ชื่อผลงาน รูปแบบพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเสริมสร้างทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน
ผู้วิจัย นางสายฝน ไทยกรรณ์
ปีที่รายงาน 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเสริมสร้างทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน และเพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเสริมสร้างทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน ประชากรผู้ให้ข้อมูลในครั้งนี้ จำนวน 54 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน บุคลากรโรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหลวง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ จำนวน 8 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จำนวน 1 คน และครูผู้สอนระดับประถมศึกษา จำนวน 6 คน บุคลากรโรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จำนวน 34 คน ได้แก่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 2 คน และครูผู้สอนระดับประถมศึกษา จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวนทั้งหมด 6 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ เพื่อการเสริมสร้างทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ นักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน ฉบับที่ 2 แบบสัมภาษณ์ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหลวง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ ฉบับที่ 3 แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ผ่านการบริหารจัดการด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อการเสริมสร้างทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ นักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน ฉบับที่ 4 แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการพัฒนา เพื่อการเสริมสร้างทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ นักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน ฉบับที่ 5 แบบประเมินสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ผ่านการบริหารจัดการด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน และฉบับที่ 6 แบบประเมินทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ของนักเรียนเป็นรายบุคคล และแบบสรุปรายงานการประเมินทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ นักเรียนระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. 1. จากการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเสริมสร้างทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบ
โฟนิกส์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน พบว่า สภาพปัญหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพความต้องการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัด
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ โรงเรียนเทศบาล ประตูลี้ จังหวัดลำพูน
2. รูปแบบพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเสริมสร้างทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน เพื่อการเสริมสร้างทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน
2.1 รูปแบบพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเสริมสร้างทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน จากการพัฒนาได้องค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการสร้างและพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ ประกอบด้วย การวางแผน (Plan : P) จำนวน 6 การปฏิบัติตามแผน (Act : A) จำนวน 6 รายการ การสังเกตตรวจสอบผลจากการปฏิบัติ (Observe : O) จำนวน 6 รายการ และการสะท้อนผล (Reflect : R) จำนวน 6 รายการ 2. ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ ประกอบด้วย การวางแผน (Plan : P) จำนวน 7 รายการ การปฏิบัติตามแผน (Act : A) จำนวน 7 รายการ การสังเกต ตรวจสอบผลจากการปฏิบัติ (Observe : O) จำนวน 7 รายการ และการสะท้อนผล (Reflect : R) จำนวน 5 รายการ 3. ด้านการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ ประกอบด้วยการวางแผน (Plan : P) จำนวน 8 รายการ การปฏิบัติตามแผน (Act : A) จำนวน 8 รายการ การสังเกต ตรวจสอบผลจากการปฏิบัติ (Observe : O) จำนวน 8 รายการ และการสะท้อนผล (Reflect : R) จำนวน 8 รายการ 4. ด้านการพัฒนาและใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ ประกอบด้วย การวางแผน (Plan : P) จำนวน 8 รายการ การปฏิบัติตามแผน (Act : A) จำนวน 8 รายการ การสังเกต ตรวจสอบผลจากการปฏิบัติ (Observe : O) จำนวน 8 รายการ และการสะท้อนผล (Reflect : R) จำนวน 8 รายการ และ 5. ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ประกอบด้วย การวางแผน (Plan : P) จำนวน 8 รายการ การปฏิบัติตามแผน (Act : A) จำนวน 8 รายการ การสังเกต ตรวจสอบผลจากการปฏิบัติ (Observe : O) จำนวน 8 รายการ และการสะท้อนผล (Reflect : R) จำนวน 8 รายการ
2.2 จากการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเสริมสร้างทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ถือว่ามีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้กับประชากรได้
3. จากผลการใช้รูปแบบพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเสริมสร้างทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2564 สรุปภาพรวมมีค่าเฉลี่ยผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2565 และปีการศึกษา 2566 สรุปภาพรวมมีค่าเฉลี่ยผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เปรียบเทียบสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเสริมสร้างทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2564 กับปีการศึกษา 2565 โดยภาพรวมมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น 0.47 และเปรียบเทียบปีการศึกษา 2565 กับปีการศึกษา 2566 โดยภาพรวมมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น 0.05 และเมื่อพิจารณาคุณภาพที่เกิดกับนักเรียนในทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ จำแนกตามระดับความสามารถของนักเรียนระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 เมื่อมีการดำเนินงานก่อนการพัฒนาในปีการศึกษา 2563 และระหว่างการพัฒนาตลอดระยะเวลา 3 ปีการศึกษา
ปีการศึกษา 2564-2566 ร้อยละของจำนวนนักเรียนมีระดับการพัฒนาใน Level A สูงขึ้น โดยปีการศึกษา 2563 นักเรียนอยู่ในระดับ Level A คิดเป็นร้อยละ 18.35 การศึกษา 2563 นักเรียนอยู่ในระดับ Level A คิดเป็นร้อยละ 18.35 ปีการศึกษา 2564 นักเรียนอยู่ในระดับ Level A คิดเป็นร้อยละ 19.94 ปีการศึกษา 2565 นักเรียนอยู่ในระดับ Level A คิดเป็นร้อยละ 21.34 และการศึกษา 2566 นักเรียนอยู่ในระดับ Level A คิดเป็นร้อยละ 25.27 ตามลำดับ ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะ ผลจากการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้มีการเตรียมการวางแผนการดำเนินการพัฒนา มีการพัฒนาและดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ ผ่านการบริหารจัดการด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเสริมสร้างทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง