|
|
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมโครงงานบูรณาการตามแนวคิดการประเมินแบบ CIPPIEST Model
ผู้วิจัย นางสาวกมลชนก วงวาฬ
โรงเรียน โรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการพัฒนากระบวนการจัด การเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมโครงงานบูรณาการ ของโรงเรียนบ้านสิริขุนหาญโดยใช้การประเมินตามแนวคิดการประเมินแบบ CIPPIEST Model เป็นการประเมินตามแนวคิดของ Stufflebeam and Shinkfield (2007) ที่มีกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีระบบ โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 3 ระยะ แต่ละระยะมีการประเมินที่ครอบคลุม คือ ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินโครงการ ประเมิน ดานบริบท (Context Evaluation : C) และด้านปัจจัยนำเขา (Input Evaluation : I) ระยะที่ 2 ระหว่างดำเนินโครงการ ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) และระยะที่ 3 หลังดำเนินโครงการ ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) การประเมินส่วนปรับขยายด้านผลผลิต 1) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation : I) 2) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation : E) 3) ดานความยั่งยืน (Sustainability Evaluation : S) และ 4) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation : T) เป้าหมายที่ศึกษา เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา นักเรียนและผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอโดย การสรุปความ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินโครงการสรุปได้ ดังนี้
ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินโครงการ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลประเมินโครงการมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ผู้บริหารสถานศึกษา μ = 4.25 และ หัวหน้าฝ่าย μ = 4.41) ด้านบริบท (Context Evaluation : C) พบว่า ผู้ให้ข้อมูลประเมินโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากและมากที่สุด ตามลำดับ (ผู้บริหารสถานศึกษา μ = 4.33 และ หัวหน้าฝ่าย μ = 4.50) และด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) พบว่า ผู้ให้ข้อมูลประเมินโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก (ผู้บริหารสถานศึกษา μ = 4.16 และหัวหน้าฝ่าย μ = 4.33) แสดงว่า โครงการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมโครงงานบูรณาการ มีความเหมาะสมที่จะดำเนินการ
ระยะที่ 2 ระหว่างดำเนินโครงการ ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) พบว่า 1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมโครงงานบูรณาการ ผู้เข้าร่วมโครงการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมโครงงานบูรณาการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการอบรม พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.52) แสดงว่า ในการจัดในกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเนื้อหามากขึ้นและมีความพึงพอใจในการอบรม 2) กิจกรรมนิเทศและสังเกตชั้นเรียน พบว่า หัวหน้าฝ่ายมีการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมโครงงานบูรณาการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67, = 0.12) ส่วนครูระดับประถมศึกษามีการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมโครงงานบูรณาการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.49) แสดงว่า ทั้งหัวหน้าฝ่ายและครูระดับประถมศึกษามีการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมโครงงานบูรณาการผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) กิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ การเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมโครงงานบูรณาการและเปิดบ้านวิชาการนำเสนอผลการเรียนรู้ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจในกิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยผู้ให้ข้อมูลที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ครูระดับประถมศึกษา (μ = 4.53) นักเรียน ( = 4.53) และ ผู้ปกครอง ( = 4.52) ตามลำดับ แสดงว่า ในการจัดกิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในกิจกรรม และทุกกิจกรรมมีความเหมาะสม
ระยะที่ 3 หลังดำเนินโครงการ ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า ความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลที่มีต่อโครงการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมโครงงานบูรณาการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ หัวหน้าฝ่าย (μ = 4.57) และครูประถมศึกษา (μ = 4.57) การประเมินส่วนปรับขยายด้านผลผลิต พบว่า 1) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation : I) พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นในระดับมาก ทุกกลุ่ม โดยหัวหน้าฝ่ายเห็นด้วยสูงที่สุด (หัวหน้าฝ่าย μ = 4.47) 2) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation : E) พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คือ ผู้บริหารสถานศึกษา (μ = 4.61) 3) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation : S) พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คือ นักเรียน (μ = 4.68) และ 4) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation : T) พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คือ ผู้บริหารสถานศึกษา (μ = 4.61) แสดงว่า ผู้ให้ข้อมูลมีเห็นด้วยในด้านผลผลิตที่มีต่อโครงการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมโครงงานบูรณาการ
|
โพสต์โดย กมลชนก13 : [23 ส.ค. 2567 (08:39 น.)] อ่าน [827] ไอพี : 125.25.213.162
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 20,915 ครั้ง
| เปิดอ่าน 20,329 ครั้ง
| เปิดอ่าน 21,233 ครั้ง
| เปิดอ่าน 84,212 ครั้ง
| เปิดอ่าน 98,586 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,324 ครั้ง
| เปิดอ่าน 36,730 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,266 ครั้ง
| เปิดอ่าน 18,843 ครั้ง
| เปิดอ่าน 9,245 ครั้ง
| เปิดอ่าน 9,107 ครั้ง
| เปิดอ่าน 68,990 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,105 ครั้ง
| เปิดอ่าน 36,364 ครั้ง
| เปิดอ่าน 44,339 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 19,297 ครั้ง
| เปิดอ่าน 26,258 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,461 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,201 ครั้ง
| เปิดอ่าน 120,099 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|