงคุณภาพ 1.นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีศักยภาพ มีความรู้ความเข้าใจในการเข้าใช้ระบบ PISA Style Online Testing และใช้แบบทบสอบชุดความฉลาดรู้ ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 2. นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีความพร้อมเพื่อรับการประเมิน PISA 2025
3. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
S Synthesis สังเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ
1) ครูผู้สอนวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างกรอบการประเมิน PISA และตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นนพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ ประเมิน แก้ปัญหา อภิปราย แสดงความคิดเห็น ให้เหตุผล และวิพากษ์วิจารณ์ 2) สนับสนุนให้ครูศึกษาชุดพัฒนาความฉลาดรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งชุดพัฒนาความฉลาดรู้สามารถบูรณาการได้ในทุกรายวิชา M Management การบริหารจัดการ
Man: การให้ครูทุกกลุ่มสาระร่วมกันออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ และจัดกิจกรรมในการเตรียมความพร้อมและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบในระดับต่างๆ
Money: การจัดสรรงบประมาณในการจัดเตรียมสื่อวัสดุ อุปกรณ์
Material: การเตรียมแบบทดสอบที่เป็นเอกสาร และตรวจเช็ค จัดเตรียมคอมพิวเตอร์ จำนวน 30 เครื่องให้พร้อมใช้งาน และตรวจสอบระบบอินเตอร์เน็ตให้มีความเสถียรต่อก่อนเข้าใช้ระบบ
Management: มีการบริหารจัดการที่เป็นขั้นตอนอย่างเป็นระบบ
A Acceptance & Awareness สร้างความเข้าใจและความตระหนักให้ตรงกันถึงเป้าหมาย
1. จัดประชุมชี้แจงครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
ความเป็นมา ความสำคัญ และกรอบการประเมิน PISA รวมทั้งแผนการดำเนินงาน โดยเน้นการยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาสมรรถนะของนักเรียนเป็นหลัก
2. จัดประชุมชี้แจงนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 เพื่อให้นักเรียนเข้าใจวัตถุประสงค์ของการประเมิน PISA ในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีศักยภาพหรือทักษะที ่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลก ที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงความสอดคล้องในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรในประเทศ เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน และเชื่อมโยงสู่ศักยภาพของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ความน่าเชื่อถือ และการเข้ามาลงทุนทางธุรกิจของต่างชาติ
3.ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เข้ารับการอบรมพัฒนาศักยภาพ ในการจัดการเรียนรู ้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะความฉลาดรู้ของนักเรียน
R Rally การจัดกิจกรรม
1. นำชุดพัฒนาความฉลาดรู้ทั้ง 3 ด้าน ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ และจัดทำแผนการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2567 เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยการจัดบูรณาการในรายวิชาเพิ่มเติมของวิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.ครูผู้สอนปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนโดยบูรณาการตามชุดพัฒนาความฉลาดรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และจัดให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ได้ทำแบบทดสอบเสมือนจริงด้วยระบบ PISA Style Online Testing
T Transparency การเปิดโอกาส
1. เปิดโอกาสครูผู้สอนประเมินความสามารถและทักษะของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสนับสนุน
พัฒนาการของนักเรียนและติดตามความก้าวหน้า โดยเน้นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
และพิจารณาจัดทำ/นำแบบทดสอบตามรูปแบบการประเมิน PISA ไปประยุกต์ใช้ในการวัดและประเมินผลผู้เรียน
2. เปิดโอกาสในการสร้างชุมชนการเรียนรู ้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา (PLC) เพื่อร่วมกันพัฒนา
สมรรถนะความฉลาดรู้ของนักเรียน
3. ผู้บริหารสถานศึกษานิเทศติดตามการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้
4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
1) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความพร้อมรับการประเมิน PISA 2025 ให้นักเรียนมีศักยภาพและความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง
2) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด ในการทำแบบทดสอบตามแนวทางการประเมิน PISA 2025 อย่างหลากหลาย
3) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ด้วยระบบ PISA Style Online Testing และแบบฝึกทักษะความฉลาดรู้ตามแนวทางการประเมิน PISA 2025
4) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ให้สูงขึ้น 4.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน
4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ผู้บริหาร ครูมีนวัตกรรมที่ใช้ในการขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมการประเมิน PISA 2025 และครูผู้สอนทุกคนยังสามารถนำนวตกรรม SMART Model ใช้ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาอื่นๆ หรือการทดสอบในระดับต่างๆ เช่น RT NT O-NET ได้
5. ปัจจัยความสำเร็จ
1.ได้รับการส่งเสริม พัฒนาจาก สพป. ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ในการจัดอบรมให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อมการเข้ารับการทดสอบ PISA 2025 และการนิเทศติดตามเป็นระยะทุกเดือน 2.ได้รับความร่วมมือจากครูผู้สอนในรายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการบูรณาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา นอกเหนือจากการจัดชั่วโมงกิจกรรม PISA ทำให้นักเรียนเกิดความคุ้นเคยและสมารถเข้าใช้ระบบ PISA Online Testing
6. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
1) ครู นักเรียนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมในการประเมิน PISA 2025
2) ครูมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ การสร้างแบบวัดประเมินผลที่สอดคล้องกับแบบทดสอบ PISA ทำให้เกิดการพัฒนา การสร้างกระบวนการคิดในชีวิตของนักเรียนอย่างยั่งยืน
3) นักเรียนมีกระบวนการคิด มีศักยภาพและความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง
7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
7.1 การเผยแพร่
1) ทำการเผยแพร่ผลสำเร็จของการดำเนินงานด้วยนวัตกรรม ไปยังโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัด สพป. ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
2) ทำการเผยแพร่ผลสำเร็จของการดำเนินงานด้วยนวัตกรรมทางเว็บไซค์ครูบ้านนอก ดอทคอม
7.2 การได้รับการยอมรับ รางวัลที่ได้รับ