แบบนำเสนอผลงานแบบอย่างที่ดี (Best Practice) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ของครูที่เสริมสร้างสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา
1. ข้อมูลผลงาน
ชื่อผลงาน แบบรายงานแบบอย่างที่ดี (Best Practice) ปีการศึกษา 2567
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
โดยใช้ กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPS) รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ
ฟิสิกส์ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6/2
ชื่อ - สกุล นางสาวรัชนี ชุ่มกิ่ง วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
รายละเอียดเอกสารการนำเสนอแบบอย่างผลงานนวัตกรรม/แบบอย่างที่ดี (Best Practice)
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูที่เสริมสร้างสมรรถนะ
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา
1.ความสำคัญของผลงานนวัตกรรม/แบบอย่างที่ดี (Best Practice)
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 4) วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญยิ่งเพราะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด
ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีทักษะที่สำคัญในการค้นหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ทุกคนจึงต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจโลกธรรมชาติ พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนการพัฒนาตลอดชีวิต ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลยั่งยืน และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชน
สู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งมุ่งส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณธรรม รักความเป็นไทย ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 2) และเพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ และให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 โดยเฉพาะในมาตรา 22 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2545 : 6) การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากความรู้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโลกธรรมชาติ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทุกคนต้องเรียนรู้เพื่อนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตและการประกอบอาชีพ
เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยได้รับการกระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้นท้าทายกับการเผชิญสถานการณ์หรือปัญหา มีการร่วมกันคิด ลงมือปฏิบัติจริงก็จะเข้าใจและเห็นความเชื่อมโยงของวิทยาศาสตร์กับวิชาอื่นและชีวิต ทำให้สามารถอธิบาย ทำนาย คาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล ในการสอนวิทยาศาสตร์แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษานั้น มีปัญหาเกิดขึ้นกับครูวิทยาศาสตร์หลายอย่าง เช่น ปัญหาด้านการใช้หลักสูตร ปัญหาเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ปัญหาการจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอน ตลอดจนการประเมินผล ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาศาสตร์ (ภพ เลาหไพบูลย์. 2552 : 380) ปัญหาที่เกิดจากผู้เรียน ได้แก่ ผู้เรียนขาดแรงจูงใจในการใฝ่สัมฤทธิ์ ขาดความกระตือรือร้น มีเจตคติไม่ดีต่อวิชา
ที่เรียน จากสภาพปัญหาการศึกษาของประเทศที่ผ่านมา คุณภาพการศึกษาของไทยยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต่ำทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ผู้รายงานได้ตรวจสอบเนื้อหาที่มีปัญหาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ที่มีปัญหาคือ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของเนื้อหาวิชาที่สูงขึ้น ซึ่งสภาพปัญหาดังกล่าวเกิดจากเทคนิค วิธีสอนไม่เหมาะสม สื่อไม่กระตุ้นการเรียนของนักเรียน นักเรียนขาดความเอาใจใส่ขาดความกระตือรือร้น ไม่รู้จักแก้ปัญหา ขาดการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและไม่สามารถสรุปองค์ความรู้ได้ นักเรียนเน้นการท่องจำมากกว่าการลงมือปฏิบัติ ส่งผลให้นักเรียนขาดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงจำเป็นที่จะต้องให้ผู้เรียนทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ การเอาใจใส่ต่อการเรียนและรู้วิธีในการแสวงหาความรู้ในการที่จะพัฒนาตนเอง นั่นคือการสอนให้นักเรียนรู้จักคิด เป็นเจ้าของความคิด สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง (จิราภรณ์ ศิริทวี. 2540 : 37)
ผู้ศึกษาจึงได้เลือกใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps คือ กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยเป็นการเรียนรู้ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (ProfessionalLearning Community : PLC) ซึ่ง GPAS นั้นนับว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักเรียนมี วิธีการเรียน ซึ่งจะช่วยผู้เรียนสามารถนําไปเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงได้ จึงนับว่าเป็นเครื่องมือสําคัญในการเพิ่มพูนทักษะในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน และทําให้ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น รวมถึงช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นการสังเกต รวบรวมข้อมูล (G : Gathering) ขั้นที่ 2 ขั้นวิเคราะห์สรุปความรู้ (P : Processing) ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ (Applying and Constructing the Knowledge: A 1) ขั้นที่ 4 ขั้นสื่อสารและนําเสนอ (Applying the Communication Skill : A2) และขั้นที่ 5 ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่า (Self-Regulating : S) เพื่อให้นักเรียนแสวงหาความรู้และเน้นการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการ การปฏิบัติเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านกิจกรรมการจัดค่ายวิชาการที่ได้นำเสนอทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน
2.จุดประสงค์และเป้าหมายของผลงานนวัตกรรม/แบบอย่างที่ดี (Best Practice)
2.1 จุดประสงค์
2.1.1 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นตอน (5 STEPS)
2.1.2 เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ใน
การค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้
2.1.3 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริง โดยการให้ผู้เรียนสร้าง
ความรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยความร่วมมือแบบกลุ่ม
2.1.4 เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกและนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า
เผยแพร่ในวงกว้าง ทั้งภายในสถานศึกษาและชุมชนภายนอก
2.2 เป้าหมาย
2.2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 2 ห้อง ได้ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ผ่าน
การลงมือทำและการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นตอน (5 STEPS) ของการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้
2) นักเรียนได้นวัตกรรมที่ผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้าของนักเรียน จำนวน 1 เรื่อง
2.2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1) นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการ
ค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้
3. กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม
จาก รมว.ศธ. พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ มอบนโยบายการศึกษา และแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย เรียนดี มีความสุข เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ข้าพเจ้าจึงดำเนินการพัฒนาและแก้ไขปัญหาผู้เรียนโดยใช้นวัตกรรมทางการเรียนการสอน (Instructional innovation) โดยมีเป้าหมายตามกระบวนการ GPAS 5 Steps คือ กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยเป็นการเรียนรู้ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ซึ่ง GPAS นั้นนับว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักเรียนมี วิธีการเรียน ซึ่งจะช่วยผู้เรียนสามารถนําไปเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงได้ จึงนับว่าเป็นเครื่องมือสําคัญในการเพิ่มพูนทักษะในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน และทําให้ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น รวมถึงช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
จากกระบวนการพัฒนานวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ดังแสดงในภาพนั้น มีขั้นตอนการดำเนินการ
ดังนี้
1) ศึกษาหลักสูตรของโรงเรียน ศึกษาเอกสารประกอบหลักสูตรและวิเคราะห์หลักสูตร
2) ออกแบบหน่วยการเรียนรู้และจัดทำแผนการเรียนรู้อย่างชัดเจน ซึ่งในแผนการจัดการ
เรียนรู้นอกจากจะกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดแล้ว จะกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ครอบคลุม
ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย
3) ระบุเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนรู้ ระบุใช้สื่อ/นวัตกรรมที่ใช้ในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน
4) กำหนดวิธีการวัดและประเมินผลพร้อมเครื่องมือการวัดและประเมินผลไว้อย่างชัดเจน
5) จากนั้นนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ใช้สื่อ/นวัตกรรมอย่างหลากหลายประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้ครอบคลุมตามตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้
ทั้งนี้ ข้าพเจ้ามีการวัดและประเมินผลในรายวิชาวิทยาศาสตร์ คือ การประเมินการปฏิบัติ
(Authentic Assessment) และการประเมินสภาพจริง (Performance Assessment) โดยผ่านการปฏิบัติของผู้เรียน โดยการวัดและประเมินผลด้วยวิธีการดังกล่าวต้องวัดและประเมินได้ครอบคลุม ครบถ้วนพฤติกรรมของผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน ดังนี้
ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) การประเมินความรู้ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นการให้
ผู้เรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ ทั้งเนื้อหาด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งความรู้ในเนื้อหาสาระนี้สามารถประเมินโดยการใช้แบบทดสอบ
ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นการประเมินการแสดงออกของผู้เรียนทั้งหมด
ตลอดจนการทำงานร่วมกันและคุณลักษณะต่าง ๆ ซึ่งสามารถประเมินด้วยวิธีการสังเกตได้อย่างชัดเจน
ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) การประเมินทักษะในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ตาม
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะที่สำคัญของนักเรียนในศตวรรษที่ 21
3.2 การดำเนินงานตามกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ (Plan)
1) ผู้สอนศึกษาเป้าหมายของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ศึกษาหลักสูตรของโรงเรียน
ศึกษาเอกสารประกอบหลักสูตรและวิเคราะห์หลักสูตร ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ เพื่อสร้างหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2) ผู้สอนจัดทำหน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้
3) ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสำรวจแนวคิดหลักในการจัดทำผลงานและนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่
การกำหนดหัวข้อองค์ความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนมีความสนใจร่วมกัน
ขั้นดำเนินการ (Do)
การพัฒนาผลงานและนวัตกรรมของนักเรียนจากการจัดการเรียนการสอน Active Learning
โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPS) ของการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ ดังนี้
กระบวนการ GPAS 5 Steps คือ กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยเป็นการเรียนรู้ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional
Learning Community : PLC) ซึ่ง GPAS นั้นนับว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักเรียนมี วิธีการเรียน ซึ่งจะช่วย
ผู้เรียนสามารถนําไปเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงได้ จึงนับว่าเป็นเครื่องมือสําคัญในการเพิ่มพูนทักษะในการ
เรียนรู้ให้กับผู้เรียน และทําให้ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น รวมถึงช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้
อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นการสังเกต รวบรวมข้อมูล (G : Gathering)
ขั้นที่ 2 ขั้นวิเคราะห์สรุปความรู้ (P : Processing)
ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ (Applying and Constructing the Knowledge: A 1)
ขั้นที่ 4 ขั้นสื่อสารและนําเสนอ (Applying the Communication Skill : A2)
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่า (Self-Regulating : S)
ขั้นตรวจสอบและประเมิลผลการพัฒนางาน (Check)
1) ผู้เรียนมีความตื่นตัวในการเข้าร่วมกิจกรรม มีการค้นคว้าข้อมูลจากหลายแหล่ง
เรียนรู้ และมีการปรับปรุงเป็นระยะ โดยมีผู้สอนทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ ในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนางาน
2) เมื่อผู้เรียนจัดทำนวัตกรรมแล้ว ผู้สอนทำหน้าที่ตรวจสอบ และเสนอแนะ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน
ขั้นสรุปและรายงาน (Action)
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPS) เปิด
โอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการเรียนการสอน ผู้เรียนทุกคนได้คิด ได้ปฏิบัติด้วยตนเอง ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนและผู้สอนอย่างเต็มที่ ผู้สอนสามารถปรับเนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอนตามความคิดเห็นของผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน เมื่อผู้เรียนมีความสนุกก็จะมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีตามมา สามารถสร้างนวัตกรรมหรือผลงานเพื่อเป็นการทบทวนกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมาตลอดทั้งหน่วยการเรียนรู้ที่ผ่านมา หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นกระบวนการตกผลึกทางความคิด เพื่อเชื่อโยงองค์ความรู้ที่ได้รับกับการนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยมีผู้สอนทำหน้าที่ให้คำชี้แนะอย่างใกล้ชิด
3.3 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
ขั้นตอนในการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาทักษะของผู้เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5
ขั้นตอน (5 STEPS) ของการพัฒนาผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มากขึ้น เช่น การค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเอง และการแสดงผลงานที่สร้างความภูมิใจให้กับผู้เรียน โดยเฉพาะในขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่า ผู้เรียนจะให้ความสนใจเป็นพิเศษในการร่วมกันสรุปความรู้ของกลุ่มออกมาเป็นแผนผังความรู้ ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะช่วยกันคิดและออกแบบแผนผังกันอย่างเต็มที่ ซึ่งจากกิจกรรมตรงนี้แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนต่างช่วยกันสรุปความรู้ที่ตนได้มาจัดทำเป็นผังความรู้ ทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำและเข้าใจเนื้อหาที่เรียนไปได้ดียิ่งขึ้น ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษ
ที่ 21 ในการค้นความและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ผู้เรียนพยายามที่จะตั้งคำถามและตอบคำถามกับเพื่อน ทำให้ได้ฝึกใช้ความรู้ที่เรียนมาไปอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งต่างไปจากการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามปกติที่เป็นการเรียนการสอนโดยเน้นการบอก การอธิบาย การสาธิต และการซักถาม เนื้อหาในการเรียนของผู้สอนหรือในบางครั้งอาจจะมีการทดลองบ้างแต่ไม่บ่อยครั้ง โดยมิได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการค้นคว้า กระบวนการคิด กระบวนการทำงาน กระบวนการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้ อันเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการเรียนการสอนโดยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPS) ของการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้
3.4 การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสมคุ้มค่า
การสร้างองค์ความรู้และการพัฒนาผู้เรียนผ่านการดำเนินการตามการจัดการเรียนการสอน
โดยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPS) ของการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ ได้เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง มีการใช้กระบวนการทางสติปัญญา และมีส่วนร่วมในการเรียนทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม พร้อมทั้งเน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการค้นความและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ซึ่งต้องอาศัยจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายและเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่อยู่ในท้องถิ่น เพื่อให้การสืบค้นข้อมูลและนำข้อมูลมาใช้สร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ นั้นมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ จึงมีการใช้ทรัพยากรในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
3.4.1 ผู้เรียนและผู้สอนระดมความคิด เพื่อระบุแหล่งเรียนรู้ที่สามารถสืบค้นหาข้อมูลมา
จัดทำผลงานและนวัตกรรมของตนเองได้อย่างถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ เช่น ห้องปฏิบัติการกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ห้องสมุดโรงเรียนนิคมพิมายศึกษา ห้องคอมพิวเตอร์ และแหล่งภูมิปัญญาในท้องถิ่น
3.4.2 กระบวนการสืบค้นข้อมูลและเขียนบทความ มีการใช้ทรัพยากร เช่น กระดาษ เอ 4
กระดาษฟลิบชาร์จ ปากกาเคมี เพื่อใช้ในการจดบันทึก
3.4.3 การลงพื้นที่สืบค้นข้อมูล ได้รับการอำนวยความสะดวกจากท่านผู้อำนวยการโรงเรียน
ครูประจำห้องปฏิบัติการ ครูประจำห้องคอมพิวเตอร์ และผู้ปกครองของผู้เรียนซึ่งเป็นคนในท้องถิ่น ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้
3.4.4 การจัดตีพิมพ์ผลงานและนวัตกรรมที่ได้ดำเนินการศึกษา ผ่านการพิมพ์โดยใช้กระดาษ
ชาร์ตขาว เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับงานนำเสนอ
4. วิธีการวัดและประเมินผล
4.1 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลตามจุดประสงค์และเป้าหมายของผลงานนวัตกรรม/แบบอย่างที่ดี (Best Practice)
4.1.1 ประเมินจากแบบสำรวจการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์และค่ายวิชาการ
4.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลในแผนการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPS)
4.2.1 การประเมินการเรียนรู้
1) ประเมินความรู้ เรื่อง ธรรมชาติของแรง และผลของแรงต่อวัตถุ (K) ด้วยแบบทดสอบ
2) ประเมินการปฏิบัติการทำกิจกรรมการทดลอง (P) ด้วยแบบประเมิน
3) ประเมินชิ้นงาน ผังมโนทัศน์ ผลของแรงที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพเดิมของวัตถุ (P) ด้วยแบบประเมิน
4) ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน (A) ด้วยแบบประเมิน
5. ผลการดำเนินการที่ส่งผลดีต่อผู้เรียนหรือสถานศึกษา
5.1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
5.1.1 ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPS)
5.1.2 ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการ
ค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้
5.1.3 ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริง สามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง
และความร่วมมือจากกลุ่ม
5.1.4 ผู้เรียนกล้าแสดงออกและสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้าเผยแพร่ใน
วงกว้าง ทั้งภายในสถานศึกษาและชุมชนภายนอก
5.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน
ผลการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอน Active Learning โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5
ขั้นตอน (5 STEPS) ของการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ พบว่า ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มากขึ้น เช่น การค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเอง การลงมือปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง การทำงานร่วมกันเป็นทีม การสร้างความรู้ด้วยตนเอง และการแสดงผลงานที่สร้างความภูมิใจให้กับผู้เรียน โดยเฉพาะในขั้นสรุปจัดระเบียบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผู้เรียนจะให้ความสนใจเป็นพิเศษในการร่วมกันสรุปความรู้ของกลุ่มออกมาเป็นแผนผังความรู้ ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะช่วยกันคิด และออกแบบผังของตนกันอย่างเต็มที่ ทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำและเข้าใจเนื้อหาที่เรียนไปได้ดียิ่งขึ้น ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา ค้นคว้าและคัดเลือกข้อมูลหรือองค์ความรู้เป็นทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งทักษะเหล่านี้จะติดตัวผู้เรียนไปตลอด และผู้เรียนสามารถจัดทำผลงานซึ่งเป็นนวัตกรรมสำคัญซึ่งเป็นผลสรุปของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และสามารถนำนวัตกรรมมาศึกษาหาความรู้ และนำสู่การเผยแพร่ให้กว้างขวางมากขึ้น
5.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
5.3.1 นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการ
ค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เกิดทักษะการคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ
5.3.2 ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มากขึ้น
5.3.3 ผู้เรียนพยายามที่จะตั้งคำถามและตอบคำภามกับเพื่อน ได้ฝึกใช้ความรู้ที่เรียนมาอย่าง
ไม่รู้ตัว
5.3.4 ผู้เรียนมีความสามารถทางการเรียนสูง มีพฤติกรรมกล้าแสดงออกสูง และผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมกล้าแสดงออก
5.3.5 ผู้เรียนได้ฝึกความคิดเชิงวิพากษ์และเปิดใจกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นทำให้
เกิดเป็นนิสัยที่ติดตัวและเคยชินจนสามารถพัฒนาไปใช้ในชีวิตประจำวัน
5.3.5 ผู้เรียนสามารถเปลี่ยนจากผู้รับองค์ความรู้มาเป็นผู้สร้างองค์ความรู้และเผยแพร่องค์
ความรู้ ที่เกิดจากการศึกษา ค้นคว้าให้เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น
6. ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จ (ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกสถานศึกษา)
6.1 กระบวนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน Active Learning โดยใช้กระบวนการ
เรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPS) ของการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ มีการวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ รัดกุม ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน
6.2 ผู้สอนและผู้เรียนกล้าที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดของตนเอง กล้าคิด กล้าลงมือทำ หวังผลเพื่อ
พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ เรียนรู้ร่วมกัน
6.3 ผู้เรียนได้นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการอธิบาย เชื่อมโยง และบูรณาการองค์ความรู้
ทางด้านสังคมศาสตร์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน
6.4 ผู้บริหารและคณะครูให้ความเห็นชอบและให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม มีวัสดุ
อุปกรณ์ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมอย่างเพียงพอ
6.5 การประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมร่วมกันผ่านการเผยแพร่ทั้งภายในและ
ภายนอกสถานศึกษาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้าได้เผยแพร่ไปในวงกว้าง
7. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
7.1 การระบุข้อมูลที่ได้รับจากการผลิตและการนำผลงานไปใช้
7.1.1 ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการ
ค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เกิดทักษะการคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ
7.1.2 ผู้เรียนทราบวิธีการค้นคว้าและคัดเลือกข้อมูลหรือองค์ความรู้ได้อย่างถูกต้องและ
เป็นระบบ
7.1.3 ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในผลงานหรือนวัตกรรมของตนเองและเพื่อนร่วมชั้น
7.1.4 ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันในเรื่องที่เกี่ยวกับการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ไป
พัฒนาท้องถิ่น และรู้จักชุมชนของผู้เรียนในหลากหลายแง่มุมมากยิ่งขึ้น สนองตอบหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
7.2 ข้อเสนอแนะ
7.2.1 ผู้สอนต้องวางแผนการจัดทำผลงานหรือนวัตกรรมของนักเรียนให้มีความชัดเจน รัดกุม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
7.2.2 ผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้มีการลงมือปฏิบัติด้วยตนแอง มีส่วนร่วมในกิจกรรมมากที่สุดและทั่วถึงทุกคน โดยให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการต่าง ๆ ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เพื่อให้สามารถค้นหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ อันจะทำให้เกิดความคงทนในการเรียนรู้ได้ดีขึ้นอีกด้วย
7.2.3 ผู้สอนควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในขณะร่วมทำกิจกรรมหรือตอบคำถามโดยเฉพาะในขั้นตอนการแสวงหาความรู้ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ โดยผู้สอนควรมีการชี้แนะแนวทางในการหาคำตอบมากกว่าการบอกคำตอบนั้นแทน
7.3 แนวทางในการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มเติม
7.3.1 การพัฒนาผลงานหรือนวัตกรรมของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอน Active Learning โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPS) ของการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ ควรจัดทำในรูปแบบของสื่อออนไลน์ เช่น E-book เพื่อให้สามารถมีผู้เข้าถึงองค์ความรู้ที่นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบได้จำนวนมากและวงกว้างยิ่งขึ้น หรือเข้าถึงโดยการสแกน QR code
7.3.2 การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้กับผลงานหรือนวัตกรรมของนักเรียนมากขึ้น เช่น การใช้ AR เป็นเทคโนโลยีที่นำภาพเสมือ ที่เป็นรูปแบบ 3 มิติ จำลองเข้าสู่โลกจริงผ่านกล้อง จะทำให้ผลงานหรือนวัตกรรมของนักเรียนมีความน่าสนใจและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านได้มากยิ่งขึ้น
7.3.3 การกำหนดประเด็นที่จะศึกษา ค้นคว้า ให้มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาองค์ความรู้อย่างละเอียดและลึกซึ้ง
7.3.4 ควรมีการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ตามกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPS) กับตัวแปรอื่น ๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดแก้ปัญหา ความคงทนของการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์ การสื่อความหมาย การสื่อสาร ฯลฯ