ส่วนที่ ๑ บทนำ
๑) ชื่อผลงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice ) ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา
กระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา โดยใช้ SPT ๕ THINK MODEL โรงเรียนสตรีพัทลุง
๒) วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายในสถานศึกษาโรงเรียนสตรีพัทลุง โดยใช้กระบวนการ SPT ๕ THINK MODEL
2.2 เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนางานนิเทศภายในสถานศึกษาโรงเรียนสตรีพัทลุง โดยใช้กระบวนการ SPT ๕ THINK MODEL
2.3 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน
๓) กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้บริหาร จำนวน ๕ คน
- ครู จำนวน 118 คน
- นักเรียน จำนวน 2,762 คน
รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๒,๘๘๕ คน
๔) ระยะเวลาดำเนินการ
- ตลอดปีการศึกษา
ส่วนที่ ๒ เนื้อหา
๑) ที่มาและความสำคัญ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงพระราชทานพระราโชบายด้านการศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ดังนี้ 1) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง - มีคุณธรรม 3) มีงานทำ มีอาชีพ 4) เป็นพลเมืองดี ประกอบกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2560 2580) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ ไว้ว่า ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลัก ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง โดยยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์เป็นยุทธศาสตร์ที่เน้น การวางรากฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับคน ในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่ง และมีคุณภาพ พร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไป ข้างหน้าได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่ง คนไทยในอนาคต จะต้อง มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการ ที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัยมีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรมและเป็นพลเมืองดีของชาติมีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษ ที่ 21 สู่การเป็นคนไทย ที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกรรม นักคิด ผู้ประกอบการเกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมี สัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง เนื่องจากปัจจุบันนี้กระแสโลกาภิวัตน์ ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้งวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนด้านอื่น ๆ ซึ่งการเปลี่ยน แปลงนี้เป็นไปอย่างแพร่หลายอันส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน
เพื่อเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ที่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงโฉมบทบาท ครู ให้เป็นครูยุคใหม่ โดยปรับบทบาทจาก ครูสอน เป็น โค้ช หรือ ผู้อำนวยการเรียนรู้ ทำหน้าที่กระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจ แนะวิธีการเรียนรู้และวิธีจัดระเบียบการสร้างความรู้ ออกแบบกิจกรรม และสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียน และมีบทบาทเป็นนักวิจัยพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน รวมทั้งด้านการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ได้มุ่งเน้นกิจกรรมปฏิรูปที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาคการศึกษาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rocks) ด้านพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อตอยสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ให้ความสำคัญการให้ครู/ อาจารย์บุคลากรทางด้านการศึกษา มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ) ได้มีการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่งและวิทยฐานะ โดยในส่วนของผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามระดับวิทยฐานะ และต้องสามารถพัฒนาครูให้มีสมรรถนะเต็มตามศักยภาพ เพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการสร้างความเข้มแข็งให้กับวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาคุณภาพครู คุณภาพผู้เรียนและคุณภาพการศึกษาผู้บริหารเข้าถึงครูและห้องเรียนมากขึ้น และมีการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) มีการประเมินผลการพัฒนางานในแต่ละปี ซึ่งการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนาในสถานศึกษา ผู้บริหารจะได้ทราบถึงจุดแข็งและจุดที่ความพัฒนาของครูและบุคคลากรในสถานศึกษา ทำให้มีแนวทางพัฒนาตนเอง พัฒนาครู เพื่อให้นำผลการพัฒนามาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ดังนั้น สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นหน่วยงานทางการศึกษา ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบและมาตราฐานการนิเทศการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนการนำนโยบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาและห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพผ่านกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียน มีคุณภาพตามที่หลักสูตรกำหนด สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำนดในมีการจัดกิจกรรมคัดเลือกผลงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของการนิเทศภายในสถานศึกษา มีต้นแบบการดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จ มีวิธีปฏิบัติที่ดีด้านการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนให้มีผลลัพธ์การเรียนรู้บรรลุค่าเป้าหมาย
ในการนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง ได้ให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งของการนิเทศภายในสถานศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการนำนโยบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรที่สถานศึกษากำหนด
ดังนั้น โรงเรียนสตรีพัทลุง จึงตระหนัก และให้ความสำคัญในกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาสู่การปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มบริหารฝ่ายงาน งานกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาทุกคนด้วยการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แนะนำ แก้ไข และปรับปรุง โดยใช้กระบวนการ SPT ๕ THINK MODEL ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนทางด้านวิชาการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงกว่าค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด โดยมีนักเรียนทุกคนปลอด 0 ร มส.และ มผ. 100 เปอร์เซ็นต์ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จบการศึกษา 100 เปอร์เซ็นต์