รุ่งสวัสดิ์ มณีวงษ์
Roongsawat Maneewong
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานความต้องการ 2) พัฒนารูปแบบ การนิเทศ
ภายใน 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในและ 4) ศึกษาผลกระทบการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียน
ราษีไศลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรครู ในปีการ
ศึกษา 2565 จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ
แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบประเมิน แบบบันทึกกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ แบบบันทึก
ประเด็นสนทนากลุ่มและแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄)
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่า t-test Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการได้แก่กฎหมาย นโยบายและแนวคิดทฤษฎี
ทางการศึกษาที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ปัญหาที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน คือผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนต่ำ ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจ และไม่ได้รับการส่งเสริมให้จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อย่างจริงจัง
2) รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนราษีไศล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มี
ชื่อว่า SUPER Model ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 Set about: S การเตรียมดำเนินการ ขั้นที่ 2
Upgrade: U การเพิ่มประสบการณ์ ขั้นที่ 3 Process: P กระบวนการนิเทศภายใน ขั้นที่ 4 Evaluation: E การ
ประเมินผล ขั้นที่ 5 Reflection: R การสะท้อนกลับ 3) ผลการทดลองใช้ปรากฏว่า ครูมีสมรรถนะในการจัดการ
เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผลกระทบการใช้รูปแบบ ได้แก่ ผู้ทำ
หน้าที่ให้การนิเทศและผู้รับการนิเทศ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนราษีไศล เพื่อส่งเสริม
สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับ
ชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2565 มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า ปีการศึกษา
2564 ทั้งนี้เนื่องจากทุกองค์ประกอบของรูปแบบ มีความเหมาะสม สอดคล้องซึ่งกันและกัน เป็นกระบวนการที่
มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันครูผู้ให้การนิเทศและครูผู้รับการนิเทศเข้าใจถึงบทบาทของตนเอง มีความมุ่งมั่น
จริงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาแนะนำ ผู้บริหารให้การสนับสนุน