ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 สังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ผู้ประเมิน นางอมรรัตน์ อวยพร ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่ประเมิน พ.ศ. 2566
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 4) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 ใน 2 ประเด็น ได้แก่ 4.1) พฤติกรรมการมีคุณธรรมจริยธรรมของตัวนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4.2) ความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน แบ่งตามการประเมินรายด้าน ดังนี้ 1) ด้านบริบท กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะทำงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 11 คน 2) ด้านปัจจัยนำเข้า กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะทำงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และหัวหน้าสายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 13 จำนวน 14 คน 3) ด้านกระบวนการ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 13 จำนวน 43 คน และ 4) ด้านผลการดำเนินงาน แบ่งเป็น 4.1) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 13 รวมทั้งสิ้น 45 คน 4.2) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 13 จำนวน 290 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 13 จำนวน 290 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่ถูกเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นด้านบริบท 1 ฉบับ แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า 1 ฉบับ แบบสอบถามด้านกระบวนการดำเนินงานจำนวน 5 ฉบับ และแบบสอบถามด้านผลการดำเนินงาน จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
1. ด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผลการประเมินตามเกณฑ์ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ บริบทของโครงการสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผลการประเมินตามเกณฑ์ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่ชัดเจน
3. ด้านกระบวนการดำเนินงาน โดยการประเมินรายกิจกรรม อยู่ในระดับมากทุกกิจกรรม ซึ่งผลการประเมินตามเกณฑ์ผ่านเกณฑ์ทุกกิจกรรม โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ กิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรม กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะ กิจกรรมตักบาตรทุกวันพระ ตักบาตรประจำเดือน และกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางด้านวินัย การบริจาค และบำเพ็ญประโยชน์ ตามลำดับ
4. ด้านผลการดำเนินงาน ประกอบด้วยการประเมิน 2 ด้าน ดังนี้
4.1 ด้านการแสดงออกทางพฤติกรรมการมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประเมินผลตามการรับรู้ ใน 3 ลักษณะ ดังนี้
4.1.1 ตามการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผลการประเมินตามเกณฑ์ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ โดยพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทย
4.1.2 ตามการแสดงพฤติกรรมของตัวนักเรียนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผลการประเมินตามเกณฑ์ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ โดยพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนมีความกตัญญู กตเวที นักเรียนมีความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น และ นักเรียนยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง และความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทย ตามลำดับ
4.1.3 ตามการรับรู้ของผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผลการประเมินตามเกณฑ์ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ โดยพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนมีความกตัญญู กตเวที นักเรียนมีความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น และ นักเรียนปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา และวันสำคัญทางศาสนา ตามลำดับ
4.2 ด้านความพึงพอใจของต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 ประเมินผลตามการรับรู้ ใน 3 ลักษณะ ดังนี้
4.2.1 ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ท่านพึงพอใจที่กิจกรรมช่วยส่งเสริมให้นักเรียนนำหลักธรรมไปใช้เป็นแนวปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
4.2.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ท่านพึงพอใจที่กิจกรรมช่วยส่งเสริมให้นักเรียนนำหลักธรรมไปใช้เป็นแนวปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
4.2.3 ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมมีคุณค่า ควรแก่การส่งเสริมและดำเนินการต่อเนื่องต่อไป