บทคัดย่อ
ชื่อวิจัย: การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้ทักษะปฏิบัติ การมีส่วนร่วม
ของเดวีส์วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งมะพร้าว
ผู้วิจัย: นายณรงค์ เทพประดิษฐ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน: โรงเรียนบ้านทุ่งมะพร้าว อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่วิจัย: 2566
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1)เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้ทักษะปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของเดวีส์วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งมะพร้าว ให้มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติการมีส่วนร่วมของเดวีส์ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งมะพร้าว อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้ทักษะปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของเดวีส์วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติ และ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้ทักษะปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของเดวีส์วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งมะพร้าว กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งมะพร้าว อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 27 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้หน่วยโรงเรียนเป็นหน่วยสุ่มด้วยวิธีการจับสลาก ซึ่งผู้วิจัยเป็นครูผู้สอน วิชาการงานอาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 5 ชนิด ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้ทักษะปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของเดวีส์วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งมะพร้าว จำนวน 12 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง 2)สื่อประสม เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งมะพร้าว จำนวน 12 หน่วย 3) แบบทดสอบวัดทักษะปฏิบัติการมีส่วนร่วมของเดวีส์ เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งมะพร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบอัตนัย 4)แบบทดสอบสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนวิชาการงานอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 5)แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้ทักษะปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของเดวีส์ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งมะพร้าว แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที่ใช้วิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบสมมุติฐานโดยการหาค่าประสิทธิภาพ การทดสอบที และการทดสอบซี
ผลการวิจัย พบว่า
1. สรุปผลการวิจัยระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและพัฒนาหรือสร้างรูปแบบ (R1,D2)
1.1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (R1)
1) สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งมะพร้าว อยู่ในระดับปานกลาง
2) ความต้องการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง จำนวน 5 คน มีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 การพัฒนารูปแบบ (D2)
1) การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้ทักษะปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของเดวีส์วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านทุ่งมะพร้าว ของผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งปรากฏการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้ทักษะปฏิบัติการมีส่วนร่วมของเดวีส์ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น จำนวน 5 ขั้นดังนี้
(1) ขั้นที่ 1 สาธิตภาพรวม
(2) ขั้นที่ 2 สาธิตทักษะย่อย
(3) ขั้นที่ 3 ปฏิบัติทักษะย่อยด้วยตนเอง
(4) ขั้นที่ 4 สอนเทคนิควิธีการ
(5) ขั้นที่ 5 ปฏิบัติทักษะที่สมบูรณ์
2) การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้ทักษะปฏิบัติ การมีส่วนร่วม ของเดวีส์วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.50/83.61 เป็นไปตามกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80
3) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้ ทักษะปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของเดวีส์วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านทุ่งมะพร้าว คือ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นระยะเวลาในการเรียนให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม และเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องบริหารเวลาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนตามความยาวของเนื้อหา
2. สรุปผลการวิจัยระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D2))
2.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติ ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้ทักษะปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของเดวีส์วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้ทักษะปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของเดวีส์วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7306 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7306 หรือคิดเป็นร้อยละ 73.06
3. สรุปผลการวิจัยระยะที่ 3 ประเมินผลรูปแบบ (Evaluation Research: R2)
นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้ ทักษะปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของเดวีส์วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การทำอ่างล้างหน้าจากเศษวัสดุธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.66)