ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 2
หนองบัว
ผู้วิจัย นายไพฑูรย์ แจ่มพันธ์
ปีที่พิมพ์ 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว แบ่งออกเป็น 4 ระยะ 1) สภาพปัจจุบัน ภาพที่พึงประสงค์ของ และความต้องการจำเป็น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เลือกแบบเจาะจง และศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว จำนวน 66 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์โรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 6 คน เลือกแบบเจาะจง 2) สร้างรูปแบบฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง 3) ทดลองใช้รูปแบบฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว จำนวน 66 คน โดยเลือกแบบเจาะจง และ 4) ประเมินรูปแบบฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว จำนวน 66 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความเหมาะสมองคืประกอบและตัวบ่งชี้ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความเหมาะและความเป็นไปได้ แบบทดสอบ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 แบบสอบถามพฤติกรรม แบบสอบถามความเป็นประโยชน์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านการพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. รูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 หลักการและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 เนื้อหาของรูปแบบ ประกอบด้วย หน่วยที่ 1 การพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยที่ 2 การพัฒนาสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย หน่วยที่ 3 การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้พัฒนาการเรียนรู้ หน่วยที่ 4 การสร้างเครือข่ายและสังคมแห่งการเรียนรู้ ส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนา ส่วนที่ 4 การประเมินผล และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า คะแนนประเมินความรู้หลังการเข้าร่วมพัฒนา สูงกว่าคะแนนประเมินความรู้ก่อนการเข้าร่วมพัฒนา และระดับพฤติกรรมก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับ
ปานกลาง หลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินระดับความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด