การวิจัยเรื่อง การพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้นของนักเรียนชมรมดนตรีไทย โรงเรียนวัดราชบพิธ โดยใช้แบบฝึกพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทยเบื้องผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้นของนักเรียนชมรมดนตรีไทย โรงเรียนวัดราชบพิธ โดยใช้แบบฝึกพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) สามารถสรุปผลได้ ดังต่อไปนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชมรมดนตรีไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดราชบพิธ ที่ลงทะเบียนสมัครเข้าชมรมดนตรีไทยของโรงเรียน จำนวน 5 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรที่ศึกษาในการทำวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผลการพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้นของนักเรียนชมรมดนตรีไทย โรงเรียนวัดราชบพิธ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้การในดำเนินการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบทดสอบ เรื่อง โสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้น และแบบฝึกพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)
สรุปผลการวิจัย
การสรุปผลการวิจัย ผู้วิจัยแบ่งออกเป็น 3 ตอนตามผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
ตอนที่ 1 ผลการทดสอบ เรื่อง โสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้นของนักเรียนชมรมดนตรีไทย โรงเรียนวัดราชบพิธ
ผลการทดสอบเรื่อง โสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้น ของนักเรียนชมรมดนตรีไทย โรงเรียนวัดราชบพิธ พบว่า เมื่อนำผลคะแนนการทดสอบ เรื่องโสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้นมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย พบว่าได้คะแนนเฉลี่ย 4.14 คะแนน จากคะแนนทั้งสิ้น 10 คะแนน โดยคิดเป็นอัตราเฉลี่ยร้อยละ 41.42 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.06
ตอนที่ 2 ผลการทดสอบ เรื่อง โสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้น ของนักเรียนชมรมดนตรีไทย โรงเรียนวัดราชบพิธ หลังใช้แบบฝึกพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)
สรุปจากผลการทดสอบเรื่อง โสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้น ของนักเรียนชมรมดนตรีไทย โรงเรียนวัดราชบพิธ หลังใช้แบบฝึกพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้น พบว่า เมื่อนำคะแนนของนักเรียนทั้งหมดมาวิเคราะห์พบว่า นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 7.28 คะแนน จากคะแนนทั้งสิ้น 10 คะแนน โดยคิดเป็นอัตราเฉลี่ยร้อยละ 72.85 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.75
ตอนที่ 3 ผลการเปรียบเทียบการทดสอบ เรื่อง โสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้น ของนักเรียนชมรมดนตรีไทย โรงเรียนวัดราชบพิธ ก่อนและหลังใช้แบบฝึกพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)
สรุปผลจากเปรียบเทียบผลคะแนนก่อน-หลังใช้แบบฝึกพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) พบว่า หลังจากจากใช้แบบฝึกพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้นฯ นักเรียนสามารถทำคะแนนได้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนใช้แบบฝึกพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้นฯ โดยมีค่าการพัฒนาเพิ่มขึ้นของคะแนนเฉลี่ย 3.14 คิดเป็นอัตราส่วนการเพิ่มขึ้นของคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.42
อภิปรายผล
อภิปรายผลการวิจัยจากการดำเนินงานวิจัยสามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
1. จากผลการวิจัยพบว่า การใช้แบบฝึกพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) นอกจากจะช่วยลดภาระงานของครูผู้สอนแล้วและเป็นการเพิ่มความสะดวกในการเรียนให้กับผู้เรียน ทั้งยังสามารถช่วยเพิ่มค่าเฉลี่ยคะแนนให้สูงขึ้น ซึ่งวัดได้จากค่าเฉลี่ยการพัฒนาของคะแนนที่มีอัตราส่วนการเพิ่มขึ้นของคะแนนร้อยละ 31.42 เมื่อเทียบกับก่อนใช้แบบฝึกฯ ซึ่งสอดคล้องกับ ผลการวิจัยของ ศศิรัตน์ บรรยายกิจ (2551) ที่พบว่า การใช้อีเลิร์นนิ่งสำหรับการช่วยสอน ส่งผลให้ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยของคุณลักษณะที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับก่อนใช้สื่ออีเลิร์นนิ่ง
2. จากการศึกษาและทำการทดสอบ เรื่อง โสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้น พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มักละเลยเรื่องการพัฒนาโสตฯ ทั้งที่เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเป็น และสำคัญอย่างมากสำหรับการเรียนดนตรี อาจจะกล่าวว่าเป็นหัวใจหลักของการเรียนดนตรีก็เป็นได้ ทำให้ผลคะแนนการทดสอบก่อนทำแบบฝึกพัฒนาโสตฯนั้นอยู่ในระดับที่ไม่น่าพึงไม่พอใจเท่าที่ควร
3. การใช้แบบฝึกพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทยเบื้องต้นฯ มีค่าเฉลี่ยการพัฒนาของคะแนนร้อยละ 31.42 ดังนั้นเพื่อการเพิ่มค่าเฉลี่ยการพัฒนาของคะแนน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เพิ่มขึ้น ควรใช้ระยะเวลาในการทำแบบฝึกให้มากขึ้น และควรใช้ควบคู่กับการสอนการพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทยในห้องเรียน เพื่อผลสัมฤทธิ์ที่ดียิ่งขึ้น แต่เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลา ภาระงานสอนของครูผู้สอน การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน
ข้อเสนอแนะ
1. ควรเพิ่มกลุ่มประชากร หรือกลุ่มตัวอย่างให้มากขึ้น เพื่อผลการวิจัยที่แม่นยำ เที่ยงตรงยิ่งขึ้น
2. การทดสอบ ควรมีการวัดในหลายๆด้านให้มากขึ้น เช่น การร้องโน้ต การเคลื่อนไหว ฯลฯ
3. แบบทดสอบ ควรมีจำนวนข้อที่มากขึ้น เพื่อความเที่ยงตรงของข้อมูลที่เพิ่มขึ้น
4. ระยะเวลาในการใช้แบบฝึกควรใช้ระยะเวลาที่มากกว่านี้ และสอนควบคู่กับการสอนในห้องเรียนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด