๑. ความสำคัญของผลงานนวัตกรรม
๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การดำเนินงานเพื่อสืบสานพระราชปณิธานเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เกี่ยวกับนักเรียนและครู ความว่า ครูต้อง สอนให้เด็กนักเรียนมีน้ำใจ เช่น คนเรียนเก่งช่วยติวเพื่อนที่เรียนล้าหลัง มิใช่สอนให้เด็กคิดแต่จะแข่งขันกับ เพื่อน ครูต้องมุ่งปลูกฝังความดีให้นักเรียน จะต้องอบรมเด็กทั้งในด้านจริยธรรมจรรยา และวัฒนธรรม รวมทั้งให้มีความสำนึกรับผิดชอบ ดังเช่น นพ.เกษม กล่าวว่า ตลอดรัชสมัย ๗๐ ปีในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรง เน้นย้ำเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดมั่นในหน้าที่ ในด้านการศึกษาได้พระราชทานพระราชดำรัส พระบรม
ราโชบายไว้มากมาย ทรงย้ำว่า ประเทศชาติของเราจะเจริญหรือเสื่อมลงนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของ ประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญ การศึกษาอบรมในวันนี้จะเป็นเครื่องกำหนดอนาคตของชาติในวันหน้า เพราะฉะนั้น การอบรมและสั่งสอนของครูจะต้องแยกกัน คือ สอนวิชาการให้เด็กมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน รู้ เฉพาะทาง ขณะเดียวกันต้องปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมไทย มารยาทไทย ความรับผิดชอบต่อ หน้าที่และการเป็นพลเมืองดีซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญเปรียบกับรากแก้วของต้นไม้ที่จะเกาะยึดให้ต้นไม้เติบโต มั่นคง ทั้งนี้ พระองค์ทรงเน้นย้ำเรื่องคุณธรรมอย่างมาก และตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ซึ่งมีพระราชกระแสรับสั่งให้ ช่วยสร้างคนดีให้ บ้านเมืองการเป็นพลเมืองดี หมายถึง การมีน้ำใจ มีความเอื้ออาทร ต้องทำงานอาสาสมัคร งานบำเพ็ญ ประโยชน์ เห็นอะไรที่จะทำเพื่อบ้านเมืองได้ก็ต้องทำ จากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร แด่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ตามคำพ่อสอน ความรู้ตน ความว่า การรู้ตัวอยู่เสมอ จะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้วจะสามารถเล่าเรียน และทำการงานต่าง ๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็วจะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญให้แก่ตนเอง แก่ ส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน ยุคดิจิทัลเป็นยุคที่สะท้อนสภาวะของความไว เร็ว และแรง ดิจิทัลจึงเป็นภาพสะท้อน คุณสมบัติของเยาวชนในสังคมไทยยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นผู้ที่คิดไว และทำไว การตัดสินใจ หรือการแสดงออกที่ รวดเร็ว คล่องแคล่ว และว่องไว ใจเร็ว ด่วนได้ รอสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน การสนองความต้องการจึงต้อง เป็นไปด้วยความรวดเร็ว นอกจากนี้พฤติกรรมการแสดงออกจึงเป็นไปด้วยความรุนแรง ก้าวร้าว ขาดจิตวิญญาณของการตระหนักรู้และไม่ใส่ใจความรู้สึกนึกคิดของผู้คนที่อยู่รอบข้าง อันเนื่องมาจากการมีปฏิสัมพันธ์เทคโนโลยีที่ขาดจิตวิญญาณ นักเรียนขาดคุณธรรม จริยธรรม มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ครูผู้สอนขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มี คุณธรรม จริยธรรม ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมีความสนใจที่จะศึกษาพัฒนานวัตกรรม เรื่อง วงล้อแห่งธรรมกับการจัดการเรียนรู้ ตามกรอบคิดการเรียนรู้ที่มีสติและสมาธิเป็นฐาน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โดยนำหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา และเบญจธรรมเชื่อมโยงเข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน นำไปบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ เช่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นต้น เพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพที่มีการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ทำให้เกิดความน่าสนใจต่อการเรียนของนักเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สร้างภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต และสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข ตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีที่เน้นให้เยาวชนเป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน และมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคม และผู้อื่น มัธยัสถ์อดออม โอบอ้อมอารีมีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติอย่างยั่งยืนต่อไป
๑.๒ แนวคิดหลักการสำคัญ
การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีความสำคัญอย่างมากในการเรียนเพราะเป็นพื้นฐานการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ด้านกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นในรูปของการปฏิบัติ Active Learning นักเรียนได้ฝึกอ่าน เขียน อย่างสม่ำเสมอ และมีนวัตกรรมอย่างหลากหลาย และมีความเหมาะสมกับวัย มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้การจัดการเรียนการสอนจะสัมฤทธิ์ผลต้องมีการสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม นักเรียน ควบคู่ไปด้วยดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้นำ วงล้อแห่งธรรมมาบรูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน ตามกรอบคิดการเรียนรู้ที่มีสติและสมาธิเป็นฐาน เป็นลักษณะของการพัฒนาทักษะชีวิตที่ใช้หลักธรรมมาเป็นฐานในการเรียนรู้ แนวทางการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ชัดเจน สนุกสนาน ให้ เด็ก ๆ ได้ใช้กระบวนการคิดระดับสูงที่สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมในการละอายชั่วกลัวบาป เป็นผู้มีเบญจศีล เบญจธรรมในตน ธำรงความเป็นคนไทยที่เป็นกำลัง สำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของคนไทย ๔.๐ ที่สามารถสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืนให้กับประเทศ ตามเป้าหมายของมาตรฐานของชาติที่กำหนดไว้ ด้านกระบวนการเรียนการสอน สามารถนำมาบูรณาการร่วมกับโครงงานคุณธรรม สพฐ. โดยผ่านกระบวนการทั้งหมด ๖ ขั้นตอนของการเรียนรู้ สาระสำคัญของกระบวนการทั้ง ๖ ขั้นนั้น เน้นการมีสติ ดูกายใจ โดยในกิจกรรมการ เรียนการสอนใช้รูปแบบของการเน้น ตัวรู้ ให้สัมพันธ์กับความรู้โดยการใช้สติและสมาธิเป็นฐานควบคู่ไป กับการใช้คำถามสะท้อนคิด (Reflection) ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย มีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ฝึกทักษะ ชีวิตและการคิดที่จำเป็น เช่น การทำงานเป็นกลุ่ม แบ่งความรับผิดชอบเพื่อแสวงหาความรู้ให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือข้อค้นพบต่าง ๆ ด้วยตนเองและกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีการอภิปราย แสดงความคิดเห็นกันภายในกลุ่มบนพื้นฐานของข้อมูลที่ตนเองค้นพบด้วยเหตุผล อย่างมั่นใจเพื่อสรุปเป็นความรู้ของกลุ่ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ค้นพบและรู้จักคุณค่าในตนเอง อันจะช่วยให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น เป็นการพัฒนาทั้งบุคลิก พฤติกรรม จิตใจและปัญญา เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
๒. จุดประสงค์และเป้าหมาย
๒.๑ จุดประสงค์
๒.๑.๑ เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตาม สถานศึกษากำหนด
๒.๑.๒ เพื่อสร้างสร้างภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตให้กับนักเรียนโดยนำหลักคำสอนใน พระพุทธศาสนา เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา และเบญจธรรมเชื่อมโยงเข้ากับการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมี ความสุข
๒.๑.๓ เพื่อส่งเสริมให้ครูใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้วงล้อแห่งธรรม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน และเป็นผู้นำด้านการจัดการเรียนรู้
๒.๒ เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
๒.๒.๑ นักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดหนองตำลึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๔ ร้อยละ ๘๐ มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒.๒.๒ นักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดหนองตำลึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๔ ร้อยละ ๘๐ มีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตโดยนำหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา
และเบญจธรรม มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
๒.๒.๓ ครูใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้วงล้อแห่งธรรม ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน และเป็นผู้นำด้านการจัดการเรียนรู้
เชิงคุณภาพ
- นักเรียนเกิดคุณลักษณะ หรือคุณธรรมหลักที่พึงประสงค์ ได้แก่ สติ เมตตา สุจริต เคารพ และสัจจะ ซึ่งเป็นหลักเบญจธรรมและมี ตัวรู้ หรือ สติเป็นภูมิคุ้มกัน ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งยั่วยุที่เข้ามากระทบ สามารถใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติสุขในสังคมยุคดิจิทัล