รายงานวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษา 2566
ชื่อเรื่องวิจัย การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์. . .ผู้วิจัย นางทิวาพร ผ่องชมภู .
ตำแหน่ง ครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปฐมวัย .
โรงเรียน อนุบาลวัดกลางดอนเมืองชลบุรี สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
นักเรียนระดับปฐมวัย เป็นวัยที่ควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาให้สมดุลกัน พัฒนาการทางด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น การใช้มือในการขีดเขียน หยิบจับ ก็เป็นอีกด้านหนึ่งที่ควรได้รับการพัฒนา กิจกรรมที่เหมาะสมและตรงกับความสนใจของเด็กเป็นอย่างยิ่งคือ กิจกรรมสร้างสรรค์ เด็กจะรูสึกมีความสุข ผ่อนคลาย และเกิดจินตนาการ มีสมาธิในการทำกิจกรรมและยังเกิดความภาคภูมิใจในตนเองอีกด้วย การจัดกิจกรรมศิลปะเป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อเล็กให้กับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี เด็กจะได้พัฒนากล้ามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา และเป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กที่จะเรียนรู้ในระดับต่อไป
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
2.1 เพื่อพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แข็งแรง คล่องแคล่ว ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์
2.2 เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
2.3 เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนที่จะเรียนรู้ในระดับต่อไป
3. สมมติฐานการวิจัย
3.1 ผู้เรียนมีกล้ามเนื้อมัดเล็กที่แข็งแรง คล่องแคล่วดีขึ้น ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์
3.2 ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
3.3 ผู้เรียนมีความพร้อมให้ผู้เรียนที่จะเรียนรู้ในระดับต่อไป
4. ขอบเขตของการวิจัย
4.1 กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน
4.2 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
4.2.1 ตัวแปรต้น คือ จัดกิจกรรมสร้างสรรค์พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
4.2.2 ตัวแปรตาม คือ ผู้เรียนมีกล้ามเนื้อมัดเล็กที่แข็งแรง คล่องแคล่วดีขึ้น
4.3 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย
4.3.1 ผู้วิจัยจัดกิจกรรมสร้างสรรค์พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กให้นักเรียน ได้แก่
- กิจกรรมที่ 1 การวาดภาพอิสระ
- กิจกรรมที่ 2 การปั้นดินน้ำมัน / ปั้นดินเหนียว
- กิจกรรมที่ 3 การระบายสีด้วยสีเทียน
- กิจกรรมที่ 4 การร้อยฝาขวดน้ำดื่ม
- กิจกรรมที่ 5 การตัดกระดาษ
- กิจกรรมที่ 6 การพิมพ์ภาพด้วยนิ้วมือ / วัสดุต่าง ๆ
4.4 ระยะเวลาในการวิจัย
พฤศจิกายน 2566 มกราคม 2567
5. นิยามศัพท์เฉพาะ
กิจกรรม หมายถึง การที่ผู้เรียนปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการเรียนรู้
ผู้เรียน หมายถึง หมายถึง ผู้ที่ได้รับการศึกษาในสถานศึกษา
กล้ามเนื้อมัดเล็ก หมายถึง ส่วนของกล้ามเนื้อตั้งแต่ข้อมือ ฝ่ามือ นิ้วมือทุกนิ้ว ดังนั้น กล้ามเนื้อมัดเล็ก คือ ส่วนที่สำคัญในการหยิบจับสิ่งของ ใช้ออกแรงเพื่อควบคุมทิศทางของสิ่งของได้ เช่น การจับดินสอ การผูกเชือกรองเท้า ติดกระดุมเสื้อผ้า จับช้อนส้อมรับประทานอาหาร
6. วิธีการดำเนินการวิจัย
6.1 การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชั้นอนุบาล 1/1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน ที่ควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็ก เช่น การใช้มือในการขีดเขียน หยิบจับ ก็เป็นอีกด้านหนึ่งที่ควรได้รับการพัฒนา
6.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- ใบงานศิลปะ
- สื่ออุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะต่าง ๆ
6.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
6.3.1 การวิเคราะห์ข้อมูล
6.3.2 วิธีการที่ใช้
- แบบบันทึกผลการทำกิจกรรมของนักเรียน
6.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังทำการวิจัยพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แข็งแรง คล่องแคล่ว ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์พบว่า ผู้เรียนมีกล้ามเนื้อมัดเล็กที่แข็งแรง คล่องแคล่วดีขึ้น ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์
7. ผลการวิจัย
จากการวิจัย โดยสังเกตจากแบบบันทึกผลการทำกิจกรรมพบว่า ผู้เรียนมีกล้ามเนื้อมัดเล็กที่แข็งแรง คล่องแคล่วดีขึ้น ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ มีผลงานที่สวยงามขึ้น อีกทั้งยังแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านผลงานได้ดียิ่งขึ้นด้วย
8. อภิปรายผลวิจัย
จากการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ หลายครั้งทำให้ผู้เรียนมีกล้ามเนื้อมัดเล็กที่แข็งแรง คล่องแคล่วดีขึ้น ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับต่อไป
9. ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
9.1 ข้อเสนอแนะ
- บางกิจกรรมใช้เวลานานเกินไปเกินช่วงความสนใจของเด็ก
- กิจกรรมการตัดกระดาษเด็กบางคนยังจับกรรไกรไม่เป็น
9.2 แนวทางแก้ปัญหา
- แบ่งกิจกรรมทำหลาย ๆ ครั้งเมื่อเด็กว่างหรือสนใจอยากทำ
- ครูคอยให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด สอนวิธีการใช้กรรไกร และความระมัดระวังในขณะทำกิจกรรม
ลงชื่อ........................................................................
(นางทิวาพร ผ่องชมภู)
ผู้วิจัย