ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่พัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเจียงทองพิทยาคม พบว่า สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนสภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดลำดับความต้องการจำเป็น โดยพิจารณาจากค่า PNImodifide เรียงจากมากไปน้อย คือ ด้านที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ด้านที่ 2 กระบวนการ และด้านที่ 3 ผลผลิต ตามลำดับ
2) การออกแบบ สร้าง และตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (4N PAWU model) ที่พัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเจียงทองพิทยาคม มี 6 องค์ประกอบซึ่งมีผลการตรวจสอบความถูกต้อง ครอบคลุม และความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (4N PAWU model) ที่พัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเจียงทองพิทยาคม มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบ และส่วนที่ 3 แนวทางการใช้รูปแบบ ซึ่งมีผลการตรวจสอบความถูกต้องครอบคลุม และความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (4N PAWU model) ที่พัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเจียงทองพิทยาคม พบว่า
3.1) ผลการประเมินทักษะการเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการอบรม พบว่าทักษะหลังร่วมอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม
3.2) ผลการดำเนินงานตามกระบวนการของรูปแบบครบทุกกระบวนการ
3.3) ผลการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน พบว่า Effect Size (ES) นักเรียน หลังการใช้รูปแบบมีการเปลี่ยนแปลงจากก่อนทดลองใช้รูปแบบ โดยมีค่า ES อยู่ระหว่าง 0.28-1.23 0.53 - 0.88 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หมายความว่ากลยุทธ์นั้นก่อผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนได้จริง
4) การประเมินคุณภาพรูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (4N PAWU model) ที่พัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเจียงทองพิทยาคม พบว่า คุณภาพของรูปแบบมีมาตรฐานด้านความถูกต้องด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน
ปัจจัยความสำเร็จ
รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (4N PAWU model เกิดจากการบูรณาการองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จนี้มีดังนี้ ประการแรก การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง หรือแม้แต่ชุมชน ต่างมีส่วนร่วมในการวางแผน ปฏิบัติ และประเมินผลโครงการอย่างสม่ำเสมอ การสร้างความร่วมมือนี้ทำให้เกิดการรับผิดชอบร่วมกัน และเกิดแนวคิดใหม่ๆ ที่หลากหลายในการพัฒนานักเรียน ประการที่สอง การวางแผนที่รอบคอบ เป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุเป้าหมาย โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนอย่างละเอียด เพื่อทำความเข้าใจถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และความต้องการของนักเรียนแต่ละคน จากนั้นจึงกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถวัดผลได้ และวางแผนกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนแต่ละคนอย่างเหมาะสม ประการที่สาม การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี ช่วยให้การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การใช้ฐานข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ และจัดการข้อมูล ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลของนักเรียนได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ และยังช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วน ประการที่สี่ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งจำเป็นในการปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข นอกจากนี้ การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็น ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น ประการสุดท้าย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ กับหน่วยงานภายนอกและโรงเรียนอื่นๆ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ ทำให้โรงเรียนสามารถพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างต่อเนื่อง