ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รูปแบบการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดยใช้ ADOR Model

1. ที่มาและความสำคัญของรูปแบบ

ปัจจุบันปัญหาคอร์รัปชั่นถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่ด้อยพัฒนา และการคอร์รัปชั่นได้กลายมาเป็นปัญหาที่มีความสำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของหลายประเทศ โดยปัญหานี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะหมดไป อีกทั้งยังทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าหลายประเทศได้ก้าวเข้าสู่ความทันสมัย มีระบบการบริหารราชการสมัยใหม่มีการณณรงค์จากองค์กรของรัฐหรือองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่ต่างเห็นพ้องกันว่าการคอรัปชั่นเป็นปัญหาที่นำไปสู่ความยากจน และเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการพัฒนาอย่างแท้จริง สำหรับประเทศไทยนั้น เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าปัญหาเรื่องการคอรัปชั่นเป็นปัญหาสำคัญลำดับต้น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นมาช้านานจนฝังรากลึกและพบเกือบทุกกลุ่มอาชีพในสังคมไทย เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน หรือกล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยไปแล้ว ดังนั้นจึงควรมีการศึกษารวบรวมข้อมูล องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นในประเทศไทย ในอนาคตต่อไป (ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต 2561 : 10)

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ยุทธศาสตร์ชาติที่ 1 “สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต” ได้ 3 มุ่งเน้นให้ความสำคัญกระบวนการปรับสภาพสังคมให้เกิดภาวะที่ “ไม่ทนต่อการทุจริต” โดยเริ่มตั้งแต่ กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมในทุกระดับช่วงวัย (ตั้งแต่ปฐมวัย ถึงระดับอุดมศึกษา) เพื่อสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริตและปลูกฝังความพอเพียงมีวินัยซื่อสัตย์สุจริต และมีจิตสาธารณะ ซึ่งเป็นคุณธรรมจริยธรรม ป้องกันการทุจริต ยึดประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เป็นการดำเนินการผ่านสถาบัน หรือกลุ่มตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการกล่อมเกลาสังคมให้มีความเป็นพลเมืองที่ดี มีจิตสาธารณะ เสียสละเพื่อส่วนรวม และเสริมสร้างให้ทุกภาคส่วนมีพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับและต่อต้านการทุจริตในทุกรูปแบบ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2561 : 4)

โรงเรียนน้ำโสมประชาสรรค์(ถิรธัมโมอุปถัมภ์)จึงเล็งเห็นว่าควรมีการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ลงมือกระทำ ผ่านการเผชิญกับสถานการณ์ตัวอย่างของการป้องกันการทุจริต เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและนำไปสู่การเกิดคุณลักษณะของโรงเรียนสุจริต

ทางโรงเรียนได้ทำการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เพื่อพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของโรงเรียนน้ำโสมประชาสรรค์(ถิรธัมโมอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2566 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรศึกษาเอกสารหลักสูตรต้านทุจริตของ ป.ป.ช. และ สพฐ.ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา และบริบทนักเรียนและครู มีการประกาศใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ในการออกแบบนวัตกรรม รูปแบบการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตของโรงเรียนน้ำโสมประชาสรรค์(ถิรธัมโมอุปถัมภ์) โดยใช้รูปแบบ ADOR Model และทางคณะกรรมการบริหารหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาได้ประเมินหลักสูตร โดยใช้รูปแบบ CIPP Model (ศิริชัย กาญจนวาสี. 2550 : 15)

2. แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ

๒.๑ รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของทาบา (Taba)

ทาบา (Taba. 1962 : 12 อ้างใน มารุต พัฒผล. 2562 : 6-7) มีแนวคิดว่าหลักสูตรคือแผนสำหรับการเรียนรู้ (Plan for Learning) ที่จะเป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาผู้เรียนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่เรียกว่าวิธีการจากล่างสู่บน (Grass-RootsApproadh) เป็นการพัฒนาหลักสูตรจากระดับปฏิบัติ แล้วเสนอขึ้นไปสู่กระดับผู้บริหาร ทาบา กล่าวว่าครูเป็นผู้นำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ จึงควรเป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร มีวิธีการขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรคล้ายรูปแบบของไทเลอร์ ซึ่งประกอบด้วย 7 ขั้นตอน

