รูปแบบการนิเทศ
“การบริหารระบบนิเทศภายในสถานศึกษาโดยรูปแบบ“NL Quality School Model”
ขั้นตอนที่ 1 สร้างทีมงาน (Form for a team)
องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของการนิเทศ คือ เมื่อบุคลากรร่วมมือร่วมใจกัน จะทำให้เกิดบรรยากาศ ที่ดีในการนิเทศ กระบวนการนิเทศมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้งการ ทำงานเป็นทีมยังช่วยให้ได้ความคิดริเริ่มใหม่ ๆ จากสมาชิกในทีมที่มีทักษะ ประสบการณ์ที่หลากหลาย ซึ่ง อาจทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการนิเทศเพิ่มขึ้นด้วย ในการสร้างทีมงานผู้บริหารจะต้องเข้าใจ พฤติกรรมของทีมนิเทศที่ต้องมาปฏิบัติงานร่วมกัน และทำให้กลุ่มคนเหล่านั้นสามารถเรียนรู้ วิเคราะห์ ปัญหา และหาทางออกในการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น การนิเทศที่จะ ประสบความสำเร็จ ต้องมีการสร้างทีมที่มีความสามัคคี และมีเป้าหมายการนิเทศในทิศทางเดียวกัน ดังนี้
1. ผู้บริหาร มีการบริหารงานนิเทศและบริหารบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกในทีม ดังนี้
1.1 มีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล สามารถมองไปข้างหน้า เข้าใจทิศทาง และรู้จักวิธี
ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการนิเทศได้
1.2 มีความคิดริเริ่มที่ดี คิดอะไรใหม่ ๆ หาวิธีการนิเทศ หรือกระบวนการนิเทศใหม่ๆ
1.3 วางแผนการนิเทศได้ดี รวมถึงการแบ่งงาน จัดการหน้าที่ บริหารการทำงานสมาชิกใน
ทีม
1.4 มีวินัยและความรับผิดชอบ มีวินัย ควบคุมการนิเทศให้เป็นไปตามที่ได้วางแผนไว้ให้ดี
ที่สุด สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวดเร็ว และรอบคอบ
1.5 มีทักษะในการสร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมการนิเทศของทีม และสร้างความเชื่อมั่นที่ดี
ให้กับทุกคนในทีม
1.6 เป็นนักสื่อสารที่ยอดเยี่ยม ทั้งผู้พูดและผู้ฟังที่ดี รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในทีม
ทุกคนอย่างเท่าเทียม การสื่อสารที่ดีจะทำให้กระบวนการนิเทศของทีมราบรื่น และบรรลุเป้าหมาย
2. ทีมงาน ประกอบด้วย หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ หัวหน้างานนิเทศภายในสถานศึกษา หัวหน้าระดับชั้น และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ทุกคนในทีมนับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งใน ระบบนิเทศเป็นทีม ดังนี้
2.1 รับผิดชอบในการนิเทศ ที่ได้รับมอบหมาย จะทำให้แผนงานนิเทศที่ทีมวางไว้มีโอกาส
ประสบความสำเร็จ
2.2 เคารพกฎและกติการ่วมกันในการนิเทศ ให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่
2.3 ยอมรับความแตกต่าง เปิดใจรับความคิดเห็นใหม่ ๆ ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง
กัน และพิจารณาร่วมกันหาแนวทางที่ดีที่สุดกับสถานการณ์นิเทศนั้น ๆ
3. กระบวนการทำงาน กรอบสำคัญการนิเทศที่ทำให้ทีมนิเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
3.1 ผู้บริหารแบ่งหน้าที่ชัดเจนในกระบวนการนิเทศไม่ทับซ้อน ทีมนิเทศแต่ละคนมีหน้าที่
ที่รับผิดชอบชัดเจน
3.2 ผู้บริหารและทีมนิเทศมีแนวทางปฏิบัติร่วมกัน เพื่อยึดถือและปฏิบัติในกรอบเดียวกัน
ที่สำคัญกติกาการนิเทศนี้ยุติธรรมสำหรับทุกฝ่าย ไม่เอนเอียงเข้าข้างผู้ใดผู้หนึ่ง
3.3 กระบวนการนิเทศ มีความชัดเจน มีปฏิทินการนิเทศและเครื่องมือนิเทศเพื่อให้ทีม
นิเทศสามารถนิเทศได้ตามเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพผ่านขั้นตอน กระบวนการนิเทศที่วางไว้
3.4 กระบวนการนิเทศปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความยืดหยุ่นตาม
สถานการณ์ เพื่อให้การนิเทศมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 2 ร่วมค้นหาปัญหา (Discover problems)
ค้นหาปัญหา เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน/การทำงานของครู ที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด โดยมีปัจจัยใดเข้ามาเกี่ยวข้อง มีแนวโน้มของปัญหา อย่างไร และมีผลกระทบใดที่จะเกิดขึ้นด้วยการจัดกิจกรรมเปิดใจ กิจกรรมนี้ผู้บริหารและทีมนิเทศของ โรงเรียนได้สร้างแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับความต้องการนิเทศของครูผู้สอน เพื่อค้นหาสาเหตุของ ปัญหาครูผู้สอนโรงเรียนบ้านน้ำลัด โดยขอความร่วมมือให้ผู้ตอบแบบสอบถามเปิดใจอย่างเต็มที่ โดยการให้ ข้อมูลตามความเป็นจริง ครบถ้วน และตกลงกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร ยืดหยุ่น และเหมาะสม ซึ่งทีมนิเทศ ได้จัดส่งแบบสอบถามให้ครูผู้สอนก่อนล่วงหน้าวันประชุม แล้วน ามารวมกันในวันประชุมอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็น การเปิดใจของครูแต่ละคนในโรงเรียน ในการประชุมผู้บริหารเป็นผู้สร้างความตระหนักและความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญที่ต้องมีการนิเทศภายในโรงเรียนโดยการชี้แจงแนวทาง และจุดมุ่งหมายของการนิเทศ ภายในให้ครูผู้สอนทราบ และครูมีความต้องการให้นิเทศอย่างไร แล้วจึงหาข้อตกลงร่วมกันว่าควรจะเป็น อย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนการนิเทศภายในโรงเรียน
ขั้นตอนที่ 3 ระดมความคิด วางแผนการนิเทศ (Follow up plan)
การวางแผนการนิเทศเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการบริหารงานนิเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการนิเทศ ที่มีประสิทธิภาพ และเน้นการทำงานที่เป็นระบบ เพื่อประโยชน์ของสถานศึกษา ผู้บริหารและทีมนิเทศได้ ระดมความคิด วิเคราะห์ปัญหาที่ได้จากแบบสอบถามโดยการรวบรวมแบบสอบถาม แล้วนำมาสรุปและ เรียงลำดับความต้องการจากมากที่สุด-น้อยที่สุด ซึ่งครูผู้สอนโรงเรียนบ้านน้ำลัดมีความต้องการรับการนิเทศ กำกับ ติดตาม ช่วยเหลือในเรื่องการจัดการเรียนการสอนมากที่สุด จากนั้นทีมนิเทศแต่ละคนได้นำเสนอวิธี แก้ปัญหาจากประสบการณ์และผลการวิจัยที่สามารถอ้างอิงได้ แล้วนำเสนอผลการระดมความคิด เมื่อ นำเสนอเสร็จสิ้น ดำเนินการอภิปรายสรุปและเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำ เอกสารนิเทศภายใน เช่น คู่มือการนิเทศ ปฏิทินการนิเทศ กิจกรรมการนิเทศ แบบบันทึกการนิเทศ
ขั้นตอนที่ 4 ร่วมลงมือทำ (Follow up supervision)
“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”กระบวนการนิเทศติดตามที่น้อมนำหลักคิดตามศาสตร์พระราชาของรัชกาล ที่ 9 ให้การนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านน้ำลัดมีความยั่งยืน โดยมีเป้าหมายอยู่ที่คุณภาพของครูผู้สอน มี รายละเอียด ดังนี้
เข้าใจ (Understanding) คือ การสร้างให้เกิดความมั่นใจในข้อมูลพื้นฐานด้วยการศึกษาข้อมูล ทุกมิติของโรงเรียน ค้นหารากฐานของปัญหา รวบรวมองค์ความรู้ คือ รู้ชัดปัญหา ข้อมูลพื้นฐาน ความ ต้องการ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น นโยบาย เป้าหมายของโรงเรียน และรู้บริบทของครูผู้สอนที่จะรับการนิเทศ แต่ละคนเชิงลึก โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนร่วมกันวางแผนแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอน ทำให้มีข้อมูลนักเรียนรายบุคคลไปออกแบบการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียน และข้อมูลการจัดการ เรียนรู้ที่ไม่สนองความต้องการของผู้เรียนและหลักสูตร ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ ทำให้มีแผนการจัดการเรียนรู้ หลักการทฤษฎี ศาสตร์การสอนเป็นแนวทางในการ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านน้ำลัด
เข้าถึง (Connecting) คือ ดำเนินการนิเทศตามปฏิทินที่กำหนด เป็นการนิเทศแบบกัลยาณมิตร โดยมุ่งสร้างความเข้าใจ ความมั่นใจ แก้ปัญหา ชี้แนะ และเติมเต็มให้กับผู้รับการนิเทศ โดยใช้ยุทธศาสตร์ที่ สำคัญเป็นหลักในการนิเทศภายในโรงเรียน คือ การมีส่วนร่วม นิเทศเป็นระบบ โดยใช้การนิเทศที่ หลากหลาย เช่น การสังเกตการสอน การเยี่ยมชั้นเรียน เป็นต้น ผู้บริหารสถานศึกษาและทีมนิเทศได้สังเกต การจัดการเรียนรู้ ทำให้ทราบผลการสอนที่ครูผู้สอนได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน เพื่อสะท้อนการ จัดการเรียนรู้ของครู ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง พัฒนาการจัด การเรียนรู้ตลอดจน ชื่นชมและให้ขวัญกำลังใจ
พัฒนา (Development) คือ การพัฒนาศักยภาพให้ครูผู้สอน โดยผู้บริหารสถานศึกษามีการใช้ วิจัยเป็นฐานในการบริหารจัดการโรงเรียนด้วยกระบวนการ PLC ถือเป็นเครื่องมือส่งเสริมการศึกษาอย่าง หนึ่งที่ช่วยให้ครูผู้สอนได้ทราบถึงแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดกับตัวผู้เรียนในชั้นเรียน เพื่อ ส่งเสริมประสิทธิภาพในการเรียนการสอน จากการที่ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยการ สร้าง Google Form แบบวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล ทำให้ได้ข้อมูลของปัญหาที่เกิดขึ้นรวดเร็วและหา แนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม การจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการ แก้ไขปัญหาในลักษณะเดียวกันได้ ดังนั้นครูผู้สอนจึงมีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนภาคเรียนละ 1 ครั้ง ซึ่งจะ ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การจัดทำวิจัยในชั้นเรียนนั้น มีประโยชน์อย่าง มากในการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา สามารถช่วยแก้ไขและพัฒนาผู้เรียนในชั้นเรียนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาหรือส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน นอกจากนี้ยัง เป็นผลงานในการเสนอพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ และเป็นส่วนหนึ่งในการประเมิน มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนอีกด้วย
ขั้นตอนที่ 5 สะท้อน/สรุปผล (Reflection/Conclusion)
หลังการนิเทศทุกครั้ง ผู้บริหาร ทีมนิเทศและผู้รับการนิเทศได้จัดให้มีการทบทวนผลการปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) เพื่อเป็นเครื่องมือถอดบทเรียน หรือองค์ความรู้ เป็นการรวบรวมบทเรียนที่ ได้จากการนิเทศ มีเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของการนิเทศนั้นๆ เพื่อให้สามารถทำได้ดีขึ้นในครั้ง ต่อไป ซึ่งการทำ AAR จะอยู่ในส่วนหนึ่งของวงจรแห่งการวางแผนการเตรียมความพร้อม การปฏิบัติและ การทบทวน เป็นการทบทวนวิธีการนิเทศ ทั้งด้านความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อค้นหาคนที่ ทำผิดพลาดไม่ใช่การกล่าวโทษใครทั้งสิ้นแต่เป็นการทบทวนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การนิเทศ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นอีกในขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งวิธีการที่ดีอยู่แล้วเพื่อนำไปสู่การ วางแผนดำเนินการนิเทศในครั้งต่อไปที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล