จุดประสงค์ / เป้าหมาย
2.1. พัฒนาครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ RT, NTและ O-NET สูงขึ้น
กระบวนการ / ขั้นตอน
โรงเรียนวัดโป่งหม้อข้าวจัดกิจกรรมการพัฒนาระบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ NONGYAO MODEL ซึ่งเป็นรูปแบบที่จะช่วยให้การนิเทศภายในของโรงเรียนมีความเข้มแข็งในการพัฒนาครูสู่การพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
N : Need Ascessment หมายถึง การประเมินความต้องการของสถานศึกษาต่อการจัดการศึกษา ของผู้ที่มีส่วนได้เสีย นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
O : Opportunity หมายถึง การสร้างโอกาสทางการศึกษา บนพื้นฐานความเสมอภาค
และเพิ่มโอกาสในการพัฒนาตนเองของคณะครู และนักเรียน
N : Network (เชื่อมต่อทุกภาคีเครือข่าย) เป็นการเชื่อมผสานการทํางานขององค์กร ภาคี
เครือข่ายต่าง ๆ ในการบริหารงานโรงเรียนให้เกิดการทํางานร่วมกัน โดยยึดถือประโยชน์สูงสุดที่จะเกิด
ขึ้นกับองค์การ
G : Good Environment คือ การจัดสิ่งแวดล้อมที่ดี การพัฒนาสิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้มี
สภาพที่เหมาะสม ประกอบด้วย การพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การพัฒนาสภาพแวดล้อมทางวิชาการ
การพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการบริหาร
Y : Youths : เยาวชน : เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีการบริหารจัดการมุ่งเน้นคุณภาพของผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ Child Centered โดยมีการระดมทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้ความสำคัญต่อเสียงหรือความคิดเห็นของผู้เรียนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถตามศักยภาพและตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ถาวร และผู้เรียนมีพัฒนาการตามที่ต้องการ
A : Achievement : การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation)มีการบริหารที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ โดยผู้บริหาร ครูและบุคลากร มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ให้ได้หรือเกินมาตรฐานที่มีอยู่ และสร้างสรรค์พัฒนาผลงาน กระบวนการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่ท้าทายและมีความยั่งยืน
O : Organization Self Assignment : การประเมินผลร่วมกันเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมด
จากทุกฝ่าย ทั้ง นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและผู้บริหาร
โดยมีวิธีการนิเทศสู่ห้องเรียนที่สำคัญ 4 วิธี ดังนี้
1) การประชุมเชิงวิชาการ
2) เยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการสอน
3) การประชุม นิเทศ ติดตาม และทบทวนการปฏิบัติงาน
4) นิเทศบูรณาการสร้างสรรค์กับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC)
ซึ่งทุกกิจกรรมครูและบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ได้แก่
1) ร่วมวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ
2) ร่วมวางแผนการนิเทศ
3) ร่วมดำเนินการนิเทศ
4) ร่วมติดตาม ประเมินผลและรายงานผล
ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ
มีวัฒนธรรมขององค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ และมีขั้นตอนการพัฒนาบุคลากรด้วยระบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ NONGYAO MODEL
การสื่อสารสร้างความเข้าใจอันดี ทั้งในฝ่ายบริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ในรูปแบบการประชุมการรับฟังข้อเสนอ การผ่านช่องทางเทคโนโลยี เป็นต้น
การมีทัศนคติหรือมุมมองเชิงบวกต่อคุณธรรมเป้าหมาย ร่วมกันกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก และ ร่วมมือกันทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยความสุข เห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ
บทเรียนที่ได้รับ
จากการดำเนินงานการพัฒนาโรงเรียนด้วยหลักการเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา โดยอาศัยกระบวนการให้ทุก คนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำร่วมพัฒนา ตามรูปแบบการบริหารพัฒนาครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจนเกิดเป็นวัฒนธรรมในโรงเรียน ซึ่งอาศัยการพัฒนาครูด้วย ระบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ NONGYAO MODEL เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นอกจากนี้ในส่วนของนักเรียนยังได้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิด โดย ความรู้และเจตคติที่นักเรียนได้รับเกิดจากการลงมือปฏิบัติซึ่งส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่คงทนและ ส่งผลต่อความยั่งยืน