1. ความสำคัญของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ด้วยยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 25602564) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า ประเทศไทยจะสะอาด ไทยทั้งชาติต้านจริต (Zero tolerance & Clean Thailand)มีพันธกิจในการสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต ยกระดับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการทุกภาคส่วนแบบบูรณาการและปฏิรูปกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตทั้งระบบให้มีมาตรฐานสากลโดยมีเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ อีกทั้งท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้สังคมไทยต้องเผชิญกับปัญหาหลายด้าน ทำให้สังคมไทยต้องเผชิญกับปัญหาหลายด้านที่เกิดจากปัญหาด้านจิตใจของคนในสังคมที่เสื่อมลงทั้งทางด้านศีลธรรม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจและสังคม ก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น จึงทำให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการศึกษาได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรคุณธรรม โดยต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้นักเรียนเป็น คนดีเพราะถ้านักเรียนเป็นคนดีตั้งแต่เด็ก เขาก็จะคิดดี ทำดี สร้างประโยชน์ให้กับสังคมและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โรงเรียนบ้านสระมาลามีกระบวนการพัฒนานักเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดกิจกรรมเป็นไปตามศักยภาพของนักเรียนและเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียนโดยมีการจัดการเรียนรู้ทางรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกาเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นฐาน จัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้วิเคราะห์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของแต่ละระดับชั้นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๖ จัดการเรียนการสอนที่มีแหล่งเรียนรู้ของชุมชนโดยให้นักเรียนไปเรียนรู้ในสถานที่จริง การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์โดยให้นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาที่ต้องใช้วิธีการหลากหลาย การประเมินการทดสอบสมรรถนะสำคัญของนักเรียนทั้ง ๕ ด้าน มีการพัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคโนโลยี นำเทคนิควิธีการสอนให้ตรงตามศักยภาพของนักเรียน นอกจากนี้โรงเรียนได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปลูกฝังค่านิยมในคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดี เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน โดยได้มีการจัดค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรมร่วมกับนักเรียนในทุกระดับชั้น มีการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนให้เหมาะสมกับวัย ให้มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด สภาพปัญหาของนักเรียนด้านคณิตศาสตร์พบปัญหาอย่างมากในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ เนื่องจากนักเรียนไม่เข้าใจถึงกระบวนคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ซึ่งแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมยังไม่ส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เท่าที่ควร คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับความคิดรวบยอดและทักษะอีกทั้งต้องอาศัยวิธีสอนที่เหมาะสม ซึ่งจะทำได้โดยเรียนจากอุปกรณ์จริง ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์จึงควรเน้นทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการให้นักเรียนได้รับการฝึกฝนและสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ จากการสังเกตของผู้สอนพบว่านักเรียนคุ้นเคยกับการคอยรับความรู้จากครูเพียงอย่างเดียว ฝึกคิดคำนวณ โดยการทำตามตัวอย่างบนกระดานไม่รู้วิธีการแก้ปัญหาขาดทักษะการแก้ปัญหา เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่แตกต่างจากแบบเรียน ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ นักเรียนถูกจำกัดกรอบความคิด ในเรื่องเฉพาะที่ครูสอนและนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์เพราะเป็นวิชาที่ต้องใช้ความคิดมาก จากประสบการณ์ที่ผู้สอนซึ่งเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนส่วนมากประสบปัญหาการเรียน เรื่อง การหารทศนิยม ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ยากนักเรียนขาดความเข้าใจในความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการหารทศนิยม จึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต่ำกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด อีกทั้งพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาใน เรื่อง การหารทศนิยม นักเรียนยังหาผลหารไม่คล่อง ขาดทักษะการหาร จึงส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการหารได้ดีนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนจะต้องเข้าใจพื้นฐานของการหารด้วยเช่นกัน ครูควรส่งเสริมให้มีการใช้วิธีการเรียนด้วยด้วยตนเองในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ทุกระดับชั้นจะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ มีความสนุกในการเรียนคณิตศาสตร์ และสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีวินัยและการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ของนักเรียน มีความกระตือรือร้น สนุกสนาน พร้อมยังช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการคิดคำนวณของนักเรียน และเพื่อให้นักเรียนนั้นสามารถนำไปใช้ปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน 18 คน
2.วัตถุประสงค์และเป้าหมายของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice)
2.1 วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาทักษะ ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ให้มีคุณภาพสูงขึ้น
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้การหารทศนิยมในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน
3. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของนักเรียน และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์
๔. เพื่อให้นักเรียนดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
5. เพื่อแก้ไขผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การหารทศนิยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ให้มีผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๕0 หลังจากเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ประกอบการจัด
การเรียนรู้แบบ Active Learning
2.2 เป้าหมาย (ระบุจำนวนผลงาน/นวัตกรรมหรือกลุ่มเป้าหมาย/นวัตกรรม)
- เชิงปริมาณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน 18 คน โรงเรียนบ้านสระมาลา
- เชิงคุณภาพ นักเรียนมีทักษะการคิดคำนวณ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การหารทศนิยม รวมถึงเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต
- เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้รายงานจัดทำแบบฝึกทักษะ เรื่อง การหารทศนิยม มาแก้ปัญหาโดยจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จำนวน 5 เล่ม
3. กระบวนการผลิดผลงานหรือขั้นตอนการดำเนิน
4. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์
ตารางที่ ๑ แสดงผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหารทศนิยม การหารทศนิยมในชีวิตจริง: สอนคุณธรรมผ่านโจทย์คณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
การทดสอบ N คะแนนเฉลี่ย () ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()
∑D%
ก่อนเรียน 18 8.17 40.83 1.572
หลังเรียน 18 16.22 81.11 2.594 40.28
ความก้าวหน้า 18 8.05
จากตารางที่ ๑ พบว่า คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้
แบบฝึกทักษะ เรื่อง การหารทศนิยม มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนมีผลต่างเฉลี่ยร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 40.28 แสดงว่า หลังการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ทำให้นักเรียนมีการพัฒนาความรู้เพิ่มขึ้น มีแนวคิดการหารและการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงดีขึ้น
4.2 นักเรียนเกิดคุณลักษณะ 5 ประการ และปฏิญญา 3 ด้าน ดังนี้
5. ปัจจัยความสำเร็จ มีดังนี้
ความเข้าใจเนื้อหาของนักเรียนควรมีความเข้าใจในแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการหาร การมีส่วนร่วมของครูและการออกแบบโจทย์ที่เหมาะสม อีกทั้งการสนับสนุนจากผู้ปกครอง และการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีควรเป็นมิตรและส่งเสริมให้เด็กกล้าคิดและแสดงความคิดเห็นและการใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย
ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญและเอาใจใส่กับการดำเนินงานและการร่วมกิจกรรมของนักเรียนมีความพร้อมทุกครั้ง นักเรียนทุกคนต้องให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
6. บทเรียนที่ได้รับ(Lesson Learned)
- การใช้ การหารทศนิยมในชีวิตจริง: สอนคุณธรรมผ่านโจทย์คณิตศาสตร์ เป็นนวัตกรรมการสอน จะช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลาย และการดำเนินกิจกรรมที่เป็นสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรในโรงเรียน อีกทั้งการดำเนินงานที่เป็นระบบนั้นจะส่งผลดี ต่อการพัฒนาการศึกษาของนักเรียนที่ยั่งยืน ผู้บรหาร ครู ผู้ปกครอง นักเรียน นับเป็นเครือข่าย การพัฒนาที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน
7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
- เผยแพร่ผลงานผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา เผยแพร่เป็นเอกสาร แผ่นผับ ผลงานการเขียนเชิงสร้างสรรค และมีการจัดนิทรรศการในห้องเรียนเผยแพร่แก่นักเรียน ครูโรงเรียน
- เผยแพร่และแบ่งปัน สื่อนวัตกรรมผผ่านทางสังคมออนไลน์ Facebook Instagram หรือ YouTube เพื่อเผยแพร่กิจกรรมการเรียนการสอน และแชร์ประสบการณ์จากนักเรียนและครู
รางวัลที่ได้รับ
ครูผูสอนกลุมสาระการเรียนรูคณิตศาตรดีเดน ปีการศึกษา 2567 จากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปตตานีและครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางเหรียญทอง ชนะเลิศ กิจกรรมการประกวดโครงงานคณิตศาสตร์ ประเภทบูรณาการความรู้ในคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ ระดับชั้น ป.4-ป.6
8. ข้อเสนอแนะ
บุคคลผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมและขับเคลื่อนในทุกมิติไปพร้อม ๆ กัน และควรมีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของครูและนักเรียนอย่างพอเพียงและเหมาะสม ครูผู้สอนควรวางแผนให้ละเอียดและ รอบคอบ จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียนมีประสิทธิภาพ และการประเมินผล ควรจัดทำแบบฝึกหัดที่มีการประเมินคุณธรรมควบคู่ไปกับความสามารถในการทำโจทย์ อีกทั้งการควรส่งเสริมบรรยากาศที่เปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็น และทำให้เด็กๆ รู้สึกมั่นใจในการแชร์ความคิดของตนและจัดกิจกรรมกลุ่มที่เน้นการทำงานร่วมกันและการเรียนรู้จากกันและกัน เช่น การจัดเวิร์กช็อปหรือการอภิปรายในกลุ่ม