1. หลักการและเหตุผล
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนหลายคนมีสภาวะถดถอยทางด้านการเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการอ่าน และการเขียน ซึ่งทักษะการอ่าน และ
การเขียนนั้น เป็นทักษะพื้นฐานสำคัญของการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 จากการสังเกตและทดสอบในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในด้านการอ่าน การเขียนคำภาษาไทยที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ยังไม่เป็นที่น่าพอใจมากนัก ดังนั้นเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน ครูผู้สอนจึงใช้แบบฝึกทักษะมาตราตัวสะกด และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้แผนผังความคิด มาใช้ในการพัฒนาความสามารถการอ่านการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ตลอดจนการแต่งประโยค และการนำคำศัพท์ไปเขียนเรื่องตามจินตนาการ
2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 จุดประสงค์
- ด้านความรู้ (K) นักเรียนสามารถบอกความหมายของคำมาตราตัวสะกดแม่กนได้
- ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) นักเรียนสามารถอ่าน และเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดแม่กนได้
นักเรียนสามารถแต่งประโยค และเขียนเรื่องตามจินตนาการ จากคำศัพท์มาตราแม่กนได้
- ด้านเจตคติ (A) นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
2.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองพอกวิทยายน ปีการศึกษา 2567 จำนวน 13 คน นักเรียนต้องอ่านออก เขียนได้
และมีความคิดสร้างสรรค์
3. ขั้นตอนการดําเนินงาน
การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน เรื่องมาตราตัวสะกดแม่กน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แผนผังความคิด มีขั้นตอนดำเนินกิจกรรม ดังนี้
3.1 สำรวจสภาพปัญหา พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถสะกดคำ อ่านคำ และเขียนคำศัพท์ที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราได้ นักเรียนไม่ชอบสะกดคำด้วยตนเอง บางครั้งสะกดคำโดยใช้ตัวสะกดผิดมาตรา ทำให้อ่านและเขียนคำไม่ถูกต้อง
3.2 ศึกษามาตรฐาน ตัวชี้วัด หลักการ ทฤษฎี เกี่ยวกับการสอนภาษาไทย โดยได้เลือกใช้วิธีการสอนแบบแผนผังความคิด
3.3 ออกแบบ แบบฝึกทักษะมาตราตัวสะกดแม่กน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนคำภาษาไทย โดยใช้วิธีการสอนแบบแผนผังความคิด
3.4 ทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไขกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
3.5 นำผลการทดลองมาพัฒนาแบบฝึกทักษะมาตราแม่กน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนคำศัพท์ภาษาไทย โดยใช้วิธีการสอนแบบแผนผังความคิด
ให้ถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน
3.6 ใช้นวัตกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ครูผู้สอนติดตามความก้าวหน้าจากการทำแบบฝึกทักษะ
3.7 ครูผู้สอนนำปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหาร ครูผู้สอนต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
3.8 ประเมินและสรุปผลการใช้แบบฝึกทักษะมาตราแม่กน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนคำศัพท์ภาษาไทย โดยใช้วิธีการสอนแบบแผนผังความคิด
4. ผลการดำเนินงาน/ประโยชนที่ได้รับ
จากการที่ข้าพเจ้าได้พัฒนาทักษะการอ่านการเขียน โดยใช้แผนผังความคิดกับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทำให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้กับผู้เรียน ดังนี้
เชิงปริมาณ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองพอกวิทยายน ปีการศึกษา 2567 จำนวน 13 คน ร้อยละ 80 ที่เรียนในรายวิชาภาษาไทย มีการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา (แม่กน) และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2. ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้านความรู้ (K) ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 84.62
3. ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้านทักษะ (P) ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 84.62
4. ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้านเจตคติ (A) ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 100
เชิงคุณภาพ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 13 คน ที่ได้รับการพัฒนา สามารถอ่านคล่องเขียนคล่องขึ้น และมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้
อื่น ๆ สูงขึ้น
2. นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้แผนผังความคิด อยู่ในระดับมาก
3. นักเรียนสามารถเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ช่วยกันออกแบบแผนผังความคิดอย่างอิสระ จึงเกิดความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งมีความกระตือรือร้น มีความมุ่งมั่นในการทำงาน รู้จักแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ มีความสามัคคีภายในกลุ่ม มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
4. นักเรียนเกิดทักษะด้านภาษาไทย ได้สร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ คุ้มค่าต่อการเรียนรู้ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้