รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนโรงเรียนราษีไศล
The Evaluation Report to Student Empowerment Rasisalai School Project
รุ่งสวัสดิ์ มณีวงษ์
Roongsawat Maneewong
ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนราษีไศล องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
Expert Level Director of Rasisalai School, Sisaket Provincial Administrative Organization
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินและตัดสินคุณค่าบริบท 2) ประเมิน
และตัดสินคุณค่าปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิต และ 3) ศึกษาผลกระทบของ โครงการส่งเสริม
ศักยภาพนักเรียน โรงเรียนราษีไศล โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ แบบซิปป์ (CIPP Model) และ
การประเมินตัดสินคุณค่าเชิงธรรมชาติ NV Models (Naturalistic Value Oriented Evaluation)
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง
และนักเรียนรวมจำนวนทั้งสิ้น 1,014 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร
แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติ ค่าร้อยละ (%)
ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
ผลการประเมินพบว่า 1) บริบทของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เป็นไปตามเกณฑ์
ที่กำหนด โครงการมีความเหมาะสม สอดคล้อง มีคุณค่า และสามารถดำเนินการได้ 2) ปัจจัยเบื้องต้น
กระบวนการ ผลผลิตโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด คุณภาพแต่ละกิจกรรม คุณภาพนักเรียนหลังดำเนิน
โครงการคุณภาพของสถานศึกษาตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่มาตรฐานที่1ด้านคุณภาพ
ของผู้เรียนและความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนโรงเรียนราษีไศล ทุกประเด็นอยู่ใน
ระดับมากที่สุด ปัจจัยมีความเพียงพอทุกรายการ กระบวนการมีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีการ
กำกับ นิเทศติดตามให้เป็นไปตามแผนทุกรายการ ผลผลิตของโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ทุกกิจกรรม
โครงการมีคุณค่าด้านความเหมาะสม สามารถดำเนินการพัฒนาศักยภาพนักเรียนต่อไปได้ 3) ผลกระทบ
จากการดำเนินโครงการ ได้แก่ นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และได้รับการพัฒนาศักยภาพตนเองตาม
ความถนัดมากยิ่งขึ้น ครูมีศักยภาพในการปฏิบัติงานมากขึ้น สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญได้ดีมากขึ้น ผู้บริหารได้แนวคิดในการส่งเสริมเชาวน์ปัญญานักเรียนมากขึ้น ผู้ปกครองและชุมชนได้รับทราบ
ข้อมูลของทางโรงเรียน ให้ความสำคัญต่อการศึกษามากขึ้น สัมพันธภาพระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเป็นไป
ในทางบวก