1.ความเป็นมาและความสำคัญของผลงาน
การอ่านเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้และพัฒนาสติปัญญาของคนในสังคม การอ่านการเขียนทำให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ พฤติกรรมและค่านิยมต่างๆรวมทั้งช่วยในการเปลี่ยนแปลง การดำเนินชีวิตพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีที่สุดของชีวิต การอ่านการเขียนจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างยิ่ง เช่น การอ่าน การเขียนเป็นสื่อกลางของการเรียนรู้ ผู้อ่านหรือเขียนมากย่อมรู้มากและถ้านำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ต่อสังคม สังคมย่อมมีประสิทธิภาพในการพัฒนาในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้อง ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ แต่ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันการแก้ไขปัญหา การศึกษาของครูยังไม่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ และกระบวนการจัดการเรียนการ สอนยังไม่มีวิธีการที่หลากหลายที่จะสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร จึงทำให้เด็กในวัยแรกเริ่มในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาด้านการอ่านการเขียนของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ยังคงเป็น ปัญหาที่สำคัญเพราะถ้านักเรียนมีความบกพร่องด้านการอ่านและการเขียนแล้วจะทำให้กระบวนการเรียนรู้และ การเข้าใจในบทเรียนทุกๆวิชานั้นมีปัญหาและทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย ไม่กระตือรือร้นที่จะเรียน ด้วยเหตุนี้นโยบาย การศึกษาจึงเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการที่ได้ยกระดับการอ่านการเขียนนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 คือ ปีการศึกษา 2558 จนถึงปัจจุบัน เป็นปีปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยให้นักเรียนอ่านออกและเขียนได้จึงเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงของการศึกษาของชาติ โดยเฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นวัยที่มีปัญหาด้านการอ่านมากกว่าระดับชั้นอื่น เพราะอยู่ในช่วงวัยที่เริ่มพัฒนาทักษะกาะการอ่านและการเขียน ทักษะสองด้านนี้จะส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ ประยุกต์ใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิต หากผู้ใดมีความบกพร่องหรือขาดความสามารถในการอ่านและเขียน ก็จะส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการสื่อสารและการเรียนรู้ในระดับชั้นต่อไป
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนต้องวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยมีหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นคุณธรรม จริยธรรมในการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอนต้องจัดกระบวนการที่หลากหลาย
แนวคิดในการดำเนินการโดยใช้กระบวนการการดำเนินงานวงจรบริหารที่มีคุณภาพ PDCA คือวงจรการบริหารงานคุณภาพ ได้แก่ Plan (วางแผน), Do (ปฏิบัติ), Check (ตรวจสอบ) และ Act (การดำเนินการให้หมาะสม)ซึ่งเป็นขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมสามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริง Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนรวมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนดังนี้ การปลุกใจให้เริงร่า เป็นขั้นเตรียมความพร้อมที่จะให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ ด้วยเพลง เกม หรือนิทาน เป็นตัวเกริ่นเรื่องก่อนเข้าสู่บทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน และพร้อมที่จะเรียนรู้การดึงเนื้อหามาสัมพันธ์ เป็นการนำเสนอเนื้อหาเติมเชื่อมโยงสู่เนื้อหาใหม่ ที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้ การบูรณาการสร้างความรู้ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่นำวิชาภาษาไทยเป็นแกนตั้งต้น แล้วดึงกลุ่มสาระวิชาอื่น ๆ เชื่อมโยงเนื้อหาที่จะสอน เช่น ศิลปะ คณิตศาสตร์ เป็นต้น การสรุปสิ่งที่ได้เป็นเกม เป็นการสรุปเนื้อหาที่ได้จากการเรียน ผ่านรูปแบบเกมแสนสนุก เพื่อให้ผู้เรียนได้เล่นเกมย้ำทวนความรู้กันอีกครั้ง ก่อนเข้าสู่บทเรียนต่อไป และการสร้างชิ้นงานตามศักยภาพเป็นการทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจเนื้อหามากน้อยเพียงใด
จากผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ของนักเรียนโรงเรียนจิตประชาราษฎร์ คะแนนการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (Reading Test. RT) แบ่งออกเป็น 2 สมรรถนะ ได้แก่ การอ่านออกเสียงและการอ่านรู้เรื่อง พบว่า คะแนนผลการประเมินการอ่านออกเสียงมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 50.41 และคะแนนผลการประเมินการอ่านรู้เรื่อง มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 64.10 คะแนน และมีคะแนนรวม 2 ด้าน อยู่ที่ 57.25 ซึ่งมีคะแนนอยู่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ที่โรงเรียนตั้งไว้ ข้าพเจ้าจึงมีความสนใจใจในการคิดค้นนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนขึ้นเพื่อที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ให้นักเรียนสามารถการอ่านออกของผู้เรียน (ReadingTest: RT) ให้สูงกว่าร้อยละ 80 ที่โรงเรียนตั้งไว้
