1. ความสำคัญของนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
จากการจัดการเรียนรู้เรื่อง สารละลาย รายวิชาเคมี 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปัญหาที่พบในปีการศึกษาที่ผ่านมา คือ ผู้เรียนขาดทักษะการวิเคราะห์สรุปองค์ความรู้ การเชื่อมโยงเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ ไม่ได้ลงมือปฏิบัติและไม่ได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ปฏิบัติไป ทำให้ผู้เรียนไม่มีความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียนรู้ ซึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจในเนื้อหาอย่างละเอียด ทำให้ผู้เรียนขาดทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นความคิดในระดับที่สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ได้ด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้จึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติด้วยตนเอง ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ การสรุปองค์ความรู้ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 วัตถุประสงค์
2.1.1 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมี เรื่อง สารละลาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2.1.2 เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนผ่านกระบวนการ Active Learning
2.1.3 เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
2.2 เป้าหมาย
2.2.1 เชิงปริมาณ
1) ผู้เรียนร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมี เรื่อง สารละลาย เพิ่มขึ้น
2) ผู้เรียนร้อยละ 80 มีทักษะทางวิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการ Active Learning
3) ผู้เรียนร้อยละ 80 นำความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2.2.2 เชิงคุณภาพ
1) ครูผู้สอนรายวิชาคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนตะกั่วทุ่งงานทวีวิทยาคม มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ CAL Model
2) ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาเคมี เรื่อง สารละลาย
3) ผู้เรียนเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการ Active Learning
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.ศึกษาสภาพปัญหา
2.การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียน
3.การวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
4.การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้
5.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
6.ประเมินผลการจัดการเรียนรู้
4. ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลสำเร็จเชิงปริมาณ
4.1.1 ผู้เรียนร้อยละ 80 มีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมี เรื่อง สารละลาย
4.1.2 ผู้เรียนร้อยละ 80 มีทักษะทางวิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการ Active Learning
4.1.3 ผู้เรียนร้อยละ 80 สามารถนำความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
4.2 ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ
4.2.1 ครูผู้สอนรายวิชาคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนตะกั่วทุ่งงานทวีวิทยาคม มีนวัตกรรม CAL Model ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4.2.2 ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาเคมี เรื่อง สารละลาย สามารถทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบได้
4.2.3 ผู้เรียนมีทักษะทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นหลังจากได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการ Active Learning
5.ข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาเพิ่มเติมให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
ครูผู้สอนอาจจะเพิ่มเติมวัตถุประสงค์เกี่ยวกับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ความพึงพอใจของผู้เรียน (Feedback) หลังจากได้รับการเรียนรู้ในลักษณะของการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อได้นำ CAL Model : การเรียนรู้วิชาเคมีอย่างมีความสุขด้วยกระบวนการ Active learning ไปปรับให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน เหมาะสมกับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น