บทสรุปผู้บริหาร
การบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียน บ้านทุ่งหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 มีจุดประสงค์ คือ 1. เพื่อพัฒนารูปแบบ การบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 2. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ การบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียน บ้านทุ่งหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ได้แก่ 2.1 ผู้บริหาร คณะครู ครูโรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนา คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 2.2 ครูสามารถจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.3 นักเรียนของโรงเรียนบ้านทุ่งหลวงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และ 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ด้วยรูปแบบ 7G MODEL มีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1. ผู้บริหาร ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านทุ่งหลวง จำนวน 7 คน 2. ครูเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนา จำนวน 3 คน จากโรงเรียนบ้านสันจกปก โรงเรียน บ้านโพธิ์ทองและโรงเรียนบ้านแม่พริก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 สร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม (7G Model) และกำหนดรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม (7G Model) โดยมีนิยามศัพท์ ดังนี้ G1 : Good Knowledge การสร้างองค์ความรู้ที่ใช้ในการจัดการศึกษา G2 : Good Management การบริหารจัดการในสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล G3 : Good Teacher ครูดี G4 : Good Technology การนำสื่อและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ G5 : Good Evaluation การประเมินผลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล G6 : Good Action ปรับปรุง พัฒนา กระบวนการดำเนินงานให้ดีขึ้น G7 : Good Network การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาการศึกษา
ผลการดำเนินงาน
1. จากการดำเนินงานสร้างและพัฒนารูปแบบ การบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านทุ่งหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 โรงเรียนบ้านทุ่งหลวงได้รูปแบบ 7G Model โดยมี 7 ขั้นตอน ดังนี้ G1 : Good Knowledge การสร้าง องค์ความรู้ที่ใช้ในการจัดการศึกษา G2 : Good Management การบริหารจัดการในสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล G3 : Good Teacher ครูดี G4 : Good Technology การนำสื่อและเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ G5 : Good Evaluation การประเมินผลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล G6 : Good Action ปรับปรุง พัฒนา กระบวนการดำเนินงานให้ดีขึ้น G7 : Good Network การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาการศึกษา
2. ผลการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียน บ้านทุ่งหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ด้วยรูปแบบ 7G Model ส่งผล ดังนี้
2.1 ผู้บริหาร คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการสนับสนุนสถานศึกษาสู่ความสำเร็จส่งผลให้สถานศึกษาได้รับการยอมรับจากหน่วยงานทั้งในและนอกสังกัด ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อกระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านทุ่งหลวง สพป.พะเยาเขต 1 ปีการศึกษา 2566 พบว่า ความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับ มาก
2.2 ครูได้รับการพัฒนาตนเองในการจัดการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 100
2.3 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
ผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านทุ่งหลวง ปีการศึกษา 2564 ปีการศึกษา 2565 และปีการศึกษา 2566 ในระดับโรงเรียน เมื่อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ปีการศึกษา 2566 โดยภาพรวม ระดับโรงเรียนมีผลพัฒนาการ 4 ด้าน สูงที่สุด รองลงมาคือ ปีการศึกษา 2565 และ ปีการศึกษา 2564 ตามลำดับ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียน ร้อยละของผู้เรียนระดับดีขึ้นไป ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2564 ปีการศึกษา 2565 และ ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านทุ่งหลวง เมื่อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ปีการศึกษา 2566 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยร้อยละผู้เรียนระดับดีขึ้นไป สูงที่สุด รองลงมาคือ ปีการศึกษา 2565 และปีการศึกษา 2564 ตามลำดับ
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านทุ่งหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ด้วยรูปแบบ 7G MODEL พบว่า ความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับ มาก