การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ขั้นที่ 1.1 การศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการและกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยการวิเคราะห์เอกสาร ขั้นที่ 1.2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม โดยการใช้แบบสอบถาม ขั้นที่ 1.3 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการสร้างรูปแบบ โดยการวิเคราะห์เอกสาร การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และการสังเคราะห์องค์ประกอบและแนวทางการสร้างรูปแบบ ขั้นตอนที่ 2 การสร้าง และตรวจสอบรูปแบบ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ขั้นที่ 2.1 การยกร่างรูปแบบ และร่างคู่มือการใช้รูปแบบ ขั้นที่ 2.2 การตรวจสอบร่างรูปแบบ และร่างคู่มือการใช้รูปแบบโดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นที่ 2.3 การบรรณาธิการกิจรูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบ ขั้นที่ 2.4 การตรวจสอบรูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ โดยนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ไปทดลองใช้ในปีการศึกษา 2565 ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ขั้นที่ 4.1 การประเมินคุณภาพผู้เรียน ขั้นที่ 4.2 การประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบ ขั้นที่ 4.3 การประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการ และกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการ มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 4) ด้านการนิเทศการศึกษา และ 5) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และองค์ประกอบของกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วยการดำเนินงานต่อเนื่องเป็นวงจร ตามกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน (PAOR) ได้แก่ 1) ขั้นวางแผน (Planning) 2) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action) 3) ขั้นสังเกตผลการปฏิบัติ (Observation) และ 4) ขั้นสะท้อนผล (Reflection
สภาพปัจจุบันในการบริหารงานวิชาการ โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม พบว่า มีระดับปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานวิชาการ โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าความต้องการจำเป็น (PNI Modified) ในการบริหารงานวิชาการ โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ในภาพรวมทั้งหมด มีค่า PNI Modified = 0.85 โดยมีแนวทางการสร้างรูปแบบ ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหา และกระบวนการดำเนินการตามรูปแบบ และปัจจัยแห่งความสำเร็จ
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้ แก่ ส่วนที่ 1 หลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 วิธีการดำเนินการตามรูปแบบ ประกอบด้วย 3.1) ปัจจัยนำเข้า 3.2) กระบวนการ 3.3) ผลลัพธ์ และส่วนที่ 4 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ผลการตรวจสอบรูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ารูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบ มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม พบว่าครูสามารถปฏิบัติตามรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม พบว่า 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน (1.1) ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรของผู้เรียนสูงขึ้น และ ค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าร้อยละคะแนนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับโรงเรียนสูงกว่าระดับประเทศ (1.2) จำนวนผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีขึ้นไปสูงขึ้น (1.3) จำนวนผู้เรียนที่มีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับดีขึ้นสูงขึ้น (1.4) ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร และสถานศึกษาได้รับเกียรติบัตร หรือรางวัลด้านวิชาการเพิ่มมากขึ้น 2) ด้านความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ พบว่า ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินรูปแบบ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด