ชื่อผลงาน : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์
โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ WATSAWANGAROM SCHOOL
ผู้วิจัย : นายนิรุทธิ์ พิกุลเทพ
ปีการศึกษา : 2566
บทสรุปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ WATSAWANGAROM SCHOOL
มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ WATSAWANGAROM SCHOOL กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ รองผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน ได้มาโดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ WATSAWANGAROM SCHOOL กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศ รูปแบบ WATSAWANGAROM SCHOOL กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ รองผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หัวหน้างานวัดและประเมินผลการศึกษา และหัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา รวมจำนวน 14 คน โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 4) ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ WATSAWANGAROM SCHOOL กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ รองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 29 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 188 คน และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 166 คน ปีการศึกษา 2566 รวมจำนวน 354 คน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 188 คน และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 166 คน ปีการศึกษา 2566 รวมจำนวน 354 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 751 คน ซึ่งได้มาโดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม
แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการสังเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และสถิติที่ใช้ ได้แก่ 1) ร้อยละ 2) ค่าเฉลี่ย
และ 3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ WATSAWANGAROM SCHOOL พบว่า ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.94, S.D. = 0.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสะท้อนผลงานจากการนิเทศภายใน (x̄ = 4.04 , S.D. = 0.80) ด้านการวางแผน และด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ (x̄ = 3.96, S.D. = 0.70) ด้านการติดตามและประเมินผล (x̄ = 3.95 , S.D. = 0.71) ด้านการดำเนินการนิเทศภายใน (x̄ = 3.94 , S.D. = 0.62) ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุด คือ ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจ ( = 3.78 , S.D. = 0.72) ตามลำดับ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ WATSAWANGAROM SCHOOL
ผู้เชี่ยวชาญ ได้พิจารณาความเหมาะสมและความถูกต้อง พบว่า ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ WATSAWANGAROM SCHOOL ในภาพรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด (x̄ = 4.70, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ทุกรายการ มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ รูปแบบมีกระบวนการดำเนินงานที่เป็นระบบ สะดวกต่อการปฏิบัติในบริบทของผู้เกี่ยวข้อง(x̄ = 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมา คือ รูปแบบมีแนวทางการปฏิบัติที่สอดคล้องกับการปฏิบัติในสถานศึกษา
(x̄ = 4.78, S.D. = 0.44) รูปแบบมีสาระครอบคลุมกับการปฏิบัติงานในสถานศึกษารูปแบบมีสาระครอบคลุมกับการปฏิบัติงานในสถานศึกษา รูปแบบมีการนำเสนอเนื้อหาและวิธีการที่เป็นไปตามหลักวิชา รูปแบบมีความชัดเจนและสอดคล้องกับเป้าหมายการปฏิบัติงาน และรูปแบบมีรายละเอียดที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ตรงตามความต้องการ (x̄ = 4.67, S.D. = 0.50) ส่วนรายการที่มีระดับความเหมาะสมต่ำสุด ได้แก่ รูปแบบมีหลักการที่ส่งเสริมการปฏิบัติที่เหมาะสม และมีกระบวนการและหลักการที่สอดคล้องกับบริบทในสถานศึกษา (x̄ = 4.56 , S.D. = 0.72) ตามลำดับสำหรับผลการตรวจสอบระดับความถูกต้องในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.84 ,S.D. = 0.29) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ทุกรายการมีระดับความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ รูปแบบมีสาระครอบคลุมกับการปฏิบัติงานในสถานศึกษารูปแบบมีสาระครอบคลุมกับการปฏิบัติงานในสถานศึกษา รูปแบบมีกระบวนการดำเนินงานที่เป็นระบบ สะดวกต่อการปฏิบัติในบริบทของผู้เกี่ยวข้องและรูปแบบมีการนำเสนอเนื้อหาและวิธีการที่เป็นไปตามหลักวิชา (x̄= 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมา คือ รูปแบบมีแนวทางการปฏิบัติที่สอดคล้องกับการปฏิบัติในสถานศึกษา รูปแบบมีความชัดเจนและสอดคล้องกับเป้าหมายการปฏิบัติงาน และรูปแบบมีรายละเอียดที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ตรงตามความต้องการ (x̄ = 4.78, S.D. = 0.44) ส่วนรายการที่มีระดับความถูกต้องต่ำสุด ได้แก่ รูปแบบมีหลักการที่ส่งเสริมการปฏิบัติ ที่เหมาะสม และมีกระบวนการและหลักการที่สอดคล้องกับบริบทในสถานศึกษา (x̄ = 4.67 , S.D. = 0.50) ตามลำดับ
3. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ WATSAWANGAROM SCHOOL พบว่า มีระดับความเป็นไปได้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.86, S.D. = 0.29) เมื่อพิจารณา เป็นรายการ พบว่า ทุกรายการ มีระดับความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ รูปแบบมีความสอดคล้องกับเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินตามมาตรฐานการประเมิน ในบริบทของสถานศึกษา และรูปแบบมีการนำเสนอเนื้อหาและวิธีการนิเทศที่เป็นไปตามหลักวิชา (x̄= 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมา คือ รูปแบบมีสาระครอบคลุมกับการปฏิบัติงานในสถานศึกษา และรูปแบบสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าใจขั้นตอนในการนำไปปฏิบัติ (x̄ = 4.86, S.D. = 0.36) และรูปแบบมีความสอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และรูปแบบมีแนวทางการปฏิบัติการนิเทศที่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ (x̄ = 4.79, S.D. = 0.43) ส่วนรายการที่มีระดับความเป็นไปได้ต่ำสุด ได้แก่ รูปแบบมีแนวทางการปฏิบัติที่สอดคล้องกับโครงสร้างการปฏิบัติงานนิเทศภายในสถานศึกษา (x̄ = 4.71 , S.D. = 0.47) สำหรับระดับความเป็นประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.94 , S.D. = 0.15) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ทุกรายการมีระดับความมีเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดโดยเรียงลำดับ จากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ รูปแบบมีความสอดคล้องกับเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินตามมาตรฐานการประเมิน ในบริบทของสถานศึกษา รูปแบบมีสาระครอบคลุมกับการปฏิบัติงานในสถานศึกษา รูปแบบมีการนำเสนอเนื้อหาและวิธีการนิเทศที่เป็นไปตามหลักวิชาและรูปแบบสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าใจขั้นตอนในการนำไปปฏิบัติ (x̄ = 5.00, S.D. = 0.00) ส่วนรายการที่มีระดับความเป็นประโยชน์ต่ำสุด ได้แก่ รูปแบบมีความสอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รูปแบบมีแนวทางการปฏิบัติที่สอดคล้องกับโครงสร้างการปฏิบัติงานนิเทศภายในสถานศึกษาและรูปแบบมีแนวทางการปฏิบัติการนิเทศที่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ (x̄ = 4.86 , S.D. = 0.36)
4. ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ WATSAWANGAROM SCHOOL พบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.76, S.D. = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การทำความเข้าใจวิธีการนิเทศร่วมกันระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ (x̄ = 4.97 , S.D. = 0.18) รองลงมา คือ การให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น หลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อ การวัดผลประเมินผล(x̄ = 4.86 , S.D. = 0.36) และวิธีการนิเทศภายในมีความสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของผู้รับการนิเทศ (x̄ = 4.78, S.D. = 0.44) ส่วนรายการที่มีระดับความพึงพอใจระดับต่ำสุด คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกันในการวางแผนการนิเทศภายในโรงเรียน (x̄ = 4.68 , S.D. = 0.52) ตามลำดับ