แบบรายงานนวัตกรรม/วิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practices)
ประเภทของนวัตกรรม/วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ การส่งเสริมการอ่าน เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ชื่อเรื่อง อ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนบ้านบรมสุข
ชื่อ-สกุล ผู้บริหารสถานศึกษา ส.ต.ต.หญิงรัตนาพร คงวิริยะศิลป์
1. ความสำคัญของผลงาน หรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
1.1 ความเป็นมาและสภาพปัญหา
โรงเรียนบ้านบรมสุข เป็นโรงเรียนขนาดกลาง จัดการศึกษาในระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2567 มีนักเรียนทั้งหมด 152 คน จากสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ขาดความสนใจในการอ่าน การเขียน และถูกดึงความสนใจจากเวลาว่าง และแบ่งเวลาไปอยู่ที่สื่อต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ ฯลฯ โดยเฉพาะการดูโทรศัพท์สื่อออนไลน์ต่าง ๆ ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน นักเรียนไม่ได้แบ่งเวลาให้ถูกต้องว่าจะทำกิจกรรมด้านการเรียนหรือการพักผ่อน ชอบเล่นแต่โทรศัพท์ ดูโทรทัศน์หรือสื่อออนไลน์ อย่างเดียว ผู้ปกครองส่วนมากก็ไม่มีเวลาที่จะควบคุมดูแลในเรื่องเหล่านี้ เนื่องจากต้องทำมาหากิน แข่งขันกับเศรษฐกิจในยุคที่ข้าวของแพงทำให้ขาดการชักจูง การกระตุ้น และการส่งเสริมด้านการอ่านหนังสือให้กับเด็ก ทำให้ปัจจุบันนี้ มีเด็กที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ อ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง อ่านช้า อ่านไม่เป็น จับใจความไม่ถูก และอ่านคิดวิเคราะห์ไม่เป็น เนื่องจากขาดสมาธิในการอ่านและขาดการฝึกฝนด้านทักษะการอ่านอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
จากสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยที่เกิดขึ้น พบว่า ผู้เรียนขาดความสนใจ ในการอ่าน การเขียน การเรียนในรายวิชาภาษาไทยเพราะคิดว่าเป็นวิชาที่น่าเบื่อ เข้าใจได้ยาก ต้องอาศัยการท่องจำ เช่น กลอน คำราชาศัพท์ และเมื่อท่องแล้วไม่ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
1.2 แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา
ดังนั้นทางโรงเรียนบ้านบรมสุข ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอ่าน การเขียนจึงได้ มอบหมายให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ได้รับผิดชอบจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านการเขียนขึ้น เพื่อพัฒนา และส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้มีทักษะและความสามารถในด้านการอ่าน การเขียน และมีนิสัยรักการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ถือเป็น Best Practice ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่จะส่งผลให้ลูกๆ บรมสุข อ่านออก เขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง มีนิสัยรักการอ่าน เป็นกลไกสำคัญที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รู้จักแสวงหาความรู้จากการอ่าน ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างเด็กและเยาวชนไทย ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับความรู้ ข้อมูลข่าวสาร แนวคิดใหม่ ๆ อันจะเป็นการพัฒนาตนเอง และรู้จักปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยโรงเรียน ได้ดำเนินการแบบมีส่วนร่วมได้ยึดวงจร PDCA ของเดมมิ่ง ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 วัตถุประสงค์
2.1.1 เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริม ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านผ่านกิจกรรมเชิงบูรณาการอย่างหลากหลาย
2.1.2 เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถด้านการอ่านออก เขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยสูงขึ้น
2.1.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนจากการจัดกิจกรรมส่งเสริม รักการอ่านอ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model
2.2 เป้าหมาย
2.2.1 ด้านปริมาณ
1) ครูและนักเรียนร้อยละ 90 ร่วมกิจกรรมส่งเสริมส่งเสริมปลูกฝังนิสัยรักการอ่านผ่านกิจกรรมเชิงบูรณาการได้อย่างหลากหลาย
2) นักเรียนชั้นป. 1 - 6 ร้อยละ 90 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยในรายวิชาภาษาไทยที่สูงขึ้น
3) นักเรียนชั้นป. 1 - 6 ร้อยละ 90 มีความพึงพอใจการจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านอ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model
2.2.2 ด้านคุณภาพ
1) ครูและนักเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริม ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านผ่านกิจกรรมเชิงบูรณาการได้อย่างหลากหลาย
