ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่ม
ในรายวิชาดนตรี นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน ปราณี บุญจิ่ม
ปีที่รายงาน 2567
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ที่เรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่ม ในรายวิชาดนตรี นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการใช้ชุดการสอนเรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่มในรายวิชาดนตรี นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชาการที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้ประชากรเป็นกลุ่ม ตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้อง นักเรียนจำนวน 7 คน ได้มาโดยวิธีการเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาดนตรี นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3)แบบสอบ
ถามความพึงพอใจต่อการเรียน เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานแบบ สถิติ t - test (Dependent Samples) การหาค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษาพบว่า
1. ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลัง โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่ม ในรายวิชาดนตรี นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.6170 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ซึ่งมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.70
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่ม ในรายวิชาดนตรี นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยหลังเรียน ( ) เท่ากับ 14.68 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน ( ) เท่ากับ 6.57 นั่นคือ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่ม ในรายวิชาดนตรี นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. การวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่ม ในรายวิชาดนตรี นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X- bar = 4.68, S.D. = 0.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ย 3 อันดับแรก คือ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่มเสริมสร้างโอกาสปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกัน การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่มทำให้งานสำเร็จได้เร็วขึ้น การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่ม ช่วยเพิ่มทักษะการทำงานเป็นทีม ( X- bar = 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมาคือ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่ม ช่วยเสริมพื้นฐานในการเรียนด้วยตนเอง ( X- bar = 4.71, S.D. = 0.49) และการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่มช่วยให้ผู้เรียนทำข้อสอบวัดผลได้มากขึ้น( X- bar = 4.85 , S.D. = 0.44)