๒.๒ การจัดการเรียนการสอนเชิงรุก Active Learning

Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการคือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์ และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ (receive) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ (co-creators) (Bonwell. 1991)

๒.๓ แนวคิดและทฤษฎีการบริหารแบบมีส่วนร่วม

เคท เดวิส (Keith Davis. 1972 : 12) แนวคิดการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับพนักงาน ในฐานะที่เป็นทรัพยากรที่สำคัญ และควรค่าแก่การดูแลรักษาขององค์การเป็นอย่างยิ่ง และเปิดโอกาสให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร และจัดการองค์การ ซึ่งแนวคิดนี้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และสภาวการณ์ปัจจุบัน และองค์การต่างให้การยอมรับ และนำมาประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ แนวคิดการจัดการแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องต่าง ๆ ในองค์การ ได้แก่ เรื่องการตัดสินใจ การสื่อสารข้อมูล การกำหนดระบบการให้รางวัลและการเสริมสร้างทักษะและพัฒนาความรู้ ความสามารถ โดยให้สมาชิกทุกคนในองค์การเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดหรือแสดงความคิดเห็นและความต้องการของตนในเรื่องต่าง ๆ

๒.๔ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพครู

กานต์ อัมพานนท์ (2560. : 25) การพัฒนาศักยภาพครู คือ การดำเนินงานที่พยายามจะเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ ความสามารถมีทักษะในการสอนและการทำงาน มีเจตคติที่ดีในการทำงานและต่อวิชาชีพครู รวมถึงมีบุคลิกภาพและคุณธรรมของความเป็นครูที่ดี หลักการพัฒนาโดยทั่วไปจะมุ่งเน้นที่พัฒนาบุคคล ความครอบคลุม ความต่อเนื่อง การขจัดความด้อยและความมั่นคงถาวร จากหลักการดังกล่าวนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาครูหรือพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานต่างๆ

๒.๕ การวิจัยและพัฒนา

สุวิทย์ ภาณุจารี (2563 : 12)การวิจัยและพัฒนา คือวิจัยที่มีลักษณะของการผสมผสานโดยใช้กระบวนการขั้นตอนการวิจัยเชิงสำรวจ วิจัยเชิงทดลอง วิจัยเชิงคุณภาพ วิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงประเมินกับกระบวนการพัฒนาเข้าด้วยกันเพื่อสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมที่อาจเป็นหลักการ แนวคิด หรือทฤษฎี เป็นแนวทาง วิธีปฏิบัติ วิธีการ หรือกระบวนการเป็นระบบปฏิบัติ หรือรูปแบบ หรือเป็นผลผลิตหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แล้วจึงนำไปเผยแพร่เพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

รูปแบบการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดยใช้ ADOR Model

1. หลักการ

รูปแบบการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดยใช้ ADOR Model เป็นรูปแบบการการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของโรงเรียนน้ำโสมประชาสรรค์(ถิรธัมโมอุปถัมภ์) ซึ่งใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในการออกแบบรูปแบบการขับเคลื่อน มีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตร 2) การพัฒนาการเรียนการสอน 3) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร และ4) การบริหารแบบมีส่วนร่วม ซึ่งผู้จัดทำได้นำอักษรเริ่มต้นจากศัพท์ภาษาอังกฤษมาตั้งชื่อเป็น ADOR Model ซึ่งมาความหมายดังนี้

Analysis คือ การวิเคราะห์สภาพปัญหาปัจจุบันความต้องการของโรงเรียน

Develop คือ การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาป้องกันการทุจริต

Observer คือ การนิเทศ สังเกตการ กำกับ ติดตาม กิจกรรมการเรียนการสอน เ

Reflect คือ การประเมินผลการดำเนินงานจาก ผลลัพธ์ของนักเรียน ทั้งด้านคุณลักษณะ 5 ประการ

2. วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต ของนักเรียนโรงเรียนน้ำโสมประชาสรรค์(ถิรธัมโมอุปถัมภ์)