จากปัญหาและแนวคิด กระบวนการสอนดังกล่าวข้าพเจ้าจึงได้คิดค้น นวัตกรรมวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (BestPractice) การจัดการเรียนการสอนแบบ (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านออกและเขียนได้และยกระดับผลสัมฤทธิ์การประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (ReadingTest: RT) ให้มากกว่าร้อยละ 80 ตามที่โรงเรียนได้กำหนดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาอื่นๆได้สูงขึ้น
2.วัตถุประสงค์และเป้าหมายของผลงาน/นวัตกรรม
2.1วัตถุประสงค์ของผลงาน/นวัตกรรม
2.1.1 เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนและยกระดับผลสัมฤทธิ์การประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (Reading Test: RT) ให้มากกว่าร้อยละ 80
2.1.2 เพื่อปลูกฝังเจตคติที่ดีในด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
4. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลที่เกิดขึ้นตามจุดประสงค์
4.1.1 ผู้เรียนมีคะแนนผลการทดสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test: RT) สูงกว่าร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้
4.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน
4.2.1 ผลที่เกิดกับโรงเรียน คือ โรงเรียนจิตประชาราษฎร์ เป็นโรงเรียนที่ปลอดการอ่านไม่ออกเขียนได้ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 และมีนักเรียนที่มีผลการทดสอบความสามารถการอ่านออกของผู้เรียน (Reading Test. RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 คะแนนการอ่านออกเสียง 91.33 คะแนน คะแนนการอ่านรู้เรื่อง 96.00 คะแนน รวมความสามารถทั้งสองด้าน 93.66 คะแนน ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ร้อยละ 80 และจากการเปรียบเทียบคะแนนผลการประเมินการอ่านของโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยรวมทั้ง 2 ด้านสูงกว่าเขตพื้นที่ 11.14 คะแนน สูงกว่าจังหวัด14.59 คะแนน สูงกว่าศึกษาธิการภาค14.96 คะแนน สูงกว่าสังกัด14.88 คะแนน และสูงกว่าประเทศ14.66 คะแนน
4.2.2 ผลที่เกิดกับครู คือ จากการทำนวัตกรรมวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) พัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย โดยเน้นการปฏิบัติจริงตามกระบวนการเรียนรู้ Active Learning ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนจิตประชาราษฎร์ เป็นนวัตกรรมที่ครูสามารถนำมาใช้จัดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1และนวัตกรรมนี้สามารถนำไปเผยแพร่ให้คุณครูชั้นอื่นได้นำเอาวิธีการและหลักการในนวัตกรรมนี้ไปแก้ไขปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในแต่ละชั้นได้ จะทำให้แต่ละชั้นนั้นจะเป็นชั้นที่ปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ และส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนในแต่ละวิชาเพิ่มสูงขึ้น
4.2.3 ผลที่เกิดกับนักเรียน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความสามารถด้านการอ่านและการเขียนอยู่ในระดับที่สูงมาก และจากผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านและการเขียน หรือ RT อยู่ในระดับที่สูงกว่าระดับประเทศ รวมไปถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของรายวิชาภาษาไทยและวิชาอื่นๆอยู่ในระดับที่สูงขึ้นเป็นที่น่าพอใจของผู้บริหาร คณะครูและผู้ปกครองเป็นอย่างมาก รวมไปถึงผู้เรียนมีความสุขในการเรียนในทุกๆรายวิชา
4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
4.3.1นักเรียนสามารถใช้ทักษะความสามารถในการอ่านการเขียนไปใช้กับการเรียนรายวิชาอื่น ๆ และใช้ในสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
4.3.2นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้เกิดความมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออกในการสร้างสรรค์ผลงาน
4.3.3ครูเกิดการพัฒนาตนเองจากกิจกรรมใหม่ ๆ วิธีการสอน การใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายมาบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน สามารถเป็นแบบอย่างที่ให้แก่เพื่อนครู นักเรียน ในการตนเองอยู่เสมอ
4.3.4โรงเรียนสามารถถอดบทเรียนจากการจัดการเรียนการสอนแบบ (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ซึ่งนำประยุกต์ใช้กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถด้านต่าง ๆ ของนักเรียนในรายวิชาอื่นได้