ชื่อเรื่อง รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อพัฒนา
ครูโรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม
ผู้วิจัย นายวีระ ชิดชม
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม ตำบลเมืองแคน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีขั้นตอน 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม ขั้นที่ 1 ผลการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และความต้องการ ระยะ ที่ 2 ผลการพัฒนารูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม ขั้นที่ 1 ผลการสร้างรูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ขั้นที่ 2 ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบ ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม ขั้นที่ 1 ผลการทดลองใช้รูปแบบ ขั้นที่ 2 ผลการศึกษาผล การใช้รูปแบบ ระยะที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม ขั้นที่ 1 การประเมินผลการใช้รูปแบบ ขั้นที่ 2 การศึกษาข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร ครู จำนวน 18 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 ที่ร่วมกิจกรรม การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 167 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้ผู้บริหาร ครู และนักเรียนทั้งหมดในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ รูปแบบฯ คู่มือ และแผนการจัดการเรียนรู้ในการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ด้านการจัดการเรียนรู้ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.58 0.87 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .90 ด้านกระบวนการสอนคิด มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.65 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .80 และด้านการวัดและประเมินผล) มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.67 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สภาพการจัดการเรียนรู้ในการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม พบว่า พหุปัญญา ประกอบด้วย 1) ด้านภาษา 2) ด้านตรรกะ 3) ด้านมิติสัมพันธ์ 4) ด้านดนตรี 5) ด้านร่างกาย 6) ด้านความเข้าใจผู้อื่น 7) ด้านการเข้าใจตนเอง 8) ด้านธรรมชาติ และ 9) ด้านการคงอยู่ของชีวิต ส่วนในการสอนคิดและการเสริมสร้างพหุปัญญา พบว่า โรงเรียนมีหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล แต่ยังไม่มีรูปแบบที่เป็นรูปธรรมที่สามารถนำไปปฏิบัติ ยังขาดการนำเนื้อหาและกิจกรรมในแต่ละสาระการเรียนรู้มาบูรณาการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ครูยังขาดแรงจูงใจ ความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการ สอนคิด
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้
ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 4.1) ขั้นการระบุปัญหา (Identify the problem) 4.2) ขั้นวางแผนพัฒนา (Plan) 4.3) ขั้นปฏิบัติการ(Do) และ 4.4) ขั้นสรุปองค์ความรู้และนำเสนองาน (Conclusion) และ 5) การวัดและประเมินผล มีผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
( = 4.52, S.D.= 0.78) ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยใช้เกณฑ์คุณภาพ 3.50 ขึ้นไป พบว่า 1) ด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับ มากที่สุด (= 4.55, S.D.= 0.82) 2) ด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับ มาก ( = 4.49, S.D.= 0.76) 3) ด้านเหมาะสม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.53,S.D.=0.81) 4) ด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับ มากที่สุด( = 4.54, S.D.= 0.76)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ปรากฏดังนี้
3.1 ผลการประเมินสมรรถนะการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการเรียนรู้
ในภาพรวม อยู่ในระดับ มาก ( = 4.28, S.D.= 0.85) เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับ พบว่า ด้านที่ 1 ด้านภาษา อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.75, = 0.80) รองลงมาคือ ด้านที่ 5 ด้านร่างกาย อยู่ในระดับ มาก ( = 4.42, S.D. = 0.91) และรองลงมาคือ ด้านที่ 7 ด้านการเข้าใจตนเอง อยู่ในระดับ มาก ( = 4.36, S.D.= 0.82) ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านที่ 2 ด้านการเข้าใจธรรมชาติ อยู่ในระดับ มาก ( = 4.03, S.D.= 0.89)
3.2 ผลการประเมินพหุปัญญาของนักเรียนโรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม ทั้ง 9 ด้าน
ได้แก่ 1) ด้านภาษา 2) ด้านตรรกะ 3) ด้านมิติสัมพันธ์ 4) ด้านดนตรี 5) ด้านร่างกาย 6) ด้านความเข้าใจผู้อื่น 7) ด้านการเข้าใจตนเอง 8) ด้านการเข้าใจธรรมชาติ 9) ด้านการคงอยู่ของชีวิต ในภาพรวม
อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.29, S.D.= 0.83)
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
( = 4.41, S.D.= 0.80) ข้อที่มีความระดับคุณภาพมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ข้อที่ 4 แนวทางการจัดกิจกรรมการสอนคิดตามรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.80) รองลงมาคือ
ข้อที่ 6 รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D.= 0.82) และรองลงมาคือ ข้อที่ 1 รูปแบบสามารถแก้ไขสภาพปัญหา และความต้องการได้อยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D.= 0.80) และข้อที่มีระดับคุณภาพน้อยที่สุดคือ ข้อที่ 8 สามารถนำรูปแบบไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาได้ อยู่ในระดับมาก ( = 4.22, S.D.= .85)