ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่องระบบย่อยอาหาร
รายวิชาชีววิทยา 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวกาญจนา ศรีโสภา
สถานที่ทำงาน ศรีวิไลวิทยา อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ
ปีที่ทำวิจัย 2567
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่องระบบย่อยอาหาร รายวิชาชีววิทยา 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาชีววิทยา 4 เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาชีววิทยา 4 เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาชีววิทยา 4 เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (2) ศึกษาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาชีววิทยา 4 เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (3) ศึกษาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาชีววิทยา 4 เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา 4 เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนศรีวิไลวิทยา จังหวัดบึงกาฬ ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 8 ชุด (2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.26 ถึง 0.77 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.79 ค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบเท่ากับ 0.839 (4) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ ชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.74 และค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.77 ค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบเท่ากับ 0.848 (5) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.24 ถึง 0.95 และค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.74 ค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบเท่ากับ 0.887 (6) แบบประเมินความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกของแบบประมินเท่ากับ 0.23 ถึง 0.91 และความเชื่อมั่นของแบบประเมินเท่ากับ 0.885 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติค่าที t-test (dependent samples)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) รายวิชาชีววิทยา 4 เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทั้ง 8 ชุด มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.24/82.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาชีววิทยา 4 เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
2.1 นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) รายวิชาชีววิทยา 4 เรื่อง ระบบย่อยอาหาร มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) รายวิชาชีววิทยา 4 เรื่อง ระบบย่อยอาหาร มีคะแนนการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) รายวิชาชีววิทยา 4 เรื่อง ระบบย่อยอาหาร มีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาชีววิทยา 4 เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ผลโดยรวมนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.59 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.57