2. เพื่อพัฒนาคุณลักษณะ ๕ ประการ โรงเรียนสุจริต ของนักเรียนโรงเรียนน้ำโสมประชาสรรค์(ถิรธัมโมอุปถัมภ์)

3. องค์ประกอบของรูปแบบ

๑. Analysis คือ การวิเคราะห์สภาพปัญหาปัจจุบันความต้องการของโรงเรียนประกอบด้วยกับการวิเคราะห์บริบทของชุมชน และสภาพปัญหาของนักเรียนในแต่ละระดับชั้น เพื่อตั้งเป้าหมายและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนได้ตรงกับบริบทโรงเรียน

2. Develop คือ การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาป้องกันการทุจริต ที่เน้นนักเรียนได้ลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวเอง โดยคำนึงถึงพัฒนาการและบริบทของนักเรียนในแต่ละชั้น ซึ่งในขั้นการออกแบบนี้ยังใช้ ADOR Model ในการออกแบบ ซึ่งเริ่มจากการ analysis คือ วิเคราะห์นักเรียนรายบุคคลและภาพรวม develop คือ ออกกิจกรรม/แผนการสอน observer คือ สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนรายบุคคลและภาพรวม reflect คือ ประเมินคุณลักษณะ 5 ประการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายบุคคล

3. Observer คือ การนิเทศ สังเกตการ กำกับ ติดตาม กิจกรรมการเรียนการสอน เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

4. Reflect คือ การประเมินผลการดำเนินงานจาก ผลลัพธ์ของนักเรียน ทั้งด้านคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการป้องกันการทุจริต ผลการนิเทศติดตาม และนำผลที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป

4. กระบวนการ

1. ขั้นเตรียม

1. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ประชุมครูเพื่อชี้แจงรูปแบบการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

2. จัดอบรมครู แนวทางขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดยใช้รูปแบบ ADOR Model

3. จัดเตรียมเอกสารทุกชนิดไว้ให้ค้นคว้าและอ่านประกอบ ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้และแนวทางขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดยใช้รูปแบบ ADOR Model

4. ประชาสัมพันธ์แนวทางการใช้รูปแบบ ADOR Model ขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ ผ่านช่องทางต่าง ๆ

๕. จัดทำคำสั่งมอบหมายให้ครูนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้แต่ละระดับชั้นเรียน

6. กำหนดรหัสวิชา การป้องกันการทุจริต รายวิชา (เพิ่มเติม) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

2. ขั้นดำเนินการ

การใช้ขั้นตอน ADOR ในการพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนการสอนวิชา การป้องกันการทุจริต ให้มีประสิทธิภาพ โดยช่วยให้ครูสามารถปรับปรุงวิธีการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคนและบริบทของห้องเรียนได้อย่างต่อเนื่อง มีขั้นตอนดังนี้

2.1 Analysis การวิเคราะห์สภาพปัญหาปัจจุบันความต้องการของโรงเรียนประกอบด้วยกับการวิเคราะห์บริบทของชุมชน และสภาพปัญหาของนักเรียนในแต่ละระดับชั้น เพื่อตั้งเป้าหมายและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนได้ตรงกับบริบทโรงเรียน

ระบุปัญหา: หาจุดที่ต้องการปรับปรุงในชั้นเรียน เช่น นักเรียนขาดความสนใจในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง นักเรียนไม่เข้าใจเนื้อหา หรือการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนไม่สอดคล้องกับความสนใจของนักเรียน

ตั้งคำถามการพัฒนา: กำหนดคำถามที่ชัดเจน เช่น "จะทำอย่างไรให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต เพิ่มมากขึ้น"

ศึกษาค้นคว้า: กำหนดวิธีการสอนใหม่ๆ เช่น การใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย การจัดกิจกรรมกลุ่ม หรือการนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบที่น่าสนใจ

เลือกเครื่องมือ: เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมในการเก็บข้อมูล เช่น เทคนิคการ swot การแบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน แบบประเมินความพึงพอใจ แบบสอบถามความคิดเห็น

2.2 Develop คือ การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาป้องกันการทุจริต ที่เน้นนักเรียนได้ลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวเอง โดยคำนึงถึงพัฒนาการและบริบทของนักเรียนในแต่ละชั้น ซึ่งในขั้นการออกแบบนี้ยังใช้ ADOR Model ในการออกแบบ ซึ่งเริ่มจากการ analysis คือ วิเคราะห์นักเรียนรายบุคคลและภาพรวม develop คือ ออกกิจกรรม/แผนการสอน observer คือ สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนรายบุคคลและภาพรวม reflect คือ ประเมินคุณลักษณะ 5 ประการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายบุคคล

ดำเนินการตามแผน: นำวิธีการสอนใหม่ที่วางแผนไว้ไปใช้ในชั้นเรียน

เก็บรวบรวมข้อมูล: เก็บข้อมูลตามเครื่องมือที่เลือกไว้ เช่น สังเกตพฤติกรรมนักเรียนระหว่างเรียน บันทึกความคิดเห็นของนักเรียน

2.3 Observer คือ การนิเทศ สังเกตการ กำกับ ติดตาม กิจกรรมการเรียนการสอน เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น: วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ เช่น นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้นหรือไม่ ผลการเรียนดีขึ้นหรือไม่

เปรียบเทียบผลลัพธ์: เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้กับเป้าหมายที่ตั้งไว้

2.4 Reflect คือ การประเมินผลการดำเนินงานจาก ผลลัพธ์ของนักเรียน ทั้งด้านคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการป้องกันการทุจริต ผลการนิเทศติดตาม และนำผลที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป

วิเคราะห์เชิงลึก: วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดผลลัพธ์เช่นนั้น

สรุปผล: สรุปผลการดำเนินการ

วางแผนการดำเนินการต่อไป: ปรับปรุงแผนการสอนในครั้งต่อไป

3. ขั้นนิเทศติดตามผล

3.1 Analysis วิเคราะห์สภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอน swot

กำหนดปัญหา: ระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ครูขาดทักษะในการใช้เทคโนโลยี หรือสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ไม่เอื้ออำนวย

ตั้งคำถามการพัฒนา: กำหนดคำถามที่ชัดเจน เช่น "จะทำอย่างไรให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในวิชา การป้องกันการทุจริต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มขึ้น"

วางแผนการดำเนินการ: กำหนดกิจกรรมในการนิเทศ เช่น การสังเกตการสอน การสัมภาษณ์ครูและนักเรียน การวิเคราะห์ผลการเรียน

เลือกเครื่องมือ: เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมในการเก็บข้อมูล เช่น เทคนิคการ swot การแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน

3.2 Develop พัฒนารูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การนิเทศแบบรายบุคคล (Individual Supervision) การนิเทศแบบกลุ่ม (Group Supervision) การนิเทศแบบร่วมมือ (Collaborative Supervision) การนิเทศเชิงปฏิบัติการ (Action Research Supervision) ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและสภาพบริบทที่วิเคราะห์ได้จากขั้น Analysis

ดำเนินการตามแผน: ดำเนินกิจกรรมที่วางแผนไว้ เช่น เข้าเยี่ยม ชมห้องเรียน สังเกตการสอน จัดอบรมครู

เก็บรวบรวมข้อมูล: เก็บรวบรวมข้อมูลตามเครื่องมือที่เลือกไว้

3.3 Observer การนิเทศ กำกับ ติดตาม การจัดกิจการการเรียนการสอน

วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น: วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม เพื่อดูแนวโน้มและปัญหาที่เกิดขึ้น

เปรียบเทียบผลลัพธ์: เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้กับเป้าหมายที่ตั้งไว้

3.4 Reflect การสะท้อนผลการจัดการเรียนการสอน

สรุปผล: สรุปผลการนิเทศ

วางแผนการดำเนินการต่อไป: วางแผนกิจกรรมในการนิเทศรอบต่อไป เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป

4. ขั้นประเมิน

๑. ทำการประเมินระดับชั้นเรียน โดยมีการประเมินคุณลักษณะ 5 ประการได้แก่ 1) กระบวนการคิด 2) ความมีวินัย 3) ความซื่อสัตย์ 4) อยู่อย่างพอเพียง และ5) มีจิตสาธารณะ

2. ทำการประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต

3. ทำการสรุปผลประเมินและสะท้อนผลที่ได้จากการใช้รูปแบบเพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น

