ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบสร้างสรรค์ ซึ่งเน้นการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา
เรื่อง พลเมืองดีรักษ์วัฒนธรรมและสังคม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวอำไพ เพชรคง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านลานช้างมิตรภาพที่ 45 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบสร้างสรรค์ ซึ่งเน้นการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง พลเมืองดีรักษ์วัฒนธรรมและสังคม 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนสังคมแบบสร้างสรรค์ ซึ่งเน้นการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง พลเมืองดีรักษ์วัฒนธรรมและสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง พลเมืองดีรักษ์วัฒนธรรมและสังคม 4) พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง พลเมืองดีรักษ์วัฒนธรรมและสังคม 5) ประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบสร้างสรรค์ ซึ่งเน้นการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเรื่อง พลเมืองดีรักษ์วัฒนธรรมและสังคม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านลานช้างมิตรภาพที่ 45 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 คน และครูผู้สอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมระดับประถมศึกษาในจังหวัดพัทลุง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ครูและนักเรียน 2) แผนการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบสร้างสรรค์ ซึ่งเน้นการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบสร้างสรรค์ ซึ่งเน้นการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 2) ขั้นสอน 3) ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม 4) ขั้นวัดผลประเมิน 5) ขั้นตรวจสอบผลงาน 6) ขั้นสรุปบทเรียน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.08/88.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนตาม
รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบสร้างสรรค์ ซึ่งเน้นการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีจำนวนนักเรียนผ่าน
เกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 88.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4. ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบสร้างสรรค์ ซึ่งเน้นการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถใน
การแก้ปัญหาอยู่ในระดับมาก
นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงานโดยใช้ความสามารถในการแก้ปัญหาบนพื้น
ฐานความรู้ ความเข้าใจด้วยตนเอง ส่งผลให้ชิ้นงานมีคุณภาพ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและร่วมสร้างสรรค์สังคมได้