2) นักเรียนชั้นป. 1 - 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยในรายวิชาภาษาไทยที่สูงขึ้น
3) นักเรียนชั้นป. 1 - 6 มีความพึงพอใจการจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านอ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model
3. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม BRMS Model ได้ดำเนินการ ตามขั้นตอน ดังนี้
๑. กระบวนการ PDCA
๑) P = Plan ขั้นตอนการวางแผน
ขั้นตอนการวางแผนและออกแบบสร้างกิจกรรม การจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านและบูรณาการส่งเสริมรักการอ่านสู่ห้องเรียน ตามสภาพปัญหาของการจัดการเรียนรู้ โดยให้เหมาะสมกับผู้เรียนของ โรงเรียนบ้านบรมสุข
๒) D = Do ขั้นตอนการปฏิบัติ
ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนการที่ได้วางไว้ เริ่มจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจมากขึ้น และจัดให้นักเรียนได้บันทึกการอ่าน มีการศึกษาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อนำมาสร้างกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่าน อ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model
๓) C = Check ขั้นตอนการตรวจสอบ
ขั้นตอนการตรวจสอบกิจกรรม การจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่าน อ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน เพื่อให้มีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ และการประเมินผู้เรียนใน ๓ ด้าน คือ ดี พอใช้ ปรับปรุง
๔) A = Action ขั้นตอนการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงานจากการประเมินผล วิเคราะห์ผู้เรียนถึงสภาพปัญหา ข้อบกพร่องหรือ จุดอ่อนที่ควรปรับปรุง และพัฒนาในการจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านอ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้สู่การพัฒนา เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และขยายผลสู่สถานศึกษาใกล้เคียง ตลอดจนพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
กรอบแนวคิด
2. วิธีดำเนินการพัฒนานวัตกรรม
๑. ประชุมผู้บริหารและคณะครู เพื่อหาวิธีการจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านโดยศึกษาและเก็บ รวบรวมข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมที่น่าสนใจ
๒. ผู้บริหารและคณะครูศึกษาเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวในการจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่าน เพื่อนำไปออกแบบแนวทางในการกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่าน
๓. ผู้บริหาร คณะครู ร่วมกันออกแบบแนวทางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่าน แล้วนำเสนอ แนวทางต่อคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อร่วมกันพิจารณา แล้วปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ สถานศึกษา
๔. นำแนวทางที่ผ่านการปรับปรุงแล้ว ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม แล้วปรับปรุง ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
๕. นำแนวทางที่สร้างขึ้นไปใช้กับกลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๖ ปีการศึกษา ๒๕๖6 โรงเรียนบ้านบรมสุข จำนวน 116 คน
อ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model
3.2 การดำเนินงานตามกิจกรรม
ได้แนวทางจากกระบวนการ PDCA ที่มี จำนวน ๔ ขั้นตอน โดยมีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
๑. P = Plan ขั้นตอนการวางแผน
ขั้นตอนการวางแผนและออกแบบสร้างกิจกรรมการจัดการกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านและบูรณาการส่งเสริมรักการอ่านสู่ห้องเรียน ตามสภาพปัญหาของการจัดการเรียนรู้ โดยให้เหมาะสมกับผู้เรียนของโรงเรียนบ้านบรมสุข โดยมี
๑.๑ B : Beginning = จุดเริ่มต้น
การตั้งข้อสันนิษฐาน หรือวัตถุประสงค์เพื่อที่จะหาแนวทางในการแก้ปัญหาของนักเรียน ในการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (คิดเองได้ ทำเองเป็น เน้นสร้างสรรค์นวัตกรรม)
๒. D = Do ขั้นตอนการปฏิบัติ
ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนการที่ได้วางไว้ เริ่มจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจมากขึ้น และจัดให้นักเรียนได้บันทึกการอ่าน มีการศึกษาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยคิดค้นหานวัตกรรมและกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจ และทันสมัยที่เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอน ที่สามารถพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ และสมรรถนะสำคัญ ของผู้เรียน
2.1 M : Management ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูสร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมการอ่านทั้งที่ โรงเรียนและที่บ้าน นักเรียนทุกคนนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ดังนี้
