ชื่อผลงาน การบริหารจัดการการนิเทศภายในสถานศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21 โดยใช้ TSM Model โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ชื่อผู้เสนอขอ นางสาวมยุรี แก้วภู่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด
ปีที่รายงาน 2567
บทสรุปผู้บริหาร
รายงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เรื่อง การบริหารจัดการการนิเทศภายในสถานศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21 โดยใช้ TSM Model โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อนำการบริหารจัดการการนิเทศภายในสถานศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21 โดยใช้ TSM Model เพื่อพัฒนาห้องเรียนให้มีคุณภาพ 2. เพื่อนำการบริหารจัดการการนิเทศภายในสถานศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21 โดยใช้ TSM Model เพื่อพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดในยุคศตวรรษที่ 21 และ 3. เพื่อนำการบริหารจัดการการนิเทศภายในสถานศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21 โดยใช้ TSM Model เพื่อพัฒนาโรงเรียนไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
ผลการรายงานพบว่า
1. การนำการบริหารจัดการการนิเทศภายในสถานศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21 โดยใช้ TSM Model เพื่อพัฒนาห้องเรียนให้มีคุณภาพ พบว่า ภายในห้องเรียนมีสื่อเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน ห้องเรียนมีความพร้อมสำหรับการจัดการศึกษา สำหรับผลการประเมินการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565-2566 พบว่า นักเรียนมีผลการประเมินในปีการศึกษา 2566 เพิ่มขึ้น จำนวน 1 รายวิชา ได้แก่ วิชาวิทยาศาสตร์ และเป็นสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนได้คะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2566 รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับผลการประเมินการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ทุกกลุ่มสาระวิชามีผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จากการวิเคราะห์ผลการประเมินการทดสอบดังกล่าว พบว่า ยังไม่บรรลุผลตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เช่นกัน
2. ผลการนำการบริหารจัดการการนิเทศภายในสถานศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21 โดยใช้ TSM Model เพื่อพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดในยุคศตวรรษที่ 21 พบว่า ครูได้รับส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยการอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้สร้างสื่อด้วย Canva, ผู้บริหารและครูเข้าร่วมเป็นคณะทำงานกิจกรรม Webinar การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกระบี่ และประวิติศาสตร์ชาติไทยวิถีใหม่ ผ่านแหล่งเรียนรู้และแพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นต้น
3. การนำการบริหารจัดการการนิเทศภายในสถานศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21 โดยใช้ TSM Model เพื่อพัฒนาโรงเรียนไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากร มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันด้วยกระบวนการต่าง ๆ เช่น การตั้งคำถามเชิงบวก การสัมภาษณ์เชิงบวก และการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น