ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์บนฐานของวัฒนธรรมและชุมชน
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าจีน) จังหวัดสตูล
ผู้วิจัย อภิรดา ชาญน้ำ
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์บนฐานของวัฒนธรรมและชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าจีน) จังหวัดสตูล 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์บนฐานของวัฒนธรรมและชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าจีน) จังหวัดสตูล ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3. เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์บนฐานของวัฒนธรรมและชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าจีน) จังหวัดสตูล ดังนี้ 3.1 เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์บนฐานของวัฒนธรรมและชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3.2 เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์บนฐานของวัฒนธรรมและชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์บนฐานของวัฒนธรรมและชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4. เพื่อประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์บนฐานของวัฒนธรรมและชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าจีน) จังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าจีน) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสอบถามความคิดเห็น 2. แบบสัมภาษณ์การวิจัย 3. แบบวิเคราะห์ข้อมูลการประชุมกลุ่มย่อย (FGD) 4. แบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย (FGD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 5. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้และการใช้ประโยชน์ของ (ร่าง) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย 6. แบบประเมินความสอดคล้องเชิงเนื้อหา (IOC) 7. แบบประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย 8. แบบทดสอบวัด ความสามารถด้านทักษะการอ่านและทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ 9. หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์ 10. แผนการจัดการเรียนรู้ และ 11. แบบประเมินการปรับปรุง แก้ไขและรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าประสิทธิภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีสภาพปัจจุบันปัญหาอยู่ในระดับมากทุกด้าน (x̄= 4.45, S.D. = 0.58)
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์บนฐานของวัฒนธรรมและชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าจีน) จังหวัดสตูล มีชื่อว่า Reading Writing Process Model (RWP Model) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน (EPGIERK Stages) คือ ขั้นที่ 1 การกระตุ้นความสนใจสู่การเรียนรู้ (Engagement to Learning Stage : E) ขั้นที่ 2 การนำเสนอบทเรียน (Presentation of Learning Task Stage : P) ขั้นที่ 3 การฝึกปฏิบัติโดยครูผู้สอนแนะนำช่วยเหลือ (Guided Practice Stage : G) ขั้นที่ 4 การฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ (Independent Practice Stage : I) ขั้นที่ 5 การฝึกเพิ่มเติม (Extension Practice Stage : E) ขั้นที่ 6 การไตร่ตรองสะท้อนคิด (Reflection and Review Stage : R) ขั้นที่ 7 การจัดระเบียบความรู้และประยุกต์ใช้ (Knowledge Management and Apply Stage : K) 4) การวัดและประเมินผล 5) ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ และ 6) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ โดยมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.60/87.03 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์บนฐานของวัฒนธรรมและชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าจีน) จังหวัดสตูล ดังนี้
3.1 ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ โดยก่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.68 (x̄ = 18.68) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.25 (S.D. = 2.25) คิดเป็นร้อยละ 62.27 และหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 26.36 (x̄= 26.36) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.50 (S.D. = 1.50) คิดเป็นร้อยละ 87.87
3.2 ทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ โดยก่อนการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.20 (x̄= 24.20) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.31 (S.D. = 2.31) คิดเป็นร้อยละ 60.50 และหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 34.56 (x̄= 34.56) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.42 (S.D. = 1.42) คิดเป็นร้อยละ 86.40
3.3 ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x̄= 4.51, S.D. = 0.51)
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิเคราะห์บนฐานของวัฒนธรรมและชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าจีน) จังหวัดสตูล พบว่า มีความเห็นคงเดิมและไม่มีการแก้ไข