กิจกรรม ทำคำ ให้เป็นเรื่อง นักเรียนจับคู่กับเพื่อนตามความชอบใจ นำคำที่กำหนดให้ 3 -5 คำ หรือภาพที่กำหนดให้ แต่งเรื่องจากคำศัพท์หรือภาพตามข้อตกลงร่วมกัน นำเสนอหน้าชั้นเรียนให้ครบทุกคู่ นำเรื่องที่แต่งไปออกแบบรูปแบบเพื่อนำเสนอตามความถนัด แล้วจัดนิทรรศการแบ่งปันกันอ่าน
กิจกรรม อ่านเป็น จับประเด็นได้ กำหนดให้นักเรียนเลือกหนังสือที่สนใจ อ่านหนังสือสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 1 เล่ม เขียนสาระสำคัญลงในแบบบันทึกการอ่านทุกสัปดาห์ส่งให้ผู้ปกครองรับทราบ ส่งแบบบันทึกการอ่านให้ครูผู้รับผิดชอบติดตาม ความก้าวหน้าในการอ่าน ของนักเรียน
กิจกรรม สนุก สอนอ่าน ผ่าน Tik Tok นักเรียนนำเสนอกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น สอนสะกดคำ รอบรู้คำราชาศัพท์ สุภาษิตน่ารู้ โดยนำเสนอกิจกรรมผ่าน Application Tik Tok ประกอบลีลา ท่าทาง ที่สนุกสนานและเร้าใจ
กิจกรรม จากถัง สู่คลังความรู้ นักเรียนเก็บขยะ เช่น ขวดน้ำเปล่า ซองห่อขนม ฉลากต่างๆ ฯลฯ หลังเลิกเรียน เข้าแถวก่อนกลับบ้าน นักเรียนอ่านคำ ดูวันหมดอายุ อ่านคุณค่าทางโภชนาการ สถานที่ผลิต
กิจกรรม ส่งเสริมการอ่านผ่านเกม รูปแบบต่างๆ เช่น คำคม ปริศนาคำทาย บิงโก โดมิโน โดยนำเกมส่งเสริมการอ่านบูรณาการร่วมกับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และมอบรางวัลแก่ผู้ชนะ
กิจกรรมวางทุกงาน อ่านทุกคน ในเวลา 12.15-12.30 น. หลังสัญญานของ บทกลอนวางทุกงานอ่านทุกคน ให้ทุกคนหยุดทำงาน อ่านทุกคน ทั้งนักเรียนและคุณครู แล้วบันทึกสรุปความรู้ลงในบันทึกการอ่าน และกลับถึงบ้านอ่านให้ผู้ปกครองฟังวันละ 5 นาที
กิจกรรมคัดลายมือ นักเรียนคัดลายมือหลังเลิกเรียน ทุกวันจันทร์ และวันพฤหัสของสัปดาห์ ส่งครูประจำชั้น เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้ผู้เรียนทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และช่วยฝึกการใช้สมาธิ
กิจกรรมบัญชีคำพื้นฐาน นักเรียนฝึกอ่านเขียนคำศัพท์ ก่อนเข้าชั้นเรียนวันละ 20 คำ
๓. C = Check ขั้นตอนการตรวจสอบ
ขั้นตอนการตรวจสอบกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านอ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน เพื่อให้มีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ และการประเมินผู้เรียนใน ๓ ด้าน คือ ดี พอใช้ ปรับปรุง โดยมี
๓.๑ R : Reality = ความเป็นจริง
การประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงในการจัดการเรียนการสอน ในการศึกษาด้วยตนเอง และลงมือปฏิบัติจริง มีการประเมินผลนักเรียนทุกสัปดาห์โดยใช้คำพื้นฐานประเมินทักษะการอ่านเขียนของนักเรียน นำผลของการประเมินมาใช้ในการพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง
๔. A = Action ขั้นตอนการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงานจากการประเมินผล วิเคราะห์ผู้เรียนถึงสภาพปัญหา ข้อบกพร่อง หรือจุดอ่อน ที่ควรปรับปรุง และพัฒนาในการสร้างกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านอ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้สู่การพัฒนา เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และขยายผลสู่สถานศึกษาใกล้เคียง ตลอดจนพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
๔.๑ S : Show-Skill = แสดงศักยภาพ โดยโรงเรียนเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงแสดงศักยภาพทางด้านทักษะการใช้ภาษาและการสื่อสาร นำเสนอโครงการส่งเสริมการอ่านหน้าเสาธง
หลังจากเสร็จสิ้นแต่ละกิจกรรม จะให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพ โดยโรงเรียนเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงแสดงศักยภาพทางด้านทักษะการใช้ภาษาและการสื่อสาร นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมการอ่านหน้าเสาธง มีการประเมินผลนักเรียนทุกสัปดาห์ โดยใช้คำพื้นฐานประเมินทักษะการอ่านเขียนของนักเรียน นำผลของการประเมินมาใช้ในการพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง และคณะครูรายงานผลทุกสิ้นเดือน
3.3 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
ขั้นตอนในการพัฒนาผลงานหรือนวัตกรรม อ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model พบว่านักเรียนเกิดทักษะทางการอ่าน การเขียน และนิสัยรักการอ่านผ่านกิจกรรมเชิงบูรณาการได้อย่างหลากหลาย สามารถนำวิธีกาในการดำเนินงานไปใช้เป็นแหล่งข้อมูลใน การศึกษาและใช้เป็นแนวทางการพัฒนาหรือ เป็นฐานข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติมที่จะนำไปสู่การพัฒนาการต่อยอด การแสวงหาองค์ความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
4. ผลการดำเนินการ/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
4.1.1 ครูและนักเรียนร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริม ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านผ่านกิจกรรมเชิงบูรณาการได้อย่างหลากหลาย
4.1.2 นักเรียนชั้นป. 1 - 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยในรายวิชาภาษาไทยสูงขึ้น
4.1.3 นักเรียนชั้นป. 1 - 6 มีความพึงพอใจการจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านอ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model อยู่ในระดับ มาก (4.24)
4.2 ประโยชน์ที่ได้รับ
4.2.1 ครูมีแนวทางและได้ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริม ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านผ่านกิจกรรมเชิงบูรณาการ ได้อย่างหลากหลาย
4.2.2 นักเรียนได้ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริม ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านผ่านกิจกรรมเชิงบูรณาการได้อย่างหลากหลาย
4.2.3 นักเรียนมีความพึงพอใจการจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านอ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model
4.2.4 นักเรียนชั้นป. 1 - 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยในรายวิชาภาษาไทยสูงขึ้น
4.2.5. ครูผู้สอนมีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีการนำเทคนิควิธีการสอนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันภายในสถานศึกษา เช่น การเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน การได้รับคำแนะนำ และการช่วยเหลือต่าง ๆ จากเพื่อนครู การอบรมการใช้แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียน การสอน เป็นต้น
4.2.6 สถานศึกษาสามารถนำผลที่ได้จากการพัฒนามาปรับปรุง วางแนวทางการพัฒนาโรงเรียน ให้เป็นไป ในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น และได้รับการยอมรับในด้านการจัดการเรียนการสอนจากผู้ปกครองและชุมชน
5. ปัจจัยความสำเร็จ
5.1 สิ่งที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ
ผู้บริหาร ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านบรมสุข
เป็นแรงขับเคลื่อนในการดำเนินการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการอ่านและการเขียน มีการปรึกษา ประชุมและวางแผนการร่วมกิจกรรมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มีการสนับสนุนด้านสื่อ อุปกรณ์ งบประมาณบางส่วนในการจัดกิจกรรมพัฒนาด้านการอ่านการเขียนของนักเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และยังมีการนิเทศติดตาม ประเมินผลทุกภาคเรียนเพื่อนำผลมาถอดบทเรียนและ วางแผนร่วมกันในภาคเรียนต่อไป ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เครือข่ายผู้ปกครอง
ผู้ปกครอง มีการสนับสนุนและมีการเข้าร่วมประชุมวางแผนในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ที่แก้ไขปัญหา นักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ มีการเข้าร่วมพูดคุยและหาแนวทางแก้ไข รวมไปถึงรับทราบแนวทางในการปฏิบัติ และให้ความร่วมมือกับคุณครูอย่างเต็ม เปรียบเสมือนผู้ปกครองเป็นครูคนที่ 2 ของเด็กๆ เมื่อเด็กๆเลิกโรงเรียนกลับถึงบ้าน ผู้ปกครองจะต้องใส่ใจเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษต้องได้ใกล้ชิด เห็นพัฒนาการของเด็กๆ และผู้ปกครองมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ใส่ใจในการพัฒนาพร้อมๆกับคุณครูเป็นอย่างมาก ทำให้การดำเนินงานพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการอ่านเป็นไป อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
6. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
6.1 การนำผลงานไปใช้
การจัดกิจกรรม อ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model เกิดบทเรียนที่ได้รับ ดังนี้
6.1.1 การจัดกิจกรรมอ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ กับนักเรียน นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานร่วมกัน นักเรียนสามารถยอมรับ ความสามารถของแต่ละบุคคลที่มีความแตกต่างกัน
6.1.2 นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในการฝึกทักษะต่าง ๆ เช่น ด้านภาษาไทย การอ่าน การฟังและ การพูด การเขียน โดยนำองค์ความรู้ที่เกิดจากตนเองที่ได้จากการค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่หลากหลาย
6.1.3 บรรยากาศในห้องเรียนเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ ไม่ต้องมาฟังครูบรรยายเพียงอย่างเดียวครูสามารถนำความรู้และประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับนักเรียนจนเกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ
7.การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
7.1 การเผยแพร่
