การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม และวัตถุประสงค์เฉพาะ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้ กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ขั้นที่ 1.1 การศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการและกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการและกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ขั้นที่ 1.2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม โดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครูโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความต้องการจำเป็น (Priority Need Index : PNI) ขั้นที่ 1.3 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนย่อย ดังนี้
1.3.1) การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม โดยการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
1.3.2) การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกประเด็นการสนทนากลุ่ม ในการศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) 1.3.3) การสังเคราะห์องค์ประกอบและแนวทางการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม โดยนำผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1.3.1 และ 1.3.2 มาสังเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสรุปองค์ประกอบและแนวทางการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ขั้นที่ ขั้นที่ 2.1 การยกร่างรูปแบบและร่างคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ผู้วิจัยนำผลการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ตามกรอบแนวคิดในการวิจัย และร่วมกับครูผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานวิชาการ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ร่วมกันประชุมและจัดทำร่างคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ขั้นที่ 2.2 การตรวจสอบร่างรูปแบบและร่างคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้ กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคมโดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกประเด็นการสนทนากลุ่ม เพื่อพิจารณาความถูกต้องและความเหมาะสมของร่างร่างรูปแบบและร่างคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม และแบบตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของร่างรูปแบบและร่างคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ขั้นที่ 2.3 การบรรณาธิการกิจรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ผู้วิจัยนำผลการตรวจสอบร่างรูปแบบและร่างคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม และข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ มาปรับปรุงรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ จัดทำรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคมให้สมบูรณ์ ขั้นที่ 2.4 การตรวจสอบรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้ กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใชกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูล หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคมโดยนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคมไปทดลองใช้ในปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อการปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ขั้นที่ 4.1 การประเมินคุณภาพผู้เรียน เปรียบเทียบคุณภาพของผู้เรียนก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบการบริหารบริหารงานวิชาการโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ขั้นที่ 4.2 การประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครูโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม จำนวน 24 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นที่ 4.3 การประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการรูปแบบบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการและกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการ มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 4) ด้านการนิเทศการศึกษา และ 5) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และองค์ประกอบของกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วยการดำเนินงานต่อเนื่องเป็นวงจร ตามกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน (PAOR) ได้แก่ 1) ขั้นวางแผน (Planning) 2) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action) 3) ขั้นสังเกตผลการปฏิบัติ (Observation) และ 4) ขั้นสะท้อนผล (Reflection
สภาพปัจจุบันในการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม พบว่า มีระดับปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าความต้องการจำเป็น (PNI Modified) ในการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ในภาพรวมทั้งหมด มีค่า PNI Modified = 0.85 โดยมีแนวทางการสร้างรูปแบบ ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาและกระบวนการดำเนินการตามรูปแบบ และ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้ แก่ ส่วนที่ 1 หลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 วิธีการดำเนินการตามรูปแบบ ประกอบด้วย 3.1) ปัจจัยนำเข้า 3.2) กระบวนการ 3.3) ผลลัพธ์ และส่วนที่ 4 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ผลการตรวจสอบรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ารูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม พบว่าครูสามารถปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม อยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม พบว่า 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน (1.1) ผลการเปรียบเทียบค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรของผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2565 สูงกว่า ปีการศึกษา 2564 และ ผลการเปรียบเทียบค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยพิจารณาจากผลต่างของค่าเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระในระดับโรงเรียนกับค่าเฉลี่ยระดับประเทศ พบว่า ในปีการศึกษา 2565 มีค่าร้อยละคะแนนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับโรงเรียนสูงกว่าระดับประเทศ มากกว่า ปีการศึกษา 2564 (1.2) ผลการเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีขึ้นไปในภาพรวมทุกข้อ ในปีการศึกษา 2565 สูงกว่าปีการศึกษา 2564 (1.3) ผลการเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนผู้เรียนที่มีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับดีขึ้นไป ในปีการศึกษา 2565 สูงกว่า ปีการศึกษา 2564 (1.4) ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร และสถานศึกษาได้รับเกียรติบัตร หรือรางวัลด้านวิชาการ 2) ด้านความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม พบว่า ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม พบว่า ผู้บริหารและครู มีความคิดเห็นว่ารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ในภาพรวมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด