รูปแบบวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
รูปแบบผลงาน รูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษา
ประเภทสถานศึกษา สถานศึกษาขนาดกลาง
ชื่อผลงาน รูปแบบการนิเทศภายใน ด้วยโมเดลบรมสุข SMILE MODEL เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ผู้เสนอผลงาน : ส.ต.ต.หญิงรัตนาพร คงวิริยะศิลป์
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบรมสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
รูปแบบการนิเทศภายใน โมเดลบรมสุข SMILE MODEL เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในการขับเคลื่อนกระบวนการนิเทศ ซึ่งใช้เวลาในการศึกษาเพียงระยะเวลา 1 ปีการศึกษา โดยการนำ โมเดลบรมสุข SMILE MODEL มาใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ภายใต้วงจรคุณภาพ เดมมิ่ง (PDCA) มาตรวจสอบและนำมาพัฒนาการใช้นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ กำหนดไว้ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้
S : Share มีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ครู บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายใน ประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการโรงเรียน ประธาน
2. หัวหน้ากลุ่มวิชาการ รองประธาน
3. หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ กรรมการ
4. หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ กรรมการ
5. รองหัวหน้ากลุ่มวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
M : Meet พบปะ พูดคุย
ทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของผู้นิเทศ และผู้เข้ารับการนิเทศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ผู้นิเทศสามารถปฏิบัติงานด้วยความสบายใจ ไม่อึดอัด ขณะเดียวกันก็ช่วยขจัด ความรู้สึกขัดแย้งของผู้รับการนิเทศที่มีต่อผู้นิเทศได้ด้วย
I : Integrate คือ ชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยง
วิธีการหรือขั้นตอนในการนิเทศ ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนิเทศใช้เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยดำเนินการนิเทศด้วย กระบวนการนิเทศแบบชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching & Mentoring) ร่วมกับการสร้างชุมชน แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) เพื่อปรับปรุง และพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของครู ซึ่งได้มาจากการสังเคราะห์เอกสารวิชาการ การสัมภาษณ์ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการนิเทศเพื่อส่งเสริมการ จัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู
ก่อนการนิเทศ ผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศสร้างความเข้าใจให้ตรงกันโดยการแจ้ง วัตถุประสงค์ของการนิเทศ วิธีการ ข้อเสนอแนะโดยผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศจดบันทึกรายการที่เป็นอุปสรรคปัญหาในการการนิเทศ เพื่อจะได้หาวิธีการปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไปและไม่ทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสารช้า แบบเดิม ๆ แก่ผู้รับการนิเทศในครั้งต่อไป
L : Love ให้ความรัก ความเมตตา
สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ยกย่อง ชมเชยในที่ ประชุมนำผลสำเร็จของการปฏิบัติงานมาแสดงให้ปรากฏแก่บุคคลอื่นแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตามความถนัด และเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่
E : Encourage ส่งเสริม สนับสนุน
ส่งเสริม สนับสนุน โดยการให้คำแนะนำ ปรึกษา ให้ข้อมูลป้อนกลับ (feed back) แก่ผู้รับการนิเทศทั้งส่วนที่ดีซึ่งควรรักษาไว้ และส่วนบกพร่องซึ่งควรแก้ไขปรับปรุงควบคู่กันไป
4. ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศภายใน โมเดลบรมสุข SMILE MODEL เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ดังนี้
4.1.1 ครูโรงเรียนบ้านบรมสุข มีจำนวน 10 คน ได้รับการนิเทศการเรียนการสอน 10 คน คิดเป็น ร้อยละ 100
4.1.2 ผลการประเมินรายงานผลการนิเทศการเรียนการสอนแยกเป็นรายบุคคล อยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 90.00 และอยู่ในระดับ ปานกลาง 1 คน คิดเป็นร้อยละ 10.00
4.1.3 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อผลการนิเทศการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาผลการประเมินระดับความพึงพอใจ 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 คือ การกำหนดวัน เวลา ที่ใช้ในการนิเทศอย่างเหมาะสม อันดับที่ 2 คือ ความเป็นกันเองระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ และอับดับที่ 3 คือ ความ ประทับใจที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศตลอดระยะเวลาของการเข้ารับการนิเทศ
4.2 ประโยชน์ที่ได้รับ
4.2.1 โรงเรียนมีกระบวนการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบ
4.2.2 โรงเรียนมีแนวทางรูปแบบการนิเทศภายใน โมเดลบรมสุข SMILE MODEL เป็นกระบวนการนิเทศที่เน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรม ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ 5 ขั้นตอน
4.2.3 ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองจากการ
ทำกิจกรรมซึ่งครูผู้สอนได้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้เชิงรุกให้ผู้เรียนเกิดความรู้ที่คงทน
4.2.4 ครูผู้สอนพัฒนาตนเอง ปรับวิธีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของการศึกษา เปลี่ยนแปลงของสังคมและก้าวทันเทคโนโลยี
5. บทเรียนที่ได้รับ
1. การนิเทศภายในทำให้ได้ข้อมูลในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร วิธีการสอน สื่อการสอน การวัดผล ประเมินผล การพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน และการบริหารโรงเรียนด้านต่างๆ โดยการจัดอบรมให้ความรู้ ดังนี้
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ การทำวิจัยในชั้นเรียน Action Research การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning และการใช้สื่อดิจิทัลแพลตฟอร์มในการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก จำนวน 6 ชั่วโมง วิทยากรโดย รศ. ดร.มนสิช สิทธิสมบูรณ์ เมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม 2566
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ PLC เพื่อพัฒนาศักยภาพครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จำนวน 6 ชั่วโมง วิทยากรโดย รศ. ดร.มนสิช สิทธิสมบูรณ์ เมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
3. นักเรียนมีความสนใจในการเรียน การให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และมีความกระตือรือร้นในการทำงานตามที่ได้มอบหมาย
4. นักเรียนมีผลงานหรือชิ้นงานที่เกิดจากการเรียนรู้ของตนเอง พัฒนาความสามารถของนักเรียน ฝึกให้นักเรียนกล้าคิด กล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง
5. ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกใช้สื่อและนวัตกรรมที่ใช้ใน การเรียนการสอนได้ตรงตามความสนใจของนักเรียน ทำให้นักเรียนสามารถทบทวนและเรียนซ้ำในเนื้อหาที่ไม่ เข้าใจได้ตลอดเวลาและทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน ผ่านการใช้แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ เช่น Google Meet, Line, Zoom , Facebook เป็นต้น
6. ครูผู้สอนมีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีการนำเทคนิควิธีการสอนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่ง กันและกันภายในสถานศึกษา เช่น การเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน การได้รับคำแนะนำ และการช่วยเหลือต่าง ๆ จากเพื่อนครู การอบรมการใช้แอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอน เป็นต้น
7. สถานศึกษาสามารถนำผลที่ได้จากการพัฒนามาปรับปรุง วางแนวทางการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นไป ในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น และได้รับการยอมรับในด้านการจัดการเรียนการสอนจากผู้ปกครองและชุมชน
6. ปัจจัยความสำเร็จ
จากการนิเทศกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการนิเทศภายใน โมเดลบรมสุข SMILE MODEL เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เกิดความสำเร็จได้เนื่องจากปัจจัย ดังนี้
1. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาแนวทางการนิเทศการสอนให้มี ความเหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และเสริมสร้างบรรยากาศแบบมีส่วนร่วมในการนิเทศ
2. โรงเรียนบ้านบรมสุข มีกระบวนนิเทศอย่างเป็นระบบ และมีความแบบกัลยาณมิตร
3. คณะครูให้ความมือในการดำเนินการนิเทศและร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาการรูปแบบ การนิเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน
4. นักเรียนโรงเรียนบ้านบรมสุข ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นเป็นอย่างดี
5. คณะกรรมการสถานศึกษา และองค์กรภาคีเครือข่ายร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของ สถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และร่วมระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา
7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
7.1 การเผยแพร่
7.1.1 หลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินงานระบบนิเทศภายในของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านบรมสุข ได้ทำการเผยแพร่ผลงานด้วยการเผยแพร่ไปยังโรงเรียนต่างๆในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 และได้เผยแพร่โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ของโรงเรียน และ Line กลุ่มผู้ปกครองนักเรียนและศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านบรมสุข Facebook โรงเรียน
7.2 การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
7.2.1 การได้รับการยอมรับ
1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบรมสุข สอบได้คะแนนเต็ม 100 คะแนนจากการสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT) ปีการศึกษา 2566 วิชาภาษาไทย จำนวน 3 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านบรมสุข สอบได้คะแนนเต็ม 100 คะแนนจากการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) จำนวน 2 คน ซึ่งเป็นครั้งแรก ของโรงเรียนบ้านบรมสุข ที่นักเรียนสามารถทำได้ เป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนและผู้ปกครอง มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งต่อผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน
2) ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษา และนำบุตรหลานเข้ามาเรียนที่โรงเรียนมากขึ้น ตลอดจนสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของโรงเรียนและให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในทุก ๆ ด้าน
7.2.2 รางวัลที่ได้รับ
1) เป็นสถานศึกษาที่ได้รับประกาศให้ผ่านการประเมินตราพระราชทาน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ปีการศึกษา 2566 - 2568
2) โรงเรียนที่นักเรียนสอบได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน จากการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2566
3) เป็นสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนได้คะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ปีการศึกษา 2566 รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