7.1.1 หลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินงานการจัดกิจกรรมอ่านทุกวัน ทุกวัย สร้างนิสัยรักการอ่าน ด้วย BRMS Model โรงเรียนบ้านบรมสุข ได้ทำการเผยแพร่ผลงานด้วยการเผยแพร่ไปยังโรงเรียนต่างๆในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 และได้เผยแพร่โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ของโรงเรียน และ Line กลุ่มผู้ปกครองนักเรียนและศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านบรมสุข Facebook โรงเรียน
7.2 การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
7.2.1 การได้รับการยอมรับ
1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบรมสุข สอบได้คะแนนเต็ม 100 คะแนนจากการสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ(NT) ปีการศึกษา 2566 วิชาภาษาไทย จำนวน 3 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านบรมสุข สอบได้คะแนนเต็ม 100 คะแนนจากการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) จำนวน 2 คน ซึ่งเป็นครั้งแรก ของโรงเรียนบ้านบรมสุข ที่นักเรียนสามารถทำได้ เป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนและผู้ปกครอง มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งต่อผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน
2) ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษา และนำบุตรหลานเข้ามาเรียนที่โรงเรียนมากขึ้น ตลอดจนสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของโรงเรียนและให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในทุก ๆ ด้าน
7.2.2 รางวัลที่ได้รับ
1. เป็นสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนได้คะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2566 วิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ
2. โรงเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2566
3. โรงเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ จากการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2566
4. โรงเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศจากการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566
5. โรงเรียนที่นักเรียนสอบได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน จากการประเมินความสามารถ ด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566
6. โรงเรียนที่นักเรียนสอบได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน จากการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2566
7. โรงเรียนที่มีผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม ตามโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ปีการศึกษา 2566
8. เป็นสถานศึกษาที่มีผลการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียนชั้น ป.1 - 6 ระดับ ดีเยี่ยม ตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวทางการเรียนรู้วิถีใหม่อ่านออกเขียนได้ผ่านห้องเรียนมีชีวิตสู่นิสัยรักการอ่าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
9. โรงเรียนรางวัลระดับคุณภาพดีเยี่ยม ประเภทโรงเรียนขนาดกลาง ด้านที่ 3 หนึ่งนักเรียน หนึ่งอาชีพ : มีงานทำมีอาชีพ การประกวดโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice)การน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติประจำปี 2566 ระดับเขตพื้นที่
10. โรงเรียนที่มีผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment Online : ITA Online)
11. เป็นสถานศึกษาที่ได้รับประกาศให้ผ่านการประเมินตราพระราชทาน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ปีการศึกษา 2566 - 2568
12. โรงเรียนบ้านบรมสุข ได้รับการประกันคุณภาพภายนอก (พ.ศ.2566-2570) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) การศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2566
13. โรงเรียนบ้านบรมสุข ได้รับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ.(OBEC AWARDS) ชนะเลิศ เหรียญทอง สถานศึกษายอดเยี่ยม ประเภท ประถมศึกษาขนาดกลาง ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน โครงการประกวดหน่วยงานและผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ครั้งที่ 12 ปีการศึกษา 2565-2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
14. โรงเรียนบ้านบรมสุข ได้รับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ.(OBEC AWARDS) ระดับเหรียญทอง สถานศึกษายอดเยี่ยม ประเภท ประถมศึกษาขนาดกลาง ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน โครงการประกวดหน่วยงานและผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ครั้งที่ 12 ปีการศึกษา 2565 - 2566 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น