การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ฯ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ฯ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ฯ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ
ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน โรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ ฯ และศึกษานิเทศก์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โดยการสัมภาษณ์และจัดอภิปรายกลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และศึกษานิเทศก์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และประเด็นการอภิปรายกลุ่ม ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร่างรูปแบบ ฯ และประเด็นการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 3 ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ ฯ ดังนี้ 1) ทดลองใช้รูปแบบ ฯ กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2,598 คน 2) ติดตามการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่ประสงค์ของนักเรียน ฯ โดยผู้วิจัยและศึกษานิเทศก์ 3) ประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนการมีคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยครูประจำชั้น 4) สอบถามความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาและครูต่อรูปแบบ ฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการใช้รูปแบบ ฯ
2) แบบติดตามการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ฯ 3) แบบประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนการมีคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ฯ มีค่าความเชื่อมั่น 0.90 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาและครูต่อรูปแบบ ฯ มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบ ฯ โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบ ฯ มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน พบว่า 1) ภาพรวมมีการดำเนินงานด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูต่างมีความตระหนักในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านคุณธรรมจริยธรรมควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิชาการ แต่ผลลัพธ์การดำเนินงานยังไม่สะท้อนสู่พฤติกรรมการมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนเท่าที่ควร 2) ผลการกำหนดแนวทางการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ฯ 2.1) คุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ฯ จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ (1) ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ (2) ความมีวินัย (3) ความซื่อสัตย์สุจริต (4) ความพอเพียง (5) การมีจิตสาธารณะ 2.2) แนวทางการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์
ของนักเรียน จำนวน 4 แนวทาง ได้แก่ (1) บูรณาการคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ (2) บูรณาการคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (3) จัดทำโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ (4) จัดทำโครงงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ 2.3) ประยุกต์ใช้หลักการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ได้แก่ (1) วงจรคุณภาพ PDCA (2) บูรณาการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ ฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
3) วิธีดำเนินงานของรูปแบบ 4) การติดตามการดำเนินงาน และ 5) ผลลัพธ์
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ ฯ พบว่า 1) ผลการติดตามการดำเนินงานตามรูปแบบ ฯ ภาพรวม ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับคุณภาพดีและดีมาก
โดยมีผลการปฏิบัติส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 2) ผลการประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนการมีคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ภาพรวม
อยู่ในระดับดีเยี่ยม เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับดีและดีเยี่ยม โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความมีวินัย
ด้านการมีจิตสาธารณะ ด้านความพอเพียง ด้านความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และด้านความซื่อสัตย์สุจริต ตามลำดับ 3) ความพึงพอใจ
ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูต่อรูปแบบ ฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน
ในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ ฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความถูกต้องครอบคลุม ตามลำดับ