โพสต์โดย per : [7 ก.ย. 2567 (14:18 น.)]
อ่าน [31] ไอพี : 1.47.132.241
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 10,188 ครั้ง
27ก.ย.2555 Google ครบรอบ 14 ปีกูเกิล Search Engine
27ก.ย.2555 Google ครบรอบ 14 ปีกูเกิล Search Engine

เปิดอ่าน 9,606 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์
ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์

เปิดอ่าน 110,888 ครั้ง
อักษรไทย ภาษาไทย รูปแบบการเขียนตัวอักษร แบบอักษรไทย
อักษรไทย ภาษาไทย รูปแบบการเขียนตัวอักษร แบบอักษรไทย

เปิดอ่าน 13,629 ครั้ง
เคล็ดลับคั้นมะนาวให้ได้น้ำมาก
เคล็ดลับคั้นมะนาวให้ได้น้ำมาก

เปิดอ่าน 14,649 ครั้ง
"ข้าวกล้องงอก" ช่วยให้อารมณ์ดี
"ข้าวกล้องงอก" ช่วยให้อารมณ์ดี

เปิดอ่าน 1,199 ครั้ง
ไขมันในร่างกาย
ไขมันในร่างกาย

เปิดอ่าน 16,129 ครั้ง
ยอดวิวเยอะมาก รายการ "ดูให้รู้ ตอน คุณครูฮาร์ดคอร์"
ยอดวิวเยอะมาก รายการ "ดูให้รู้ ตอน คุณครูฮาร์ดคอร์"

เปิดอ่าน 34,761 ครั้ง
ขิงแก้ผมร่วง
ขิงแก้ผมร่วง

เปิดอ่าน 34,671 ครั้ง
วิวัฒนาการความคิดทางการศึกษา
วิวัฒนาการความคิดทางการศึกษา

เปิดอ่าน 12,724 ครั้ง
จ้ำม่ำอย่างไร? ลูกถึงแข็งแรง
จ้ำม่ำอย่างไร? ลูกถึงแข็งแรง

เปิดอ่าน 13,306 ครั้ง
ตูนส์ศึกษา "นโยบายไปทาง..ปฏิบัติไปทาง..สุดท้ายปฏิวัติเสียของ"
ตูนส์ศึกษา "นโยบายไปทาง..ปฏิบัติไปทาง..สุดท้ายปฏิวัติเสียของ"

เปิดอ่าน 1,460 ครั้ง
Computer Graphic คืออะไร
Computer Graphic คืออะไร

เปิดอ่าน 54,628 ครั้ง
ที่มาของ "กรุงเทพมหานคร" และ "บางกอก"
ที่มาของ "กรุงเทพมหานคร" และ "บางกอก"

เปิดอ่าน 19,262 ครั้ง
10 อันดับเมืองที่มลพิษมากที่สุดในโลก
10 อันดับเมืองที่มลพิษมากที่สุดในโลก

เปิดอ่าน 23,725 ครั้ง
มาตรฐานรูปแบบการนำเสนอภาพ
มาตรฐานรูปแบบการนำเสนอภาพ

เปิดอ่าน 13,695 ครั้ง
8 กลเม็ดใช้ชีวิตปลอดหนี้!!!...
8 กลเม็ดใช้ชีวิตปลอดหนี้!!!...
เปิดอ่าน 40,824 ครั้ง
หลักสูตรอบรม e-Trainning ผ่านระบบ GURU online
หลักสูตรอบรม e-Trainning ผ่านระบบ GURU online
เปิดอ่าน 1,658 ครั้ง
4 จุดภายในบ้าน ที่ควรตรวจสอบ ป้องกันผู้สูงวัยลื่นล้ม เสี่ยงอันตราย
4 จุดภายในบ้าน ที่ควรตรวจสอบ ป้องกันผู้สูงวัยลื่นล้ม เสี่ยงอันตราย
เปิดอ่าน 22,620 ครั้ง
ถาม - ตอบ เพื่อสุขภาพ
ถาม - ตอบ เพื่อสุขภาพ
เปิดอ่าน 4,184 ครั้ง
เทคนิคการคูณเลข
เทคนิคการคูณเลข

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